พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: วันหยุดราชการขยายเวลาฟ้องได้
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม2516 ฉะนั้นอายุความเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแก่มูลละเมิดซึ่งมี 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น จึงครบกำหนดในวันที่ 2 มีนาคม2517 แต่ปรากฏว่าวันที่ 2 และวันที่ 3 มีนาคม 2517 ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีในวันที่ 4 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 และข้อเท็จจริงที่ว่าวันที่ 2 และวันที่ 3 มีนาคม 2517 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป ศาลรู้ได้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ คู่ความไม่จำเป็นต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาในสัญญาซื้อขาย: การระบุวันสิ้นสุดที่แน่นอนมีผลเหนือวิธีการนับตามกฎหมาย
บันทึกเปรียบเทียบที่โจทก์จำเลยลงชื่อไว้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2517 มีข้อความว่า ให้จำเลยขายที่ดินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี ถ้าพ้นกำหนด 1 ปี (19 มีนาคม 2518) ยังไม่มีการซื้อขายที่ดินคืนก็ให้ยกเลิกข้อตกลง การที่ระบุข้อความในวงเล็บว่า "19 มีนาคม 2518" ไว้ก็ด้วยเจตนาที่จะกำหนดวันสิ้นสุดแห่งระยะเวลา 1 ปี ไว้เป็นที่แน่นอน เป็นข้อยกเว้นโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 จะนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158, 159 มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องถือว่าวันที่ 19 มีนาคม 2518 เป็นวันสิ้นสุดระยะเวาลาที่โจทก์มีสิทธิขอซื้อที่ดินคืน เมื่อโจทก์ขอซื้อคืนในวันที่ 20 มีนาคม 2518 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะซื้อคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาซื้อขายที่ดินโดยนิติกรรมพิเศษ: การระบุวันสิ้นสุดชัดเจนทำให้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 158-159 ใช้ไม่ได้
บันทึกเปรียบเทียบที่โจทก์จำเลยลงชื่อไว้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2517 มีข้อความว่า ให้จำเลยขายที่ดินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี ถ้าพ้นกำหนด 1 ปี (19 มีนาคม 2518) ยังไม่มีการซื้อขายที่ดินคืนก็ให้ยกเลิกข้อตกลง การที่ระบุข้อความในวงเล็บว่า '19 มีนาคม 2518' ไว้ก็ด้วยเจตนาที่จะกำหนดวันสิ้นสุดแห่งระยะเวลา 1 ปี ให้เป็นที่แน่นอน เป็นข้อยกเว้นโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 จะนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158,159 มาใช้บังคับไม่ได้ต้องถือว่าวันที่ 19 มีนาคม 2518 เป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิขอซื้อที่ดินคืน เมื่อโจทก์ขอซื้อคืนในวันที่ 20 มีนาคม 2518 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะซื้อคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ลูกระเบิดทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำและกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิต
จำเลยที่ 1 ใช้ลูกระเบิดมือขว้างจำเลยที่ 4 ซึ่งวิ่งหนีเข้าไปในกลุ่มคน สะเก็ดระเบิดทำให้คนตาย 7 คน และได้รับอันตรายแก่กายอีกหลายคน การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นลักษณะของการกระทำที่จะทำให้ตายโดยใช้อาวุธที่ร้ายแรง มีอำนาจแห่งการทำลายโดยกว้างขวาง แต่ไม่เป็นการกระทำโดยทารุณโหดร้าย
โจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2513โจทก์ยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2513 แต่เมื่อวันที่ 5, 6 และ 7เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 8 ธันวาคม 2513 ได้
โจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2513โจทก์ยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2513 แต่เมื่อวันที่ 5, 6 และ 7เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 8 ธันวาคม 2513 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขว้างระเบิดมือทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับบาดเจ็บ ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำคุกตลอดชีวิต
จำเลยที่ 1 ใช้ลูกระเบิดมือขว้างจำเลยที่ 4 ซึ่งวิ่งหนีเข้าไปในกลุ่มคน สะเก็ดระเบิดทำให้คนตาย 7 คน และได้รับอันตรายแก่กายอีกหลายคน การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นลักษณะของการกระทำที่จะทำให้ตายโดยใช้อาวุธที่ร้ายแรง มีอำนาจแห่งการทำลายโดยกว้างขวาง แต่ไม่เป็นการกระทำโดยทารุณโหดร้าย
โจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2513โจทก์ยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2513 แต่เมื่อวันที่ 5,6 และ 7 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 8 ธันวาคม 2513 ได้
โจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2513โจทก์ยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2513 แต่เมื่อวันที่ 5,6 และ 7 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 8 ธันวาคม 2513 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สถานะทางกฎหมายของโจทก์ (ภริยาและบุตร) และอายุความฎีกา
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2511 การนับอายุความฎีกาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2511 กำหนดหนึ่งเดือนจึงสิ้นสุดในวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวัดแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น แต่ในวันดังกล่าวนี้เป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2511 ซึงเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าในอายุความฎีกาด้วย
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาพ้นกำหนดและไม่อนุญาตอ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเนื่องจากประเด็นยุติแล้ว
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2507 กำหนดระยะเวลา 1 เดือนสำหรับการยื่นฎีกา เริ่มนับหนึ่งในวันที่ 29 ตุลาคม 2507 ครบ 1 เดือนในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2507 แต่วันที่ 28, 29 พฤศจิกายน 2507 ตรงกับวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
โจทก์ขออ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเพื่อแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายโดยได้จดทะเบียนสมรส นั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติมาแต่ศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ในข้อนี้ และยอมรับในอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องกับจำเลยมิใช่สามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้จดทะเบียนสมรส คงอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่า เรือนพิพาทเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องกับจำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งข้อเดียวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้อ้าง
โจทก์ขออ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเพื่อแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายโดยได้จดทะเบียนสมรส นั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติมาแต่ศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ในข้อนี้ และยอมรับในอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องกับจำเลยมิใช่สามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้จดทะเบียนสมรส คงอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่า เรือนพิพาทเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องกับจำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งข้อเดียวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฎีกา-การอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติม-กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: ศาลฎีกายืนตามศาลล่างเรื่องกำหนดเวลาและกรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่28 ตุลาคม 2507 กำหนดระยะเวลา 1 เดือนสำหรับการยื่นฎีกา เริ่มนับหนึ่งในวันที่ 29 ตุลาคม 2507 ครบ 1 เดือนในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2507 แต่วันที่ 28, 29 พฤศจิกายน 2507 ตรงกับวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
โจทก์ขออ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเพื่อแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยได้จดทะเบียนสมรสนั้นเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติมาแต่ศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ในข้อนี้และยอมรับในอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องกับจำเลยมิใช่สามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้จดทะเบียนสมรส คงอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่า เรือนพิพาทเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องกับจำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งข้อเดียวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้อ้าง
โจทก์ขออ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเพื่อแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยได้จดทะเบียนสมรสนั้นเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติมาแต่ศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ในข้อนี้และยอมรับในอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องกับจำเลยมิใช่สามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้จดทะเบียนสมรส คงอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่า เรือนพิพาทเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องกับจำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งข้อเดียวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198-199/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาร้องทุกข์/ฟ้องคดีอาญา ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากกฎหมายอาญาไม่ได้กำหนด
เมื่อกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาร้องทุกข์และฟ้องร้องไว้ จึงต้องกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 21 วรรค 2 เป็นบทบัญญัติในการคำนวณระยะเวลาจำคุกเท่านั้น
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 21 วรรค 2 เป็นบทบัญญัติในการคำนวณระยะเวลาจำคุกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198-199/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความในคดีหมิ่นประมาท: ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อไม่มีกำหนดในประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาร้องทุกข์และฟ้องร้องไว้ จึงต้องกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 21 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติในการคำนวณระยะเวลาจำคุกเท่านั้น
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 21 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติในการคำนวณระยะเวลาจำคุกเท่านั้น