พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนอง: บุคคลภายนอกสุจริตได้รับความคุ้มครอง แม้การซื้อขายจะตกเป็นโมฆียะ
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 การกระทำการโดยไม่สุจริต โดยพนักงานของจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ในการรับจำนองที่ดินพิพาท โดยโจทก์มิได้กล่าวบรรยายฟ้องไว้คงบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทโดยทราบดีว่า เป็นการรับจำนองที่ดินที่สูงกว่าราคาประเมิน และสูงกว่าราคาซื้อขายที่ดินตามสัญญา ฎีกาโจทก์จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18358/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลที่ซื้อทรัพย์สินจากผู้อื่นโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แม้ทรัพย์สินนั้นได้มาจากการฉ้อโกง ก็ไม่ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เสียหาย
แม้โจทก์จะถูก ส. ฉ้อโกงหลอกลวงซื้อปุ๋ยจากโจทก์อันมีผลทำให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับ ส. ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ถูกกลฉ้อฉลตกเป็นโมฆียะและโจทก์จะบอกล้างโมฆียะกรรมแล้วก็ต้องห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 160 ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งปุ๋ยพิพาทโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตเช่นนี้ สิทธิของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เสียไปถึงแม้ว่า ส. ผู้โอนทรัพย์สินให้จำเลยที่ 1 จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมที่ทำกลฉ้อฉลต่อโจทก์อันตกเป็นโมฆียะ และนิติกรรมนั้นได้ถูกบอกล้างในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1329 จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่คืนปุ๋ยพิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของผู้รับซื้อฝาก แม้ผู้ขายจะได้มาโดยกลฉ้อฉล สิทธิของผู้รับซื้อฝากไม่เสียไป
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแต่ให้ ผ. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินกันโดย ผ. ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการตกลงทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกันระหว่างโจทก์ ผ. และจำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ได้หลอกลวงเป็นกลฉ้อฉลต่อโจทก์และ ผ. จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองหลงเชื่อตกลงขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ แต่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้ภายหลังโจทก์ไปขอไถ่ถอนที่ดินคืนจากจำเลยที่ 2 ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะไปไถ่ถอนคืนได้ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ไม่ยอมให้ไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่อาจยกเอาเหตุโมฆียะที่โจทก์ได้บอกล้างแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลซื้อขาย & สิทธิบุคคลภายนอกสุจริต: สัญญาขายฝากไม่ผูกพันเจ้าของเดิมที่บอกล้างโมฆียะ
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ให้ ผ. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน แม้จำเลยที่ 1 จะหลอกลวงกลฉ้อฉลโจทก์และ ผ. จนโจทก์และ ผ. ตกลงทำสัญญาซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ และโจทก์บอกล้างแล้วก็ตามแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน การที่ภายหลังโจทก์ไปขอไถ่ถอนที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะไปไถ่ถอนคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตามสัญญา และจำเลยที่ 2ไม่ยอมให้โจทก์ไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่อาจยกเอาเหตุกลฉ้อฉลต่อโจทก์และ ผ. อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะที่โจทก์ได้บอกล้างแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและได้ที่ดินพิพาทมาโดยมีค่าตอบแทนก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน โมฆียะกระทบสัญญาซื้อฝาก บุคคลภายนอกต้องรับผล
แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ. 16 ระบุว่า ซื้อขายราคา 2,000,000 บาท โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงข้อสัญญาแท้จริงได้เพราะในทางปฏิบัติคู่สัญญาซื้อขายที่ดินมักจะแจ้งราคาที่ซื้อขายกันตามราคาประเมิน เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน กรณีดังกล่าวมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข) เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายโดยอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวง
จำเลยที่ 1 วางแผนหลอกลวงโจทก์ทั้งสองมาแต่ต้นโดยมิได้เจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เพียงแต่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาชำระราคาที่ดินและใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์ทั้งสองให้ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดถ้ามิได้ปกปิดข้อเท็จจริงเช่นนั้น การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทก็คงมิได้เกิดขึ้น การจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ในทันทีที่จำเลยที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยแจ้งหลักฐานที่อยู่ของตนเองไม่ตรงตามความเป็นจริง ย่อมเป็นข้อพิรุธน่าสงสัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ทั้งสองด้วยวิธีการอันไม่ถูกต้องชอบธรรม กรณีของจำเลยที่ 2 จึงเข้าข่ายของบุคคลภายนอกผู้ได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริต การบอกล้างโมฆียะของโจทก์ทั้งสองเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ตลอดไปจนถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 1 วางแผนหลอกลวงโจทก์ทั้งสองมาแต่ต้นโดยมิได้เจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เพียงแต่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาชำระราคาที่ดินและใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์ทั้งสองให้ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดถ้ามิได้ปกปิดข้อเท็จจริงเช่นนั้น การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทก็คงมิได้เกิดขึ้น การจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ในทันทีที่จำเลยที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยแจ้งหลักฐานที่อยู่ของตนเองไม่ตรงตามความเป็นจริง ย่อมเป็นข้อพิรุธน่าสงสัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ทั้งสองด้วยวิธีการอันไม่ถูกต้องชอบธรรม กรณีของจำเลยที่ 2 จึงเข้าข่ายของบุคคลภายนอกผู้ได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริต การบอกล้างโมฆียะของโจทก์ทั้งสองเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ตลอดไปจนถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินด้วยกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ ผู้รับโอนรู้เท่าทันเป็นบุคคลภายนอกไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์ทั้งสองทำนิติกรรมขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมนั้นแล้วนิติกรรมการซื้อขายที่ดินจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินมาจากโจทก์ทั้งสองด้วยวิธีการไม่ถูกต้องชอบธรรม จึงเป็นการได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริตการบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ทั้งสองย่อมยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้การซื้อขายจะถูกบอกล้างเนื่องจากกลฉ้อฉล
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลยเมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลย จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อนอันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผู้สุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้มีการบอกล้างนิติกรรมโมฆียะจากกลฉ้อฉล
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลย จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อนอันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผู้สุจริตยึดทรัพย์ได้ แม้เจ้าของเดิมบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ถูกฉ้อฉล
คดีก่อน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อน อันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ การขยายเวลาชำระค่าขึ้นศาล และผลของการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรมที่ดินมีคำสั่งให้เพิกถอนโฉนด ที่ดินของโจทก์ เพราะที่ดินอยู่ในเขตที่ดินสงวนหวงห้าม ย่อมมีผลให้โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนด ที่ดินให้กับโจทก์ใหม่ ย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินกลับคืนมา คดีของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอซึ่งอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลมีคำสั่งขยายเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระใน 15 วันนับแต่วันสั่งซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 11 สิงหาคม 2527 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาอีก 30 วัน ศาลก็อนุญาตอีก จึงเริ่มนับ 1 ในวันที่12 สิงหาคม 2527 จะครบ 30 วันในวันที่ 10 กันยายน 2527 แต่เมื่อถึงวันที่ 10 กันยายน 2527 โจทก์ก็ไม่ได้นำค่าขึ้นศาลมาวางเพิ่มกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาไปอีก 1 เดือน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ โจทก์ก็มิได้นำค่าขึ้นศาลมาวางในวันนั้นถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนถึงเวลากำหนดที่ให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาวางเพิ่ม จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).