พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8609/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะจำเลยและบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด: สมาชิกสภาท้องถิ่น vs พนักงานองค์การ
จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกษม หาใช่พนักงานองค์การตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 100 ไม่ หากแต่จำเลยที่ 1 มีสถานะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น อันต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ แต่ยังคงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ขอบเขตการเพิ่มโทษสามเท่าจำกัดเฉพาะความผิดด้านการผลิต-จำหน่าย
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 และมาตรา 10 บัญญัติให้ระวางโทษผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นสามเท่าของโทษกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเฉพาะการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทางด้านการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและบทบัญญัติเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ ศาลฎีกายกข้อกฎหมายเกี่ยวกับโทษสามเท่าที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างประจำของศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบทกำแพงเพชร กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดหนัก จึงมิใช่พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 ไม่อาจลงโทษจำเลยตามกฎหมายมาตราดังกล่าวโดยระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ทหารกองประจำการ' ไม่ใช่ข้าราชการ ทำให้ไม่ถูกลงโทษตามอัตราโทษทวีคูณในคดียาเสพติด
ทหารกองประจำการไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหารฯ จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการจึงไม่เป็นข้าราชการอันจะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ การปรับบทลงโทษ และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ ก่อนที่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 35 ยกเลิกความในมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ (เดิม) และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ตามมาตรา 100 ของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ได้บัญญัติเพิ่มเติมฐานความผิดกรณีที่กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ (เดิม) หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำความผิดหรือสนับสนุนในการกระทำความผิด ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ให้รวมถึงความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษด้วย กฎหมายที่ใช้ในภายหลังจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
มาตรา 100 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ (เดิม) เป็นกรณีต้องระวางโทษสามเท่าเฉพาะการกระทำความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 100 ของกฎหมายเดิมที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 ซึ่งระวางโทษเป็นสามเท่าในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้อง ข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 110 เม็ด น้ำหนัก 10.887 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีความผิดต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
มาตรา 100 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ (เดิม) เป็นกรณีต้องระวางโทษสามเท่าเฉพาะการกระทำความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 100 ของกฎหมายเดิมที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 ซึ่งระวางโทษเป็นสามเท่าในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้อง ข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 110 เม็ด น้ำหนัก 10.887 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีความผิดต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกในคดีครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด: การพิจารณาโทษสามเท่าสำหรับข้าราชการและบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่
จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน 7,000 เม็ด น้ำหนัก 644.30 กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 143.67 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตแม้จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม),66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้นซึ่งคงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษทวีคูณและการแก้ไขโทษที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการ ซึ่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น คงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 50 ปี และที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวมีกำหนด 45 ปี นั้น ไม่ต้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) โดยลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10815/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษสามเท่าและข้อยกเว้นเมื่อโทษจำคุกตลอดชีวิต
แม้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ต้องด้วย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง , 66 วรรคสอง และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ต้องระวางโทษหนังขึ้นเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 66 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก็ตาม แต่โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง บัญญัติไว้ให้จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต เมื่อลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ซึ่งก็ไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ได้ ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 2 คงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง , 66 วรรคสอง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยที่เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการใช้บทมาตราในการเพิ่มโทษ
พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามฯ ยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 เป็นบทกำหนดโทษ ให้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดในกรณีพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายรักษาความสงบ เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตประกอบ พ.ร.บ. มาตรการในการ ปราบปรามฯ ยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 โดยระวางโทษเป็นสามเท่าแล้วให้ประหารชีวิตไม่ถูกต้อง เพราะกรณี ไม่มีทางที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตได้ จึงนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติ ดังกล่าวข้างต้นมาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 66 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่า แต่เมื่อโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง กำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ให้สูงกว่าโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยให้ประหารชีวิตก่อนลดโทษให้นั้นเหมาะสมแล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะข้าราชการของทหารกองประจำการตามกฎหมายยาเสพติด: การตีความข้อยกเว้น
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการ"หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479มาตรา 4(3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4(8)บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการจะแปลความให้หมายความรวมเป็นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วยหาได้ไม่