พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทหารกองประจำการกับการเป็นข้าราชการเพื่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479 มาตรา 4 (3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4 (8) บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการ จะแปลความให้หมายความรวมถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างชั่วคราวกับบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐในคดียาเสพติด
จำเลยที่ 3 เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวของเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก จึงมิใช่พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ที่ศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไขเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกไม่วินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีเมทแอมเฟตามีนครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่เข้าข่ายโทษสามเท่า
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า"กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ดโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า"กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ดโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษสำหรับเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 100
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า " กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น " ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ด โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว
ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า " กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น " ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ด โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้อง, พยานหลักฐานจากการล่อซื้อ, และการปรับบทลงโทษสำหรับความผิดของเจ้าพนักงานรัฐวิสาหกิจ
หลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้ฐานความผิดว่าจำเลยเป็นพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับฐานะและอาชีพของจำเลยซึ่งจำเลยทราบดีอยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควร และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้วเป็นวิธีการแสดงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยและไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้วเป็นวิธีการแสดงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยและไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8949/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2(กระทำความผิดวันที่ 1 มิถุนายน 2539)ไว้ในครอบครองเพื่อขายและเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดมาด้วย ยังไม่ถูกต้อง เพราะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 ในอันที่จะระวางโทษผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 10 คงปรับบทลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ฐานเดียว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 ประกอบพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 ประกอบพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามบทกำหนดโทษ ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอีเฟดรีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน40,000 เม็ด น้ำหนักสุทธิรวม 3,584 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนักรวม 45.2 กรัมอันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันขายอีเฟดรีนดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวข้องเป็นตัวการในการขายวัตถุออกฤทธิ์ครั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 6(7 ทวิ),13 ทวิวรรคหนึ่ง,62 วรรคหนึ่ง,89,106 ทวิ,116 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การผลิตและครอบครองเพื่อขาย, การเรียงกระทง, และการใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ พวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีน โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิต และมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำ เจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้าน จำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุงจำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 150 ถุง ได้จำหน่าย ไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาว หลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสอง จะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน ทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิด ก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกัน มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทง ลงโทษตามกฎหมาย ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิตและการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัมอีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตาม มาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตดังนั้น พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พระราชบัญญัติวัตถุ ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงต้องนำ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่ เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสารวัตรกำนันไม่เป็นเจ้าพนักงาน จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามกฎหมายยาเสพติดได้
สารวัตรกำนันมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอบกำนันตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457มาตรา44เท่านั้นมิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงไม่อาจเพิ่มโทษเป็นจำนวนสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534ได้