พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและคีตามีนไว้ในครอบครอง ศาลฎีกาแก้โทษให้รอการลงโทษ และปรับตามกฎหมายใหม่
ความผิดฐานมีคีตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 ยังคงบัญญัติให้เป็นความผิดตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง ให้จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจาก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ที่เป็นความผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง และมีโทษตามมาตรา 106 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท แม้ตามกฎหมายฉบับเดิมและฉบับใหม่จะมีระวางโทษจำคุกและโทษปรับเท่ากัน แต่ตามกฎหมายฉบับใหม่บัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายฉบับเดิมที่บัญญัติให้จำคุกและปรับเท่านั้น กฎหมายฉบับใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า และความผิดฐานเสพคีตามีนยังคงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 92 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 141 ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจาก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ที่เป็นความผิดตามมาตรา 62 ตรี และมีโทษตามมาตรา 106 ตรี ที่กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท เห็นได้ว่าโทษจำคุกขั้นสูงตามกฎหมายฉบับใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามกฎหมายฉบับเดิม โทษจำคุกและโทษปรับตามกฎหมายฉบับใหม่ไม่มีระวางโทษจำคุกและโทษปรับขั้นต่ำเช่นเดียวกับกฎหมายฉบับเดิม ทั้งกฎหมายฉบับใหม่บัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายฉบับเดิมที่ให้จำคุกและปรับเท่านั้น กฎหมายฉบับใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า ดังนั้นในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวต้องใช้กฎหมายฉบับใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8636/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในคดียาเสพติด ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษได้แต่ต้องไม่เกินโทษเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ วรรคหนึ่ง ลงโทษจำเลยทั้งสองก่อนเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 จำคุกคนละ 5 ปี ซึ่งเป็นโทษขั้นต่ำของมาตรา 106 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่มีระวางโทษตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท เมื่อศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ที่มีระวางโทษตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดได้ คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 140 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยแท้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำเลยทั้งสองจำคุกคนละ 5 ปี ซึ่งไม่เกินกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 140 วรรคหนึ่ง และไม่สูงกว่าโทษตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษจำเลยทั้งสองจำคุกคนละ 5 ปี เช่นนี้ จึงไม่ได้ผิดหลงในการกำหนดโทษ กรณีจึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9663/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองวัตถุออกฤทธิ์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และการพิสูจน์ความผิดของจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันมีไดเมทิลแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นไอโซเมอร์ของเอ็น-เอทิลแอมเฟตามีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่โจทก์มิได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ตามที่ฟ้องไว้ คงอ้างเฉพาะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539) ซึ่งเป็นประกาศระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์เท่านั้น และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 104 (พ.ศ.2541) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ใช้อยู่ในขณะมีการกระทำความผิดก็ไม่มีระบุว่า ไดเมทิลแอมเฟตามีน หรือเอ็น-เอทิลแอมเฟตามีน อยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ไว้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา106 ทวิ แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62, 106 ทวิ ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดเฉพาะข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าวซึ่งมีโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 225 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62, 106 ทวิ ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดเฉพาะข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าวซึ่งมีโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 225 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8566/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์พร้อมกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ยาเสพติดที่มีชื่อว่า "3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน" เป็นยาเสพติดให้โทษซึ่งจัดอยู่ในประเภท 1 ส่วน "คีตามีน" เป็นวัตถุออกฤกธิ์ในประเภท 2 การมียาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวไว้ในครอบครอง เป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับอันเป็นการแสดงว่ากฎหมายแต่ละฉบับต่างมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกความผิดฐานครอบครองอีเฟดรีนและเมทแอมเฟตามีนผสม: ศาลฎีกาชี้ขาดการลงโทษกรรมเดียว
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกมีอีเฟดรีนจำนวน 1,273 เม็ด อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย และเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฯ และเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ต้องรับโทษฐานร่วมกันมีอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย กระทงหนึ่งแล้ว ส่วนของกลางอีกจำนวน 727 เม็ด ซึ่งเป็นอีเฟดรีนผสมอยู่กับเมทแอมเฟตามีนนั้น แม้ผลการตรวจพิสูจน์จะสามารถคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของอีเฟดรีนและเมทแอมเฟตามีนแยกต่างหากออกจากกันได้ แต่การที่ของกลางแต่ละเม็ดเป็นเมทแอมเฟตามีนผสมด้วยอีเฟดรีนก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เมทแอมเฟตามีนที่มีอีเฟดรีนผสมอยู่จึงเป็นวัตถุอันเดียว การร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและเพื่อจำหน่ายซึ่งอีเฟดรีนผสมอยู่กับเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90
เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 15 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิมเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากกว่ามาตรา 15 วรรคสาม (2) ของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ ที่แก้ไขใหม่ กรณีบทความผิดดังกล่าวจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ ตาม ป.อ. มาตรา 3
เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 15 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิมเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากกว่ามาตรา 15 วรรคสาม (2) ของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ ที่แก้ไขใหม่ กรณีบทความผิดดังกล่าวจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ ตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8012/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานขายยาเสพติด: การมีไว้เพื่อขายถือเป็นความผิดฐานขายแล้ว ไม่ใช่พยายามขาย
พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ดังนี้ เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ใน ครอบครองเพื่อขายและพยายามขายเมทแอมเฟตามีนของกลางในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวฐานขายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้นเพราะการมีไว้เพื่อขายก็เป็นการขายแล้ว มิใช่มีความผิดฐานพยายามขายเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195
วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมผลิตยาเสพติดและการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำระหว่างพักการลงโทษ
พ.ศ. 2539 มาตรา 4
พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6
จำเลยกับพวกมีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด กรรมวิธีในการผลิตเมทแอมเฟตามีนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาสถานที่ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานในการผลิต ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นตัวการที่ร่วมกันกระทำความผิดแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอนจนสำเร็จ ดังนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องเป็นผู้ลงมือปรุงหรืออัดเม็ดเมทแอมเฟตามีนด้วยตนเอง การกระทำความผิดของจำเลยกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยมากระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 43 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และ พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน ฯ มาตรา 4
พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6
จำเลยกับพวกมีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด กรรมวิธีในการผลิตเมทแอมเฟตามีนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาสถานที่ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานในการผลิต ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นตัวการที่ร่วมกันกระทำความผิดแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอนจนสำเร็จ ดังนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องเป็นผู้ลงมือปรุงหรืออัดเม็ดเมทแอมเฟตามีนด้วยตนเอง การกระทำความผิดของจำเลยกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยมากระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 43 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และ พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน ฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7217/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดและลงโทษกรรมเดียวในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขพิพากษาศาลล่าง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขาย คำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ได้ 58.099 กรัม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษหนักกว่าโทษในความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89 จึงต้องปรับบทความผิดจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นบทกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ ส่วนการมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ใน ครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น แม้ของกลางจะมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 58.099 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ที่ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวถือเป็นกฎหมายในส่วนที่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า โดยต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 67 แต่เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองมีไว้เพื่อขายและ เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกันและเป็นการมีไว้ในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว คงลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ที่เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90
เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางทั้งสองจำนวนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษในประเภทเดียวกันไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันจึงเป็นการกระทำความผิดอันเป็นกรรมเดียวกัน ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพียงกรรมเดียว อันเป็นส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า และซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทที่มีโทษหนักที่สุดบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3, 90 แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นความผิด 2 กรรมเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลมิได้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงไม่อาจให้ริบ เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของกระทรวงสาธารณสุขได้
เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางทั้งสองจำนวนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษในประเภทเดียวกันไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันจึงเป็นการกระทำความผิดอันเป็นกรรมเดียวกัน ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพียงกรรมเดียว อันเป็นส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า และซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทที่มีโทษหนักที่สุดบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3, 90 แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นความผิด 2 กรรมเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลมิได้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงไม่อาจให้ริบ เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของกระทรวงสาธารณสุขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากครอบครองเพื่อขายเป็นครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจการริบของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง, 90 ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคสอง ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 8 เดือน แม้จะเป็นการแก้ไขมาก แต่มิได้เป็นการเพิ่มเติมโทษจำคุกจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่การที่จำเลยฎีกาอ้างว่าการสอบสวนไม่ชอบ เนื่องจากพนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนโดยการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม แก่จำเลยอีก ซึ่งจะเป็นจริงตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน ฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อขาย ขอให้ ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 16 และ 90 ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง และ 106 วรรคสอง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครอง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายได้
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีที่มีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 ศาลมิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเฟนโพรพอเรกซ์ของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่วัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวผู้ใดมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเฟนโพรพอเรกซ์ของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 32
แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่การที่จำเลยฎีกาอ้างว่าการสอบสวนไม่ชอบ เนื่องจากพนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนโดยการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม แก่จำเลยอีก ซึ่งจะเป็นจริงตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน ฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อขาย ขอให้ ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 16 และ 90 ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง และ 106 วรรคสอง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครอง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายได้
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีที่มีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 ศาลมิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเฟนโพรพอเรกซ์ของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่วัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวผู้ใดมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเฟนโพรพอเรกซ์ของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6970/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทความผิดจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ เมื่อเมทแอมเฟตามีนถูกระบุเป็นยาเสพติดให้โทษ
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเพื่อขายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกัน และถูกจับได้พร้อมกัน แม้วัตถุ แห่งการกระทำต่างชนิดกัน แต่เมื่อเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดต่อบทกฎหมายมาตราเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เมื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 แล้ว แต่ไม่ถึง 20 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ไม่เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดอีกต่อไป เนื่องจากเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนเดียวกันกับมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบท ลงโทษมาตรา 67 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และการริบเมทแอมเฟตามีนก็ไม่อาจริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้เพราะ ไม่ได้ลงโทษตามาตรา 89 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงต้องริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง