คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 424

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน, ละเมิด, ค่าเสียหายจากการรื้อถอนและขาดประโยชน์จากทรัพย์สิน, อายุความฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยทั้งสามบุกรุกเข้าไปล้อมรั้วและรื้อบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท โจทก์ห้ามปรามแล้วแต่จำเลยทั้งสามไม่ฟัง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์และให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสามให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของ ช. เป็นของจำเลยที่ 3 โดยซื้อมาจาก ช. ตามคำให้การของจำเลยทั้งสามจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสามยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามโดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปในเขตที่ดินและรื้อบ้านพิพาทกับตัดโค่นทำลายพืชผลอาสินของโจทก์ที่ปลูกไว้รอบบ้านแล้วล้อมรั้วรอบเขตที่ดินและบ้านพิพาทไม่ให้โจทก์และครอบครัวอยู่อาศัยใช้ประโยชน์ในที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำผิดทางอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์กับความผิดทางแพ่งฐานละเมิดรวมกันมา โจทก์จึงอาศัยมูลคดีอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดทางแพ่งฐานละเมิดได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์แล้วถอนฟ้องไปก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ซึ่งมีผลให้คู่ความกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องทางอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงไม่มีคดีอาญาค้างพิจารณาอยู่ในศาลและศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในส่วนอาญา เมื่อมูลคดีนี้ถือว่ายังไม่มีผู้ใดฟ้องจำเลยทั้งสามทางอาญา สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดทางอาญาย่อมต้องบังคับตามกำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง
เมื่อความผิดทางอาญาที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทและความผิดฐานบุกรุกที่ได้ร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีกำหนดโทษจำคุกสูงที่สุดไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) อายุความฟ้องคดีอาญาจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) จึงต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดบังคับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 90 และเมื่อคำนวณนับแต่วันกระทำผิดถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
กรณีไม่มีการฟ้องคดีอาญาย่อมไม่มีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาอันถึงที่สุดที่จะให้นำไปถือตามในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ และในการพิพากษาคดี ข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลไม่จำต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 424
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามสามารถอ้างสิทธิใดๆ ที่จะก้าวล่วงเข้าไปในเขตที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อกระทำการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิเหนือทรัพย์สินดังกล่าวของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามยอมรับตามฟ้องว่า ได้เข้าไปในเขตที่ดินและรื้อบ้านพิพาทแล้วล้อมรั้วที่ดินพิพาทไม่ให้โจทก์และครอบครัวอยู่อาศัย ใช้ประโยชน์จากผลผลิตที่จะได้จากยางพาราและปาล์มซึ่งโจทก์ปลูกไว้ในเขตที่ดินและบ้านพิพาท การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการจงใจกระทำการโดยไม่สุจริต ทั้งส่งผลโดยตรงให้ทรัพย์สินของโจทก์ได้รับความเสียหายและไม่ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น อันเป็นความผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16104/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานในคดีแพ่งหลังคดีอาญาถึงที่สุด ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยานเพื่อพิสูจน์ความประมาทของจำเลยร่วม แม้คำพิพากษาอาญาจะยังไม่ยุติ
ในคดีส่วนอาญา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ก. และจำเลยที่ 1 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 และข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 โจทก์คดีนี้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทของ ก. เพียงฝ่ายเดียว จึงลงโทษ ก. และยกฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีอาญาอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ส่วน ก. อุทธรณ์ว่าตนไม่มีความผิด ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแต่อุทธรณ์ของ ก. แล้ววินิจฉัยว่า ก. เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทของ ก. เพียงฝ่ายเดียว แต่โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีอาญายังอุทธรณ์อยู่ จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นในคดีส่วนอาญาพิพากษาจึงยังไม่ยุติ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลชั้นต้น และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาก็เป็นการพิพากษาในส่วนของ ก. เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือร่วมกับ ก. ทำละเมิด แม้ ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อก็ไม่ทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะสืบพยานให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22850/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งและอาญาของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้รับจ้างเอกชน กรณีตรวจรับงานบกพร่อง ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ข้อ 4 เกี่ยวกับการส่งมอบงานงวดที่ 3 อันเป็นงวดสุดท้าย คู่สัญญาทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างต้องมีการทดลองระบบทุกระบบที่ติดตั้งให้คณะกรรมการตรวจการจ้างรับว่าใช้ราชการได้ดี แต่ในการตรวจรับงานงวดที่ 3 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้ทำการทดลองทุกระบบ รวมทั้งไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าบกให้แก่เรือรบหลวงตามสัญญาอันจะทำให้ทราบว่าระบบไฟฟ้าบกใช้ราชการได้ดีหรือไม่ และต่อมาเมื่อมีการใช้ระบบไฟฟ้าบกแก่เรือรบหลวง ปรากฏว่าไม่สามารถใช้ได้ตามสัญญา เป็นเหตุให้เรือรบหลวง 5 ลำ ต้องเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น ค่าบำรุงรักษา และค่าสึกหรอของเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสูงกว่าการใช้ระบบไฟฟ้าบกเป็นเงิน 4,591,790.07 บาท นั้น เห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 5 ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกไม่ครบถ้วน และไม่มีประสิทธิภาพตามสัญญา อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุที่ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างทำของ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงเป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่บัญญัติให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี โดยสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องดังกล่าวมิใช่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์อันจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 601 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รับมอบงานจากจำเลยที่ 5 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จากการที่จำเลยที่ 5 ผิดสัญญา การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 เพราะเหตุปฏิบัติผิดสัญญาต่อโจทก์ในวันที่ 25 กันยายน 2540 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 5 ให้ติดตั้งระบบไฟฟ้าบกก็เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าจากภาคพื้นดินให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ทำให้เรือรบหลวงนั้นไม่ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ต้องสิ้นเปลืองค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และเครื่องยนต์สึกหรอ และงานการติดตั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามรูปแบบที่กำหนดตามสัญญาดังกล่าวก็มีรายละเอียดมาก ทั้งงานทั้งระบบก็มีมูลค่าค่าจ้างสูงถึง 5,600,000 บาท ย่อมมีเหตุผลที่โจทก์จะต้องตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ในการจ้างติดตั้งระบบไฟฟ้าบกดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ โดยมีการกำหนดเป็นข้อสัญญาว่า ต้องมีการทดลองระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งทุกระบบ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจสอบและรับว่าใช้ราชการได้ดีด้วยนั้นเป็นข้อสำคัญที่จำเลยที่ 5 ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ โดยต้องทดลองในสภาพเช่นเดียวกับการใช้งานจริงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบนี้ให้แก่เรือรบหลวงด้วย มิใช่เพียงทดลองตรวจสอบระบบที่ติดตั้งโดยไม่ต้องทดลองจ่ายไฟฟ้าแก่เรือรบหลวงดังที่จำเลยที่ 5 ให้การแต่อย่างใด จำเลยที่ 5 มิได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าตามระบบที่ติดตั้งนี้ให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียนว่าใช้งานได้เรียบร้อยดีหรือไม่ ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 5 ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญาดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาแล้ว
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 363/2537 ของศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งกองทัพเรือโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยอัยการศาลทหารกรุงเทพดำเนินคดีแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาจึงเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีนี้ และปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์คดีนี้หรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่โจทก์นำมาฟ้องในทางแพ่งเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาดังกล่าว และปรากฏตามคำพิพากษาคดีอาญาว่า มีการกล่าวอ้างและสืบพยานหลักฐานในปัญหาข้อเท็จจริงนี้แล้ว ซึ่งในที่สุดศาลทหารกรุงเทพก็ได้วินิจฉัยถึงสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ต้องให้ผู้รับจ้างทดลองระบบทุกระบบรวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือด้วย และวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้รับจ้างไม่ได้ทดลองระบบทุกระบบต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ได้ทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือ ทั้ง ๆ ที่ในวันตรวจรับงานมีเรือจอดที่ท่าเทียบเรือ การตรวจรับงานงวดที่ 3 ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้ทางราชการกองทัพเรือได้รับความเสียหาย และเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลทหารกรุงเทพได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพจึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีนี้ และศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54 จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ตามคำฟ้อง
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการยื่นฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ไม่ใช่มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด
ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้น ไม่ใช่กรณีที่ต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพ หากแต่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในทางแพ่งเกี่ยวกับความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 424
จำเลยที่ 5 ไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าบกแก่เรือจริง แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ยังยอมรับมอบงานและรับรองว่างานถูกต้องตามสัญญาอันเป็นการเอื้อต่อการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 5 โดยมิชอบ จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือรบหลวงในช่วงเวลาที่ต้องตรวจสอบเหตุบกพร่องของระบบไฟฟ้าบกที่จำเลยที่ 5 รับจ้างโจทก์ติดตั้ง อันมีเหตุแห่งความเสียหายและลักษณะแห่งความเสียหายเดียวกัน ย่อมมีผลให้มีจำนวนค่าเสียหายจำนวนเดียวกัน โดยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ไม่มีเหตุที่ควรกำหนดค่าเสียหายแตกต่างกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท เช่นเดียวกับที่จำเลย ที่ 5 ต้องรับผิดจากการผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ร่วมกันทำละเมิดต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม แต่สำหรับจำเลยที่ 5 แม้ต้องรับผิดในหนี้จำนวนเดียวแต่เป็นหนี้เงินซึ่งมิใช่หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้ ทั้งมูลเหตุแห่งความรับผิดในมูลละเมิดและการผิดสัญญาก็แตกต่างกัน จำเลยที่ 5 จึงมิใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 290
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2555)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา หากคดีอาญาตัดสินว่าไม่ประมาท คดีแพ่งก็ต้องฟังตาม
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จำเลยที่ 1ถูกพนักงานอัยการกองคดีแขวงพระนครใต้เป็นโจทก์ฟ้อง ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารชน ช. โดยประมาทหรือไม่ การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาดังกล่าว ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 คดีอาญาดังกล่าวฟังข้อเท็จจริงว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ดังนี้ศาลจะต้องฟังในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 1มิได้ขับรถยนต์โดยสารชน ช. โดยประมาทการกระทำของจำเลยที่ 1ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ กรณีมีทางแยกและเห็นรถอื่น ศาลพิจารณาความเร็วและโอกาสชะลอรถ
พ. ขับรถยนต์ด้วยความเร็ว 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแม้ไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด แต่ตรงที่เกิดเหตุมีทางแยกจะต้องขับรถให้ช้าลงกว่านี้อีก การที่ พ. ขับรถด้วยความเร็วดังกล่าวและขณะที่ขับรถมาใกล้จะถึงที่เกิดเหตุก็ได้เห็นรถที่จอดรออยู่ตรงเกาะกลางถนนแล้ว ก็น่าจะชะลอความเร็วของรถลงบ้างหรือมิฉะนั้นเมื่อเห็นมีรถซึ่งรออยู่ตรงเกาะกลางถนนแล่นตัดหน้าไปคันหนึ่งแล้ว ก็ควรห้ามล้อให้รถชะลอความเร็วลงได้ โดยไม่จำเป็นต้องหักรถหลบไปจนปีนเกาะกลางถนนดังนี้ถือได้ว่า พ. มีส่วนประมาทด้วย
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้อง พ. ว่าขับรถยนต์โดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฝ่ายเดียว จำเลยไม่ได้ถูกฟ้องด้วยดังนี้แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะวินิจฉัยว่าไม่อาจถือว่าพ. ขับรถโดยประมาทก็ตาม การพิพากษาคดีนี้ก็ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถและการประเมินความรับผิดชอบในอุบัติเหตุทางถนน
พ. ขับรถยนต์ด้วยความเร็ว 50 - 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้ไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด แต่ตรงที่เกิดเหตุมีทางแยกจะต้องขับรถให้ช้าลงกว่านี้อีก การที่ พ. ขับรถด้วยความเร็วดังกล่าวและขณะที่ขับรถมาใกล้จะถึงที่เกิดเหตุก็ได้เห็นรถที่จอดรออยู่ตรงเกาะกลางถนนแล้ว ก็น่าจะชะลอความเร็วของรถลงบ้างหรือมิฉะนั้นเมื่อเห็นมีรถซึ่งรออยู่ตรงเกาะกลางถนนแล่นตัดหน้าไปคันหนึ่งแล้ว ก็ควรห้ามล้อให้รถชะลอความเร็วลงได้ โดยไม่จำเป็นต้องหักรถหลบไปจนปีนเกาะกลางถนนดังนี้ถือได้ว่า พ. มีส่วนประมาทด้วย
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้อง พ. ว่าขับรถยนต์โดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฝ่ายเดียว จำเลยไม่ได้ถูกฟ้องด้วย ดังนี้แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะวินิจฉัยว่าไม่อาจถือว่าพ. ขับรถโดยประมาทก็ตาม การพิพากษาคดีนี้ก็ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการฟ้องละเมิดจากการยึดทรัพย์โดยไม่ชอบ แม้ผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์คืนไปแล้ว
ผู้เช่าซื้อมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อในอันที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน ที่ตนเช่าซื้อมาย่อมมีสิทธิฟ้องผู้ที่มายึดทรัพย์สินนั้นจากตนโดยละเมิดได้ แม้ภายหลังผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์สินคืนไป ก็ไม่ทำให้ผลการละเมิดที่กระทำไว้ก่อนระงับตามไปด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 424 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด และกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญา อันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษและไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ ผู้กระทำละเมิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ฉะนั้นการที่ศาลเคยพิพากษาในคดีอาญาว่า จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์และ ยกฟ้องโจทก์ ก็ไม่จำต้อง ฟังว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เพราะจำเลยอาจกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นเช่นกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ในการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้แล้วก็ ได้ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่
สามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยอมความกันใน คดีอาญาโดยสามีโจทก์ตกลงผ่อนชำระหนี้ศาลสั่งจำหน่ายคดี เมื่อโจทก์ผิดนัด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะ ฟ้องคดีต่อศาลบังคับให้ สามีโจทก์ชำระหนี้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241และการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นอำนาจของศาลและของ เจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะ ดังนั้น การที่จำเลยที่1และทหารพรานยึดรถยนต์ที่อยู่ใน ความครอบครอง ของ โจทก์ไป อ้างว่าเป็นรถยนต์ผิดกฎหมาย นำส่งพนักงานสอบสวน โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายจึงเป็น การกระทำ โดยละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิผู้เช่าซื้อ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยึดทรัพย์คืน ก็ไม่ระงับผลการละเมิด การยึดทรัพย์เป็นอำนาจศาล
ผู้เช่าซื้อมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อในอันที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน ที่ตนเช่าซื้อมา ย่อมมีสิทธิฟ้องผู้ที่มายึดทรัพย์สินนั้นจากตนโดยละเมิดได้ แม้ภายหลังผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์สินคืนไป ก็ไม่ทำให้ผลการละเมิดที่กระทำไว้ก่อนระงับตามไปด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 424 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด และกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำละเมิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ ฉะนั้นการที่ศาลเคยพิพากษาในคดีอาญาว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์และยกฟ้องโจทก์ก็ไม่จำต้องฟังว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยอาจกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นเช่นกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ในการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้แล้วก็ได้ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่
สามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยอมความกันใน คดีอาญาโดยสามีโจทก์ตกลงผ่อนชำระหนี้ ศาลสั่งจำหน่ายคดี เมื่อโจทก์ผิดนัด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลบังคับให้สามีโจทก์ชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241และการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นอำนาจของศาลและของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และทหารพรานยึดรถยนต์ที่อยู่ในความครอบครองของ โจทก์ไป อ้างว่าเป็นรถยนต์ผิดกฎหมายนำส่งพนักงานสอบสวนโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคดีแพ่งผูกพันตามข้อเท็จจริงคดีอาญา หากคู่ความเป็นผู้เสียหายเดียวกัน
มูลละเมิดต่อโจทก์ในคดีนี้เป็นการกระทำอันเดียวกับที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหากระทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านของโจทก์โดยประมาท ซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นจำเลยกระทำผิดพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังที่จะลงโทษจำเลยได้ คดีถึงที่สุด ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวว่าจำเลยมิได้กระทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านของโจทก์โดยประมาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยจึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องในข้อหากระทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านโจทก์โดยประมาทนั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายใน คดีอาญาดังกล่าวนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงต้องผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 เป็นบทบัญญัติถึงการพิพากษาคดีส่วนแพ่งในความรับผิดเรื่องละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าจะต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายส่วนแพ่ง โดยมิต้องคำนึงถึงบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ เป็นคนละกรณีกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง: การพิพากษาคดีละเมิดต้องสอดคล้องกับผลคดีอาญา
มูลละเมิดต่อโจทก์ในคดีนี้เป็นการกระทำอันเดียวกับที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหากระทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านของโจทก์โดยประมาท ซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นจำเลยกระทำผิด พยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังที่จะลงโทษจำเลย ได้คดีถึงที่สุด ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวว่าจำเลยมิได้กระทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านของโจทก์โดยประมาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยจึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องในข้อหากระทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านโจทก์โดยประมาทนั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายใน คดีอาญาดังกล่าวนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงต้องผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 เป็นบทบัญญัติถึงการพิพากษาคดีส่วนแพ่งในความรับผิดเรื่องละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าจะต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายส่วนแพ่ง โดยมิต้องคำนึงถึงบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ เป็นคนละกรณีกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46
of 5