พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การรุกล้ำที่ดิน, และขอบเขตอำนาจฟ้องแย้ง
ที่ดินเดิม มีเพียง ส.ค.1 หากต่อมาเจ้าพนักงานออก น.ส.3 ให้แต่มีจำนวนเนื้อที่ไม่ตรงกัน ถือว่าจำนวนเนื้อที่ตามที่ปรากฏใน น.ส.3 ถูกต้องกว่า เพราะการออก น.ส.3 นั้น จะต้องมีการรังวัดเนื้อที่ดิน และมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงรับรองแนวเขตว่าถูกต้อง แม้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์เมื่อยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่ขาดสิทธิฟ้องแย้งเพื่อเอาคืนการครอบครอง แต่เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต จำเลย จึงไม่อาจบังคับให้โจทก์รื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำได้ ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าที่ดินที่โจทก์รุกล้ำ ดังนั้น การที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าที่ดินแก่จำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอฟ้องแย้ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีบุกรุก: การฟ้องเกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ทำให้สิทธิฟ้องระงับ แม้จำเลยยังไม่ได้ให้การ
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในขณะฟ้องคดีนี้ตามที่บรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ออกจากที่ดินพิพาทและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทมาพร้อมกับฟ้องคดีอาญา ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนดังกล่าวว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องแม้จำเลยจะยังมิได้ให้การต่อสู้คดี ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีบุกรุก: การหมดอายุความและการฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครอง
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในขณะฟ้องคดีนี้ตามที่บรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ออกจากที่ดินพิพาทและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดิน พิพาทมาพร้อมกับฟ้องคดีอาญา ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนดังกล่าวว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องแม้จำเลยจะยังมิได้ให้การต่อสู้คดี
ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองและการฟ้องคดีเกิน 1 ปี ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
จำเลยได้ ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ซึ่ง มี น.ส.3 ก. กับโจทก์มีกำหนด 1 ปี เมื่อครบกำหนดตาม สัญญาขายฝากแล้ว จำเลยยังคงครอบครองที่พิพาทตลอดมา โจทก์บอกให้จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์ แต่ จำเลยไม่ทำ ต่อมาจำเลยได้ ไปร้องเรียนขอความเป็นธรรม ต่อ ทางราชการเกี่ยวกับเรื่องขายฝาก ดังนี้ ถือ ได้ ว่าจำเลยได้ แย่ง สิทธิครอบครองของโจทก์และได้ บอกกล่าวการเปลี่ยนลักษณะแห่งการ ยึดถือครอบครองที่พิพาทเป็นของตน ต่อ โจทก์แล้ว การที่โจทก์นำคดี มาฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันสัญญาขายฝากครบกำหนด ซึ่ง เป็นวันที่โจทก์ถูก แย่งการครอบครองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการครอบครองที่ดิน: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ได้ลงลายมือชื่อแต่งทนาย และการครอบครองไม่ถึงขั้นแย่งการครอบครอง
โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แม้โจทก์ที่ 1จะรับรองหรือให้สัตยาบันการแต่งตั้งก็ไม่ทำให้การแต่งตั้งนั้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อข้อเท็จจริงมาปรากฏในชั้นพิจารณา ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ที่พิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์ที่ 2 และชาวบ้านร่วมกันบริจาคเงินซื้อ เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ โดยใช้ชื่อว่า "วัด ส." แต่วัดดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมาย ที่พิพาทจึงเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะเจ้าของร่วมอยู่ด้วยโจทก์ที่ 2 ยังมิได้สละสิทธิครอบครองแต่อย่างใด การที่โรงเรียน บ. มาสร้างอาคารเรียน และบ้านพักครูขึ้นในที่พิพาทเป็นการเข้าอยู่โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธินำที่พิพาทไปขอออกน.ส.3 ก. ในชื่อขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครอง แม้จะครอบครองต่อไปนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท จึงมิใช่เป็นกรณีการฟ้องคดี เพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมสร้างตนเอง: สิทธิของสมาชิกนิคมมีลำดับก่อน แม้มีการครอบครองก่อนโดยผู้อื่น
ที่ดินตามฟ้อง เป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าได้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ก็อยู่ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การครอบครองและเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่ดินตามฟ้อง เป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 ที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าได้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ก็อยู่ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375วรรคสองมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนการครอบครอง และประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ไม่ได้ยกขึ้นในคำฟ้อง
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรค 2 นั้นผู้ครอบครองจะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองโดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ครอบครองจะทราบว่าถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ และไม่คำนึงถึงว่าผู้ครอบครองได้โต้แย้งผู้แย่งการครอบครองหรือได้ร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองว่าถูกแย่งการครอบครองหรือไม่
โจทก์ฎีกาว่าที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 จำเลยจะต้องครอบครอง 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ แต่โจทก์มิได้ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องว่าที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 หรือไม่
โจทก์ฎีกาว่าที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 จำเลยจะต้องครอบครอง 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ แต่โจทก์มิได้ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องว่าที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในสินสมรส: การยึดทรัพย์และการปล่อยทรัพย์
ที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ซึ่งจำเลยกับผู้ร้องตกลงถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันสืบไปโดยให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายรักษาไว้ เช่นนี้ จำเลยยังไม่ขาดสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับที่ดินนั้น ผู้ร้องจะถือว่าได้สิทธิโดยการครอบครองเกิน 1 ปีหาได้ไม่
โจทก์มีสิทธินำยึดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้ร้องจะขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ดังกล่าวนี้หาได้ไม่
โจทก์มีสิทธินำยึดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้ร้องจะขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ดังกล่าวนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขับไล่ที่ดินมือเปล่าเกิน 1 ปี และข้ออ้างเป็นที่บ้านที่สวนที่ไม่สมเหตุสมผล
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่ที่ถูกแย่งการครอบครอง คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง