พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8899/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำเลยต้องห้าม – เหตุผลที่ไม่รับฎีกา – การยกข้อเท็จจริงใหม่ – ค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 แล้ว คงเหลือปัญหาตามฎีกาซึ่งเป็นเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงข้อเดียวว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าธรรมเนียมศาลให้ฝ่ายจำเลยใช้แทนแก่โจทก์สูงเกินไป โดยที่ไม่ได้ยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถือว่าเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9835/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์/ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด ถือเป็นคำฟ้อง ต้องเสียค่าขึ้นศาล การยื่นคำร้องซ้ำถือเป็นกระบวนการไม่ถูกต้อง
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์แล้วมีคำสั่งว่า กรรมสิทธิ์ในห้องชุดเป็นของจำเลย ไม่ได้ตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด ยกคำร้องขอ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้แก่ผู้ร้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแล้ว แทนที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น แต่ผู้ร้องกลับเลือกที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดของผู้ร้องเอง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้คืนเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรกแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 168 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแล้ว แทนที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น แต่ผู้ร้องกลับเลือกที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดของผู้ร้องเอง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้คืนเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรกแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 168 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดขอบเขตค่าเสียหายจากการก่อสร้าง, ฎีกาต้องห้ามค่าฤชาธรรมเนียม, และการพิพากษาค่าเสียหายที่เหมาะสม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 2 เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ไม่เกิน 50,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีของโจทก์ที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองสำหรับคดีของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่ชอบ หาก่อให้เกิดสิทธิฎีกาแก่จำเลยทั้งสองไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 85,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพิ่มอีก 100,000 บาท เท่ากับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 จำนวน 185,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอนาคตดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาสำหรับคดีของโจทก์ทั้งสองเกินกว่า 50,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับ ก็เป็นเรื่องสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของโจทก์ทั้งสองหามีผลย้อนไปถึงสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งต้องห้ามให้กลับมีขึ้นมาใหม่ไม่ เพราะสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของคู่ความนั้น จำต้องพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาของคู่ความแต่ละฝ่ายแยกต่างหากจากกัน มิเช่นนั้นจะกลับกลายเป็นว่าสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสองขึ้นอยู่กับการอุทธรณ์หรือฎีกาของโจทก์ทั้งสอง กล่าวคือ หากโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย หากโจทก์ทั้งสองไม่อุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริง มิได้ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง คดีคงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว ซึ่งข้ออ้างในฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกำหนดค่าทนายความที่จำเลยทั้งสองผู้แพ้คดีต้องใช้แทนโจทก์ทั้งสอง นอกจากนี้ค่าทนายความตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้แทนโจทก์ทั้งสองก็เป็นจำนวนที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 85,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพิ่มอีก 100,000 บาท เท่ากับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 จำนวน 185,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอนาคตดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาสำหรับคดีของโจทก์ทั้งสองเกินกว่า 50,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับ ก็เป็นเรื่องสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของโจทก์ทั้งสองหามีผลย้อนไปถึงสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งต้องห้ามให้กลับมีขึ้นมาใหม่ไม่ เพราะสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของคู่ความนั้น จำต้องพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาของคู่ความแต่ละฝ่ายแยกต่างหากจากกัน มิเช่นนั้นจะกลับกลายเป็นว่าสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสองขึ้นอยู่กับการอุทธรณ์หรือฎีกาของโจทก์ทั้งสอง กล่าวคือ หากโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย หากโจทก์ทั้งสองไม่อุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริง มิได้ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง คดีคงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว ซึ่งข้ออ้างในฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกำหนดค่าทนายความที่จำเลยทั้งสองผู้แพ้คดีต้องใช้แทนโจทก์ทั้งสอง นอกจากนี้ค่าทนายความตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้แทนโจทก์ทั้งสองก็เป็นจำนวนที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9320/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ไม่สามารถยื่นคำแถลงขอคืนค่าขึ้นศาลได้ แม้เห็นว่าคำสั่งไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาสำหรับคดีในเนื้อหาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด กู้เบิกเงินเกินบัญชี ตั๋วเงิน ค้ำประกัน และจำนองเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา คดีย่อมถึงที่สุดตั้งแต่เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์คือ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ต้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มอีกจำนวน 137,895 บาท ไม่ถูกต้องตามตาราง 1 (1) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงหามีสิทธิยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นคืนค่าขึ้นศาลจำนวน 137,895 บาท ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเกิน การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนได้ภายหลัง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลบางส่วนคืนโดยอ้างว่าได้ชำระเกินไปกว่าที่จะต้องชำระตามกฎหมาย ย่อมเท่ากับเป็นการยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 บัญญัติยกเว้นให้สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไปแล้วคืนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำฟ้องบังคับจำนอง: ศาลฎีกาตัดสินอัตราค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องโดยไม่เกิน 100,000 บาท
คำร้องขอให้บังคับจำนองของผู้ร้องซึ่งเป็นคำฟ้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละเท่าใด เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มไว้ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ร้องมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ผู้ร้องก็มีสิทธิยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคสอง อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 226(2) และถึงแม้ว่าผู้ร้องจะอุทธรณ์ในเรื่องค่าขึ้นศาลเพียงอย่างเดียวแต่ก็เป็นการอุทธรณ์โดยยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามผู้ร้องอุทธรณ์ตามที่มาตรา 168บัญญัติไว้
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองจำเลยนั่นเอง ตามตาราง 1 ข้อ 1(ค) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ระบุไว้ว่า ให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 1 ต่อเมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีจึงให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.5 แต่คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1(ค) ในอัตราร้อยละ 1ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการโต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมายของตาราง 1 ข้อ 1(ค)
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองจำเลยนั่นเอง ตามตาราง 1 ข้อ 1(ค) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ระบุไว้ว่า ให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 1 ต่อเมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีจึงให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.5 แต่คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1(ค) ในอัตราร้อยละ 1ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการโต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมายของตาราง 1 ข้อ 1(ค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลบังคับจำนอง: ศาลต้องพิจารณาตามอัตราที่จำเลยให้การหรือไม่ ให้ใช้ตามตารางค่าขึ้นศาล
คำร้องขอให้บังคับจำนองของผู้ร้องซึ่งเป็นคำฟ้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละเท่าใดนั้น เป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ร้องมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ผู้ร้องก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 226 (2) และแม้ว่าผู้ร้องจะอุทธรณ์ในเรื่องค่าขึ้นศาลเพียงอย่างเดียวแต่ก็เป็นการอุทธรณ์โดยยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามผู้ร้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยนั่นเอง คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ. ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการ โต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมาย ของตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ.
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2546
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยนั่นเอง คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ. ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการ โต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมาย ของตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ.
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องภาษี - การแยกคำฟ้องตามรอบระยะเวลาบัญชีถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นอีก200,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดีโดยตรง แต่โจทก์ได้ยกเหตุว่าค่าขึ้นศาลอันเป็นค่าฤชาธรรมเนียมนั้น มิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายและโต้แย้งคำสั่งศาลแล้ว จึงอุทธรณ์ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 24 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 168 มาตรา 226 และ 247
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในการพิจารณาว่าโจทก์จะเสียค่าขึ้นศาลเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตาราง 1ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)
การคิดค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ว่า คำฟ้องในกรณีปกติให้เรียกค่าขึ้นศาลโดยอัตรา 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาท แต่ไม่ให้เกิน 200,000 บาทแม้ว่าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทเมื่อคำนวณแล้วจะเกิน 200,000 บาท ก็ตาม ซึ่งหามีบทบัญญัติบังคับว่า ในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท เท่านั้นไม่แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน
คำฟ้องตามมาตรา 1(3) หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล เมื่อพิจารณาประกอบกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 แสดงให้เห็นว่าในการที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลในคำฟ้องฉบับหนึ่งนั้นอาจมีข้อหาหลายข้อด้วยกันได้ และให้อำนาจแก่ศาลมีคำสั่งแยกคดีได้ในกรณีที่ศาลเห็นว่าข้อหาหนึ่งข้อหาใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้อหาอื่น ๆหรือแม้ว่าข้อหาเหล่านั้นเกี่ยวพันกัน แต่ศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะเป็นการสะดวกศาลก็มีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปได้เท่านั้น มิได้บังคับว่าถ้าศาลสั่งแยกข้อหาแล้วจะเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสี่ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าในคำฟ้องใดหรือฉบับเดียวกันในกรณีที่มีหลายข้อหาย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ ซึ่งต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ในคำฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไปว่าเกี่ยวข้องกันหรือแยกกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมาตรา 65ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดสำหรับกรณีพิพาทจึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชีคือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 และอาจมีการดำเนินกิจการ มีผลประกอบการแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับแตกต่างกันได้ กล่าวคือ การคิดคำนวณรายได้และหักรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อหากำไรสุทธิจึงแยกต่างหากออกจากกันได้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้การที่โจทก์รวมภาษีทั้ง 2 รอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาจึงไม่ถูกต้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกเป็นรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชอบแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในการพิจารณาว่าโจทก์จะเสียค่าขึ้นศาลเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตาราง 1ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)
การคิดค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ว่า คำฟ้องในกรณีปกติให้เรียกค่าขึ้นศาลโดยอัตรา 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาท แต่ไม่ให้เกิน 200,000 บาทแม้ว่าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทเมื่อคำนวณแล้วจะเกิน 200,000 บาท ก็ตาม ซึ่งหามีบทบัญญัติบังคับว่า ในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท เท่านั้นไม่แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน
คำฟ้องตามมาตรา 1(3) หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล เมื่อพิจารณาประกอบกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 แสดงให้เห็นว่าในการที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลในคำฟ้องฉบับหนึ่งนั้นอาจมีข้อหาหลายข้อด้วยกันได้ และให้อำนาจแก่ศาลมีคำสั่งแยกคดีได้ในกรณีที่ศาลเห็นว่าข้อหาหนึ่งข้อหาใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้อหาอื่น ๆหรือแม้ว่าข้อหาเหล่านั้นเกี่ยวพันกัน แต่ศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะเป็นการสะดวกศาลก็มีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปได้เท่านั้น มิได้บังคับว่าถ้าศาลสั่งแยกข้อหาแล้วจะเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสี่ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าในคำฟ้องใดหรือฉบับเดียวกันในกรณีที่มีหลายข้อหาย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ ซึ่งต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ในคำฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไปว่าเกี่ยวข้องกันหรือแยกกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมาตรา 65ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดสำหรับกรณีพิพาทจึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชีคือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 และอาจมีการดำเนินกิจการ มีผลประกอบการแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับแตกต่างกันได้ กล่าวคือ การคิดคำนวณรายได้และหักรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อหากำไรสุทธิจึงแยกต่างหากออกจากกันได้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้การที่โจทก์รวมภาษีทั้ง 2 รอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาจึงไม่ถูกต้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกเป็นรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีภาษี: แยกพิจารณาทุนทรัพย์แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีได้
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นอีก200,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดีโดยตรง แต่โจทก์ได้ยกเหตุว่าค่าขึ้นศาลอันเป็นค่าฤชาธรรมเนียมนั้น มิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายและโต้แย้งคำสั่งศาลแล้ว จึงอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 168มาตรา 226 และ 247
ป.วิ.พ.มาตรา 150 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในการพิจารณาว่าโจทก์จะเสียค่าขึ้นศาลเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ.ข้อ (1)
การคิดค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ว่า คำฟ้องในกรณีปกติให้เรียกค่าขึ้นศาลโดยอัตรา 2.50 บาทต่อทุก 100 บาท แต่ไม่ให้เกิน 200,000 บาท แม้ว่าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทเมื่อคำนวณแล้วจะเกิน 200,000 บาท ก็ตาม ซึ่งหามีบทบัญญัติบังคับว่า ในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาทเท่านั้นไม่ แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน
คำฟ้องตามมาตรา 1 (3) หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล เมื่อพิจารณาประกอบกับ ป.วิ.พ.มาตรา 29แสดงให้เห็นว่า ในการที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลในคำฟ้องฉบับหนึ่งนั้นอาจมีข้อหาหลายข้อด้วยกันได้ และให้อำนาจแก่ศาลมีคำสั่งแยกคดีได้ในกรณีที่ศาลเห็นว่าข้อหาหนึ่งข้อหาใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้อหาอื่น ๆ หรือแม้ว่าข้อหาเหล่านั้นเกี่ยวพันกัน แต่ศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะเป็นการสะดวก ศาลก็มีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปได้เท่านั้น มิได้บังคับว่าถ้าศาลสั่งแยกข้อหาแล้วจะเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ได้ และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150 วรรคสี่ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าในคำฟ้องใดหรือฉบับเดียวกันในกรณีที่มีหลายข้อหา ย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ ซึ่งต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับของโจทก์ในคำฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไปว่าเกี่ยวข้องกันหรือแยกกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ป.รัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมาตรา 65 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดสำหรับกรณีพิพาทจึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชีคือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 และอาจมีการดำเนินกิจการ มีผลประกอบการแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับแตกต่างกันได้ กล่าวคือการคิดคำนวณรายได้และหักรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อหากำไรสุทธิจึงแยกต่างหากออกจากกันได้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้ง 2 รอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาจึงไม่ถูกต้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกเป็นรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชอบแล้ว
ป.วิ.พ.มาตรา 150 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในการพิจารณาว่าโจทก์จะเสียค่าขึ้นศาลเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ.ข้อ (1)
การคิดค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ว่า คำฟ้องในกรณีปกติให้เรียกค่าขึ้นศาลโดยอัตรา 2.50 บาทต่อทุก 100 บาท แต่ไม่ให้เกิน 200,000 บาท แม้ว่าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทเมื่อคำนวณแล้วจะเกิน 200,000 บาท ก็ตาม ซึ่งหามีบทบัญญัติบังคับว่า ในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาทเท่านั้นไม่ แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน
คำฟ้องตามมาตรา 1 (3) หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล เมื่อพิจารณาประกอบกับ ป.วิ.พ.มาตรา 29แสดงให้เห็นว่า ในการที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลในคำฟ้องฉบับหนึ่งนั้นอาจมีข้อหาหลายข้อด้วยกันได้ และให้อำนาจแก่ศาลมีคำสั่งแยกคดีได้ในกรณีที่ศาลเห็นว่าข้อหาหนึ่งข้อหาใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้อหาอื่น ๆ หรือแม้ว่าข้อหาเหล่านั้นเกี่ยวพันกัน แต่ศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะเป็นการสะดวก ศาลก็มีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปได้เท่านั้น มิได้บังคับว่าถ้าศาลสั่งแยกข้อหาแล้วจะเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ได้ และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150 วรรคสี่ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าในคำฟ้องใดหรือฉบับเดียวกันในกรณีที่มีหลายข้อหา ย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ ซึ่งต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับของโจทก์ในคำฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไปว่าเกี่ยวข้องกันหรือแยกกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ป.รัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมาตรา 65 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดสำหรับกรณีพิพาทจึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชีคือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 และอาจมีการดำเนินกิจการ มีผลประกอบการแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับแตกต่างกันได้ กล่าวคือการคิดคำนวณรายได้และหักรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อหากำไรสุทธิจึงแยกต่างหากออกจากกันได้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้ง 2 รอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาจึงไม่ถูกต้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกเป็นรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9439/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ค่าฤชาธรรมเนียมต้องห้ามตามมาตรา 168 หากมิได้อ้างเหตุค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับซึ่งเป็นดุลพินิจที่ศาลจะสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ผู้ซื้อทรัพย์อุทธรณ์เฉพาะเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียวโดยอ้างว่าจำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยเจตนาจะทำให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้รับความเสียหาย เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวมทั้งค่าทนายความไปเป็นจำนวนมาก จึงควรกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนผู้ซื้อทรัพย์นั้น อุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 168 จึงต้องห้าม