คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 168

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมรดก ไม่ถือเป็นการค้าหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์รับมรดกที่ดิน 16 ไร่เศษ ราคาไม่เกินไร่ละ 800 บาทจากสามีผู้วายชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2488 ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2499-2501 โจทก์จัดทำถนนผ่ากลางที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงเล็กๆ 27 แปลง ขายได้ราคาไร่ละ80,000 บาท ถึง 100,000 บาท นั้น เห็นได้ว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่านั้น มิใช่ขายเป็นทางค้าหากำไร โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้นโจทก์จะฎีกาว่าโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การชำระแทนและการเรียกร้องค่าชดใช้
ค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ซึ่งโจทก์ถอนฟ้องมิได้มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น ถ้าจำเลยได้ออกเงินไปก่อนเพื่อกันความเสียหายของจำเลย แล้วจะมาร้องขอให้ศาลบังคับโจทก์ชดใช้ให้แก่จำเลยย่อมไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นค่าธรรมเนียมซึ่งฝ่ายหนึ่งจะต้องใช้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งตามคำสั่งศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การชำระทดแทนไม่ใช่ค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาล
ค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวซึ่งโจทก์ถอนฟ้องมิได้มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น ถ้าจำเลยได้ออกเงินไปก่อนเพื่อกันความเสียหายของจำเลย แล้วจะมาร้องขอให้ศาลบังคับโจทก์ชดใช้ให้แก่จำเลยย่อมไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นค่าธรรมเนียมซึ่งฝ่ายหนึ่งจะต้องใช้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งตามคำสั่งศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำทรัพย์สิน: สิทธิบุริมสิทธิของผู้รับจำนำไม้สัก กรณีจำเลยมีสิทธิใช้ประโยชน์ทรัพย์
ผู้รับจำนำยื่นคำร้องต่อศาลว่าทรัพย์ที่โจทก์ขอให้ศาลยึดนั้นเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้จำนำต่อผู้ร้องไว้ผู้ร้องมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์นั้นขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์นั้น ชำระหนี้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นรวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนหนึ่งดังนี้ คดีปรับเข้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150คือคำขอคำนวณเป็นราคาเงินได้ ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลตามอัตราของทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง
จำเลยทำตั๋วสัญญาใช้เงินให้ธนาคารผู้ร้อง 500,000 บาทขอเปิดบัญชีอีก200,000 บาท ได้ทำสัญญามอบไม้สักและไม้ซุงซึ่งอยู่ ณ โรงเลื่อยจำเลยให้ผู้ร้องเป็นประกันผู้ร้องได้เอาตราธนาคารตีประทับบนไม้ และทำหนังสือให้คนดูแลโรงเลื่อยจำเลยเป็นผู้ดูแลรักษา แต่จำเลยมีสิทธิที่จะนำไม้เหล่านี้ไปเลื่อยและขายได้ โดยขออนุญาตผู้ร้องแต่ต้องหามาทดแทนดังนี้ยังไม่พอที่จะให้ถือว่าทรัพย์อยู่ในความครอบครองของผู้รับจำนำหรือบุคคลภายนอกผู้ใดตามกฎหมาย เพราะผู้จำนำจะนำไม้ที่จำนำไปเลื่อยหรือขายก็ได้ฉะนั้นธนาคารผู้ร้องจะอ้างบุริมสิทธิว่าเป็นการจำนำถูกต้องตามกฎหมายมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำทรัพย์สิน: การครอบครองทรัพย์สินเป็นสำคัญในการบังคับสิทธิ
ผู้รับจำนำยื่นคำร้องต่อศาลว่าทรัพย์ทีโจทก์ขอให้ศาลยึด - นั้นเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้จำนำต่อผุ้ร้องไว้ ผู้ร้องมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์นั้น ขอให้เอาที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์นั้น ชำระหนี้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหน้าที่อื่น รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ดังนี้ คดีปรับเข้า ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 150 คือคำขอคำนวณเป็นราคาเงินได้ ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลตามอัตราของทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง
จำเลยทำตั๋วสัญญาใช้เงินให้ธนาคารผู้ร้อง 500,000บาท ได้ทำสัญญามอบไม้สักและไม้ซุงซึ่งอยู่ ณ โรงเลื่อยจำเลยให้ผู้ร้องเป็นประกัน ผู้ร้องได้เอาตราธนาคารดีประทับบนไม้ และทำหนังสือให้คนดูแลโรงเลื่อยจำเลยเป็นผู้ดูแลรักษา แต่จำเลยมีสิทธิ์ที่จะนำไม้เหล่านี้ไปเลื่อยและขายได้ โดยขออนุญาตผู้ร้อง แต่ต้องหามาทดแทน ดังนี้ ยังไม่พอที่จะให้ถือว่าทรัพย์อยู่ในความครอบครองของผู้รับจำนำหรือบุคคลภายนอกผู้ใดตาม ก.ม. เพราะผู้จำนำจะนำไม้ที่จำนำไปเลื่อยหรือขายก็ได้ฉะนั้นธนาคารผู้รองจะอ้างบุริมสิทธิว่าเป็นการจำนำถูกต้องตาม ก.ม. มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิชายคู่หมั้น สิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสได้ แม้ของหมั้นเป็นของผู้อื่น
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิแก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชาย เฉย ๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่ จ. ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืม โดย พ.ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฎว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ.กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ.หากเป็นความจริง ไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้.
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา 168 ป.ม.วิ.แพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย โดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้น ป.ม.วิ.แพ่งแล้วจำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา 246,186 วรรค 2 ป.ม.วิ.แพ่ง หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ก็รับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นไว้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ชายคู่หมั้น การหมั้นสมบูรณ์เมื่อสมรสแล้ว
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชายเฉยๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินราชพัสดุ: ผู้ไม่มีอำนาจยึด และสิทธิในการเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียม
ที่ดินซึ่งกระทรวงการคลังรับโอนจากเอกชนมาขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ แล้วเอามาให้เอกชนเช่าอยู่นั้น ย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ผู้ใดไม่มีอำนาจยึด
ผู้ร้องชนะคดีโจทก์ชั้นศาลอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ชำระแทนผู้ร้อง ๆ ย่อมฎีกาฉะเพาะค่าฤชาธรรมเนียมได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 168 เพราะศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่โอนเป็นราชพัสดุแล้ว ย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ห้ามยึด และผู้ชนะคดีมีสิทธิเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียม
ที่ดินซึ่งกระทรวงการคลังรับโอนจากเอกชนมาขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ แล้วเอามาให้เอกชนเช่าอยู่นั้น ย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ผู้ใดไม่มีอำนาจยึด
ผู้ร้องชนะคดีโจทก์ชั้นศาลอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ชำระแทนผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมฎีกาเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168 เพราะศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เรื่องการแก้ทะเบียนอายุเด็กและข้อห้ามตาม ม.168 ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแก้ทะเบียนอายุเด็ก จำเลยต่อสู้ว่าได้แก้ทะเบียนแล้ว+ฟ้อง ศาลชั้นต้นเชื่อตามข้อต่อสู้ของจำเลยโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวนั้น จะถือว่าเป็นอุทธรณ์ในเรื่องค่าธรรมเนียมตาม ม.168 ไม่ได้
ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาให้แก่ความในกรณีที่ย้านสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
of 5