พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12611/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: ต้องรอจนกว่าแผนฟื้นฟูจะครบถ้วน
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 นั้น ผู้ที่จะถูกส่งตัวไปเข้ารับการฟื้นฟู คือ บุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อน และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดนั้นจะต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 ซึ่งคดีนี้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัวเป็นเวลา 120 วัน ครบถ้วนแล้ว และเข้าฟื้นฟูตามโปรแกรมปรับตัวกลับสู่สังคมเป็นเวลา 60 วัน แต่จำเลยขาดการรายงานตัว 2 ครั้ง จนคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยต้องขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยอีก 60 วัน แต่จำเลยก็ไม่มารายงานตัวและไม่ได้ทำงานบริการสังคม กรณีจึงถือว่าจำเลยยังไม่ได้เข้าสู่โปรแกรมการปรับตัวกลับสู่สังคมให้ครบถ้วนตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 30 และมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจและหน้าที่จับจำเลยเข้าไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อบำบัดฟื้นฟูตามแผนและให้มีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้อีกด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แต่ประการใด การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยมีคำสั่งที่ 302/2554 ว่า ผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่พอใจ และให้รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่อไปจึงเป็นการไม่ชอบ เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในกรณีหากผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ดังนั้นเมื่อได้ตัวจำเลยกลับมาและโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ยังมิได้นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10069/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดียาเสพติดหลังจำเลยเข้ารับการฟื้นฟูแต่ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ
คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดลำพูนมีคำวินิจฉัยให้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เข้มงวดเป็นเวลา 4 เดือน ภายหลังพ้นการฟื้นฟูแล้วให้เข้ารับการฟื้นฟูในโปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติเป็นเวลา 2 เดือน และทำงานบริการสังคม 10 ชั่วโมง ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูมีคำวินิจฉัยว่าผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูไม่ครบถ้วน โดยยังค้างรายงานตัว 1 ครั้ง และค้างทำงานบริการสังคม 10 ชั่วโมง จึงให้ขยายระยะเวลาฟื้นฟูออกไปอีก 30 วัน แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ขยายแล้ว คณะอนุกรรมการฟื้นฟูมีคำวินิจฉัยว่า ระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของจำเลยอยู่ในระดับต้องปรับปรุง ผลการประเมินไม่ผ่าน เนื่องจากปฏิบัติตามแผนไม่ครบถ้วน จึงให้ส่งตัวคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป แสดงว่าจำเลยเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 22 วรรคหนึ่งแล้ว และจำเลยอยู่รับการฟื้นฟูตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดเพียงแต่จำเลยผิดนัดไม่ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 1 ครั้ง และค้างการทำงานบริการสังคม 10 ชั่วโมง ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวจำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้วแต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่น่าพอใจคณะอนุกรรมการฟื้นฟูจึงมีหน้าที่รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีต่อไปตามมาตรา 33 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8970/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจวินิจฉัยผลการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และการดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้ติดยาเสพติดไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อน และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จากนั้นต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 โดยคำนึงถึงความหนักเบาของการเสพหรือติดยาเสพติดของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 23 ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องถูกบังคับให้อยู่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ซึ่งอาจขยายหรือลดระยะเวลาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามความเหมาะสมตามมาตรา 25 หากผู้ใดหลบหนีจากการตรวจพิสูจน์หรือหลบหนีออกนอกศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้ถือว่าผู้นั้นหนีการคุมขังตามมาตรา 190 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นได้ด้วยตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้อีกด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จึงมีวัตถุประสงค์แก้ไขฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดทุกคนเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามมาตราดังกล่าวก่อนแล้วคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงจะมีสิทธิพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งที่ 7563/2552 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ว่า ... ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูฯ โดยเข้ารับการฟื้นฟูฯ ไม่ครบถ้วนตามแผนที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกหนังสือเตือนไปยังที่อยู่ที่แจ้งไว้โดยมีผู้รับหนังสือดังกล่าวไว้แล้ว แต่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ยังไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัด อาสาสมัครคุมประพฤติจึงได้ออกติดตามไปยังที่อยู่ที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ แจ้งไว้ ปรากฏว่าพบบุคคลชื่อ อ. เกี่ยวพันเป็นมารดาของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ จึงนัดให้มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานคุมประพฤติ แต่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ไม่ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกำหนดนัด โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ให้โอกาสในการเข้ารับการฟื้นฟูฯ แล้ว แต่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ก็ไม่ปฏิบัติตาม ไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ทราบ จากผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การให้โอกาสแก่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมโดยใช้วิธีการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เหมาะสมและใช้ไม่ได้ผล จึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 13 (8) ประกอบมาตรา 33 วรรคสอง วินิจฉัยว่า ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่น่าพอใจ ให้แจ้งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีต่อไป จะเป็นดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก็ตาม แต่เมื่อมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งที่ 7563/2552 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ว่า ... ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูฯ โดยเข้ารับการฟื้นฟูฯ ไม่ครบถ้วนตามแผนที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกหนังสือเตือนไปยังที่อยู่ที่แจ้งไว้โดยมีผู้รับหนังสือดังกล่าวไว้แล้ว แต่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ยังไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัด อาสาสมัครคุมประพฤติจึงได้ออกติดตามไปยังที่อยู่ที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ แจ้งไว้ ปรากฏว่าพบบุคคลชื่อ อ. เกี่ยวพันเป็นมารดาของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ จึงนัดให้มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานคุมประพฤติ แต่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ไม่ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกำหนดนัด โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ให้โอกาสในการเข้ารับการฟื้นฟูฯ แล้ว แต่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ก็ไม่ปฏิบัติตาม ไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ทราบ จากผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การให้โอกาสแก่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมโดยใช้วิธีการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เหมาะสมและใช้ไม่ได้ผล จึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 13 (8) ประกอบมาตรา 33 วรรคสอง วินิจฉัยว่า ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่น่าพอใจ ให้แจ้งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีต่อไป จะเป็นดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก็ตาม แต่เมื่อมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อนหลังคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพยังไม่ได้ส่งตัวผู้ต้องหาเข้าบำบัดตามกฎหมาย
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้ติดยาเสพติดไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการ ติดยาเสพติดก่อน และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จากนั้นต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามมาตรา 22 โดยคำนึงถึงความหนักเบาของการเสพหรือติดยาเสพติดของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามมาตรา 23 ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องถูกบังคับให้อยู่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ซึ่งอาจขยายหรือลดระยะเวลาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามความเหมาะสม ตามมาตรา 25 หากผู้ใดหลบหนีจากการตรวจพิสูจน์หรือหลบหนีออกนอกศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้ถือว่าผู้นั้นหนีการคุมขังตามมาตรา 190 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นได้ด้วยตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้อีกด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จึงมีวัตถุประสงค์แก้ไขฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดทุกคนเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามมาตราดังกล่าวก่อนแล้วคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงจะมีสิทธิพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ข้อเท็จจริงได้ความตามคำวินิจฉัยคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสงขลา ที่ 1358/2555 เอกสารท้ายฟ้องว่า คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสงขลา เห็นว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์เคยถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่จับกุมในความผิดฐานเสพและร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (กัญชา) ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสงขลามีคำวินิจฉัยที่ 546/2552 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ให้ผู้เข้ารับตรวจพิสูจน์เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบจิตสังคมบำบัดที่โรงพยาบาลของรัฐเป็นเวลา 4 เดือน ให้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเป็นเวลา 6 เดือน ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ยินยอมให้เก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหาสารเสพติด และห้ามคบหาสมาคมกับผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งในระหว่างฟื้นฟู ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ขาดรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้พักอาศัยตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีคำสั่งที่ 73/2555 ลงวันที่ 5 มกราคม 2535 ให้ขยายระยะเวลาต่อไปอีกเป็นเวลา 4 เดือน แต่ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ขาดความรับผิดชอบ ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการบำบัด คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสงขลา จึงมีคำสั่งที่ 1232/2555 ลงวันที่ 17 เมษายน 2555 พิจารณาผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เห็นสมควรแจ้งให้พนักงานสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีต่อไป แม้คำสั่งที่ 1232/2555 จะเป็นดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสงขลาก็ตาม แต่เมื่อมาตรา 32 บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้วแต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ ดังนี้ เมื่อได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยไม่มารายงานตัวเพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยที่ 546/2552 และคำสั่งที่ 73/2555 ของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน เมื่อคำสั่งของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่ 1232/2555 ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ระหว่างดำเนินคดีอื่นที่มีโทษจำคุกตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 การที่โจทก์นำตัวจำเลยมาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายให้ครบถ้วนก่อน
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องถูกบังคับให้อยู่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ซึ่งอาจขยายหรือลดระยะเวลาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามความเหมาะสมตามมาตรา 25 หากผู้ใดหลบหนีจากการตรวจพิสูจน์หรือหลบหนีออกนอกศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดถือว่าผู้นั้นหนีการคุมขัง พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นได้ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้ด้วย จึงมีวัตถุประสงค์แก้ไขฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดทุกคนเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามมาตราดังกล่าวก่อน แล้วคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงจะมีสิทธิพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แม้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งว่า จำเลยไม่ไปรับทราบคำวินิจฉัย ทั้ง ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีหนังสือเตือนให้ไปพบ แต่ไม่ไปพบ แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีความตั้งใจจริงในการบำบัดและวินิจฉัยว่าผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่น่าพอใจ ให้แจ้งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีต่อไป จะเป็นดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก็ตาม แต่เมื่อมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นเมื่อผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการฟื้นฟูครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้วและผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: อำนาจฟ้องคดีหลังหลบหนีการบำบัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์แก้ไขฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทุกคนเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามมาตรา 22, 23 ก่อน แล้วคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงจะมีสิทธิพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ดังนั้น การที่คณะอนุกรรมการฯ มีคำสั่งที่ 736/2554 ว่า จำเลยจงใจหลีกเลี่ยงและหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่... ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่น่าพอใจและให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมาตรา 32 บัญญัติให้ คณะอนุกรรมการฯ รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้วแต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ กรณีที่ได้ตัวจำเลยมาแล้ว หลังจากที่จำเลยจงใจหลีกเลี่ยงและหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฯ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน การที่โจทก์นำตัวจำเลยมาฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดียาเสพติดหลังเข้ารับฟื้นฟู: ต้องรอจนกว่าจะครบกำหนดและดำเนินการตามแผนฟื้นฟู
จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัวที่โรงพยาบาล แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบเงื่อนไขให้ครบถ้วนอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 30 และมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจและหน้าที่จับตัวจำเลยกลับเข้าไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เพื่อบำบัดฟื้นฟูตามแผนและให้มีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 การที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเห็นว่า การที่ผู้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย จึงให้ส่งเรื่องคืนพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไปก็เป็นการไม่ชอบ เพราะตามมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดี หากผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ดังนั้นเมื่อได้ตัวจำเลยกลับมา โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ยังมิได้นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีผู้ติดยาเสพติด: ต้องส่งตัวเข้ารับการบำบัดให้ครบถ้วนก่อน จึงดำเนินคดีได้
จำเลยหลบหนีไปขณะถูกนำตัวไปเข้ารับการฟื้นฟูที่ศูนย์ฟื้นฟูฯ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งว่า ผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่พอใจ และให้แจ้งพนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรณภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 13 (8) ประกอบมาตรา 33 วรรคสอง เป็นการไม่ชอบ เพราะมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟู ในกรณีที่ผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ ฉะนั้น เมื่อได้ตัวจำเลยมาแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วน ตามมาตรา 25 ก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้