พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ผิดพลาด การเพิกถอนโฉนด และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
ผู้รับมอบอำนาจตายก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หนังสือมอบอำนาจย่อมระงับสิ้นไปหรือหมดสภาพไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 826 จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วว่าผู้มอบอำนาจตายแต่ยังดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนเสร็จสิ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการปฏิบัติราชการในหน้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมที่ดินจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนดโดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา61
แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนดที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479.
กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนดโดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา61
แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนดที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นต้องมีใบหุ้นที่ส่งมอบได้จริง การไม่ปฏิบัติตามระเบียบตลาดหลักทรัพย์เป็นเหตุบอกเลิกสัญญาได้
ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 35 ผู้ที่เข้าเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์จำต้องยินยอมผูกพันตนเองตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกประการ ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้สั่งซื้อหุ้นมิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ต้องใช้ข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น จะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขายยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น จะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขายยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้น: สิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ส่งมอบใบหุ้นตามกำหนด และผลของการประพฤติผิดสัญญาของตัวแทน
ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 35 ผู้ที่เข้าเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์จำต้องยินยอมผูกพันตนเองตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกประการ ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้สั่งซื้อหุ้นมิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ต้องใช้ข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นจะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขาย ยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นจะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขาย ยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462-1463/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม และอำนาจร้องทุกข์ย่อมเป็นของธนาคาร ไม่ใช่ตัวแทน แม้ตัวแทนเสียชีวิต
พนักงานของธนาคารซึ่งเป็นผู้แทนของธนาคาร จ่ายเงินจากบัญชีของลูกค้าไปโดยลูกค้าไม่ได้สั่ง ธนาคารตัวการต้องรับผิดเกี่ยวกับเงินจำนวนที่พนักงานของคนจ่ายจากบัญชีลูกค้า การที่จำเลยร่วมกันนำเช็คซึ่งปลอมลายมือชื่อลูกค้าไปเบิกเงินจากธนาคารย่อมได้ชื่อว่ากระทำให้ธนาคารเสียหาย ธนาคารจึงเป็นผู้เสียหาย
ผู้จัดการธนาคารสำนักงานใหญ่มอบอำนาจให้ บ. ไปร้องทุกข์ในฐานะผู้จัดการของธนาคาร มิใช่มอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์ไปฐานะส่วนตัว เมื่อ บ.ไปร้องทุกข์ไว้ ถือได้ว่าธนาคารได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ดังนั้น แม้ผู้จัดการตาาย กรณีก็ไม่ใช่ลักษณะสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย อันจะเป็นเหตุอ้างว่า บ. ไม่มีอำนาจร้องทุกข์
ผู้จัดการธนาคารสำนักงานใหญ่มอบอำนาจให้ บ. ไปร้องทุกข์ในฐานะผู้จัดการของธนาคาร มิใช่มอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์ไปฐานะส่วนตัว เมื่อ บ.ไปร้องทุกข์ไว้ ถือได้ว่าธนาคารได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ดังนั้น แม้ผู้จัดการตาาย กรณีก็ไม่ใช่ลักษณะสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย อันจะเป็นเหตุอ้างว่า บ. ไม่มีอำนาจร้องทุกข์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462-1463/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อการจ่ายเงินจากบัญชีลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และการร้องทุกข์แทนธนาคารไม่ระงับเมื่อผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตาย
พนักงานของธนาคารซึ่งเป็นผู้แทนของธนาคาร จ่ายเงินจากบัญชีของลูกค้าไปโดยลูกค้าไม่ได้สั่ง ธนาคารตัวการต้องรับผิดเกี่ยวกับเงินจำนวนที่พนักงานของตนจ่ายจากบัญชีของลูกค้า การที่จำเลยร่วมกันนำเช็คซึ่งปลอมลายมือชื่อลูกค้าไปเบิกเงินจากธนาคารย่อมได้ชื่อว่ากระทำให้ธนาคารเสียหาย ธนาคารจึงเป็นผู้เสียหาย
ผู้จัดการธนาคารสำนักงานใหญ่มอบอำนาจให้ บ. ไปร้องทุกข์ในฐานะผู้จัดการของธนาคาร มิใช่มอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว เมื่อ บ. ไปร้องทุกข์ไว้ถือได้ว่าธนาคารได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ดังนั้นแม้ผู้จัดการตาย กรณีก็ไม่ใช่ลักษณะสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย อันจะเป็นเหตุอ้างว่า บ. ไม่มีอำนาจร้องทุกข์
ผู้จัดการธนาคารสำนักงานใหญ่มอบอำนาจให้ บ. ไปร้องทุกข์ในฐานะผู้จัดการของธนาคาร มิใช่มอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว เมื่อ บ. ไปร้องทุกข์ไว้ถือได้ว่าธนาคารได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ดังนั้นแม้ผู้จัดการตาย กรณีก็ไม่ใช่ลักษณะสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย อันจะเป็นเหตุอ้างว่า บ. ไม่มีอำนาจร้องทุกข์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก
จำเลยที่ 4 เป็นบุตรของ อ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของ อ. โจทก์เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ อ. ก่อนตาย อ. ได้ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้ หลังจาก อ. ตายแล้วโจทก์นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปโอนที่พิพาทมาเป็นของตน เจ้าพนักงานที่ดินไม่ทราบว่า อ. ตายแล้ว จึงจัดทำให้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับบรรดาทายาทของ อ. ทำหนังสือรับรองและรับรู้ว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อ. ยกที่ดินพิพาท และทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปโอนกรรมสิทธิ์ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ถอนชื่อโจทก์ออกจากโฉนด เพราะรับโอนมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. มีหน้าที่แบ่งมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทโดยธรรม โจทก์มิใช่ทายาทโดยธรรมของอ.ไม่มีสิทธิรับมรดกที่โจทก์เอาหนังสือมอบอำนาจของ อ. ไปขอโอนกรรมสิทธิ์หลัง อ. ตายแล้ว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และทายาทของ อ. จะได้ทำหนังสือรับรองและรับรู้ดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นเพียงมีความหมายว่า ไม่ติดใจยกเอาเรื่องดังกล่าวเป็นข้ออ้าง เพื่อฟ้องร้องเรียกที่ดินนั้นคืนจากโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ถูกเพิกถอนชื่อออกจากโฉนด เป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินเห็นว่าการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ขัดต่อเจตนาเดิมของจำเลย แม้จะเซ็นมอบอำนาจไว้ก่อนหน้า ย่อมไม่ผูกมัดจำเลย
การที่จำเลยเซ็นหนังสือมอบอำนาจที่ยังมิได้กรอกข้อความให้ไว้ในวันทำสัญญาค้ำประกัน พร้อมกับมอบโฉนดที่ดินของจำเลยให้ไว้เป็นประกันด้วยนั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยยินยอมให้เอาที่ดินของจำเลยนั้นตราเป็นประกันชำระหนี้ได้ด้วย ฉะนั้น หากมีการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจให้ทำจำนองแม้จะกระทำภายหลัง ก็ถือได้ว่าข้อความนั้นตรงตามความประสงค์ของจำเลยแล้ว แต่ทั้งนี้การทำจำนองต้องกระทำเสียก่อนที่จำเลยเพิกถอนความประสงค์นั้น
การที่โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยมากรอกข้อความขึ้นในภายหลังแล้วนำไปทำจำนองนั้น เมื่อกระทำหลังจากที่จำเลยขอถอนการค้ำประกันและขอคืนโฉนดแล้วจึงหาใช่ความประสงค์ของจำเลยไม่ ฉะนั้น การจำนองที่กระทำขึ้นโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยเพียงแต่ลงชื่อไว้ให้ แต่ไม่ประสงค์จะผูกพันต่อไปแล้ว จึงหาผูกมัดจำเลยไม่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าวนั้น
การที่โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยมากรอกข้อความขึ้นในภายหลังแล้วนำไปทำจำนองนั้น เมื่อกระทำหลังจากที่จำเลยขอถอนการค้ำประกันและขอคืนโฉนดแล้วจึงหาใช่ความประสงค์ของจำเลยไม่ ฉะนั้น การจำนองที่กระทำขึ้นโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยเพียงแต่ลงชื่อไว้ให้ แต่ไม่ประสงค์จะผูกพันต่อไปแล้ว จึงหาผูกมัดจำเลยไม่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าวนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจทำจำนองหลังเพิกถอนความยินยอม: สัญญาจำนองเป็นโมฆะ
การที่จำเลยเซ็นหนังสือมอบอำนาจที่ยังมิได้กรอกข้อความให้ไว้ในวันทำสัญญาค้ำประกัน พร้อมกับมอบโฉนดที่ดินของจำเลยให้ไว้ประกันด้วยนั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยยินยอมให้เอาที่ดินของจำเลยนั้นตราเป็นประกันชำระหนี้ได้ด้วย ฉะนั้น หากมีการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจให้ทำจำนองแม้จะกระทำภายหลังก็ถือได้ว่าข้อความนั้นตรงตามความประสงค์ของจำเลยแล้ว แต่ทั้งนี้การทำจำนองต้องกระทำเสียก่อนที่จำเลยเพิกถอนความประสงค์นั้น
การที่โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยมากรอกข้อความขึ้นในภายหลังแล้วนำไปทำจำนองนั้น เมื่อกระทำหลังจากที่จำเลยขอถอนการค้ำประกันและขอคืนโฉนดแล้วจึงหาใช่ความประสงค์ของจำเลยไม่ ฉะนั้น การจำนองที่กระทำขึ้นโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยเพียงแต่ลงชื่อให้ไว้ แต่ไม่ประสงค์จะผูกพันต่อไปแล้ว จึงหากผูกมัดจำเลยไม่ จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าวนั้น
การที่โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยมากรอกข้อความขึ้นในภายหลังแล้วนำไปทำจำนองนั้น เมื่อกระทำหลังจากที่จำเลยขอถอนการค้ำประกันและขอคืนโฉนดแล้วจึงหาใช่ความประสงค์ของจำเลยไม่ ฉะนั้น การจำนองที่กระทำขึ้นโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยเพียงแต่ลงชื่อให้ไว้ แต่ไม่ประสงค์จะผูกพันต่อไปแล้ว จึงหากผูกมัดจำเลยไม่ จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าวนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516-1517/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกฯ ตาม ม.17 ยึดทรัพย์เป็นของรัฐทันที ผู้มีสิทธิถูกจำกัดสิทธิฟ้อง และการสิ้นสุดอำนาจตัวแทน
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17ให้ทรัพย์ตกเป็นของรัฐทันที มีผลให้ที่ดินและบ้านตามคำสั่งตกเป็นของรัฐในวันออกคำสั่ง จึงไม่มีอะไรต้องปฏิบัติให้เสร็จใน 5 ปีต่อไปอีก
คำพิพากษาวินิจฉัยว่าที่ดินตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17 โจทก์ในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจฟ้อง และพิพากษายืนให้ยกฟ้อง คำสั่งนั้นมีผลบังคับเป็นกฎหมายทันทีใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ต้องรื้อขึ้นพิจารณาในคดีนี้ใหม่
ตัวแทนหมดอำนาจเมื่อตัวการตาย ไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินของตัวการหลังจากตัวการตาย
ผู้อาศัยในโรงเรือนซ่อมแซมบ้านเพื่อความสะดวกสบายของตนสิ่งที่ทำขึ้นเป็นส่วนควบตกแก่เจ้าของ เมื่อถูกเรียกบ้านคืนจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
คำพิพากษาวินิจฉัยว่าที่ดินตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17 โจทก์ในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจฟ้อง และพิพากษายืนให้ยกฟ้อง คำสั่งนั้นมีผลบังคับเป็นกฎหมายทันทีใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ต้องรื้อขึ้นพิจารณาในคดีนี้ใหม่
ตัวแทนหมดอำนาจเมื่อตัวการตาย ไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินของตัวการหลังจากตัวการตาย
ผู้อาศัยในโรงเรือนซ่อมแซมบ้านเพื่อความสะดวกสบายของตนสิ่งที่ทำขึ้นเป็นส่วนควบตกแก่เจ้าของ เมื่อถูกเรียกบ้านคืนจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574-580/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าแผงลอย การบอกเลิกสัญญา และอำนาจฟ้องคดี
จำเลยเช่าแผงลอยของโจทก์ประกอบการค้า และเสียเงินให้โจทก์ 2,000 บาท ขณะที่จำเลยมาเช่า โจทก์มีแผงลอยพร้อมอยู่แล้ว ไม่จำต้องก่อสร้างขึ้นอีกแต่อย่างใด ที่จำเลยเสียเงินให้โจทก์ ก็ได้รับประโยชน์โดยโจทก์เก็บค่าเช่าถูกกว่าผู้เช่าที่มิได้เสียเงินเงินที่จำเลยเสียให้โจทก์นั้นจึงเป็นเงินประเภทเดียวกับเงินกินเปล่าอันเป็นค่าเช่าส่วนหนึ่ง. หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่
เจ้าอาวาสวัดโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทนวัดโจทก์ มิใช่มอบอำนาจเป็นการส่วนตัว ดังนั้นแม้ภายหลังเจ้าอาวาสผู้มอบอำนาจจะถึงแก่มรณภาพลงก็หาทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจนั้นเสียไปไม่ จึงไม่จำต้องมีการมอบอำนาจกันใหม่อีก
ข้อฎีกาที่ว่า โจทก์ที่ 1 ตั้งตัวแทนทำสัญญากับโจทก์ที่ 2โดยไม่มีใบมอบอำนาจเป็นหนังสือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 130/2486)
เมื่อจำเลยหมดสิทธิที่จะเช่าและใช้ประโยชน์ในแผงลอยของโจทก์ที่ 1 ต่อไป และไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกันอีกการที่โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 รื้อแผงลอยและสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นใหม่ จะเป็นการชอบและมีอำนาจทำได้หรือไม่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับกรมการศาสนาและมหาเถรสมาคมที่จะว่ากล่าวกันเอง หาทำให้จำเลยมีสิทธิใช้ประโยชน์ในแผงลอยต่อไปอีกไม่ ฉะนั้น ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจทำสัญญากับโจทก์ที่ 2 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่ควรได้รับการวินิจฉัย
เจ้าอาวาสวัดโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทนวัดโจทก์ มิใช่มอบอำนาจเป็นการส่วนตัว ดังนั้นแม้ภายหลังเจ้าอาวาสผู้มอบอำนาจจะถึงแก่มรณภาพลงก็หาทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจนั้นเสียไปไม่ จึงไม่จำต้องมีการมอบอำนาจกันใหม่อีก
ข้อฎีกาที่ว่า โจทก์ที่ 1 ตั้งตัวแทนทำสัญญากับโจทก์ที่ 2โดยไม่มีใบมอบอำนาจเป็นหนังสือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 130/2486)
เมื่อจำเลยหมดสิทธิที่จะเช่าและใช้ประโยชน์ในแผงลอยของโจทก์ที่ 1 ต่อไป และไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกันอีกการที่โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 รื้อแผงลอยและสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นใหม่ จะเป็นการชอบและมีอำนาจทำได้หรือไม่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับกรมการศาสนาและมหาเถรสมาคมที่จะว่ากล่าวกันเอง หาทำให้จำเลยมีสิทธิใช้ประโยชน์ในแผงลอยต่อไปอีกไม่ ฉะนั้น ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจทำสัญญากับโจทก์ที่ 2 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่ควรได้รับการวินิจฉัย