พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขอถอนทนายความของจำเลยที่ถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนบริษัท และบทบาทของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความนั้นศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์แล้ว คดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจสั่งคำร้องคือศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน เป็นการแต่งตั้งตัวแทน ตาม ป.พ.พ.ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนมาตรา 797 และย่อมมีสิทธิขอถอนทนายความซึ่งเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคหนึ่ง หากทนายความเสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่คู่ความที่ตั้งตนเป็นทนายตาม ป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคสอง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความเป็นเวลาที่จำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถอนชื่อออกจากทะเบียน อันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้ว แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ก็บัญญัติว่าให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 6 เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี และมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251, 1252 กับมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา1259 ตราบใดที่ยังไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 6 ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่ 1 ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน เป็นการแต่งตั้งตัวแทน ตาม ป.พ.พ.ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนมาตรา 797 และย่อมมีสิทธิขอถอนทนายความซึ่งเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคหนึ่ง หากทนายความเสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่คู่ความที่ตั้งตนเป็นทนายตาม ป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคสอง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความเป็นเวลาที่จำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถอนชื่อออกจากทะเบียน อันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้ว แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ก็บัญญัติว่าให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 6 เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี และมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251, 1252 กับมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา1259 ตราบใดที่ยังไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 6 ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและคุณสมบัติผู้เสียหาย: การถอนฟ้องและการสิ้นสุดสถานะทนายความ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักใบตรา-ส่งเพื่อนำไปรับสินค้า แล้วปลอมเอกสารสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งสอง โดยแก้ชื่อผู้รับสินค้าจากโจทก์ที่ 1 เป็นจำเลยที่ 1 อันเป็นความเท็จ แล้วแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งสินค้าดังกล่าวของโจทก์ทั้งสอง ดังนี้ เมื่อได้ความว่าผู้รับสินค้าตามใบตราส่งคือโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่ 2 มิใช่เจ้าของสินค้าตามใบตราส่งหรือร่วมเป็นเจ้าของสินค้าตามใบตราส่งแต่อย่างใดทั้งโจทก์ที่ 2 ฟ้องในฐานะผู้แทนของโจทก์ที่ 1 มิใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัว เมื่อโจทก์ที่ 1 ถอนฟ้องคดีแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งตามคำฟ้องที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
เมื่อตัวความคือโจทก์ที่ 1 ขอถอน ศ.กับ ค. ออกจากการเป็นทนายความของตน ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบของตัวความและศาลอนุญาตแล้วย่อมมีผลในทันที ศ.กับ ค.จึงไม่ใช่ทนายความของโจทก์ที่ 1 อีกต่อไป ถือว่าศ.กับ ค. ไม่ใช่ผู้เสียหายจากคำสั่งอนุญาตให้ถอนทนาย จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกา
เมื่อตัวความคือโจทก์ที่ 1 ขอถอน ศ.กับ ค. ออกจากการเป็นทนายความของตน ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบของตัวความและศาลอนุญาตแล้วย่อมมีผลในทันที ศ.กับ ค.จึงไม่ใช่ทนายความของโจทก์ที่ 1 อีกต่อไป ถือว่าศ.กับ ค. ไม่ใช่ผู้เสียหายจากคำสั่งอนุญาตให้ถอนทนาย จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนและผลกระทบจากข้อจำกัดทางกฎหมายในการเช่าที่ราชพัสดุ
กรมธนารักษ์วางเงื่อนไขสำหรับผู้ประมูลสิทธิการเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ราชพัสดุแปลงพิพาทว่าจะต้องเป็นนิติบุคคลซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10,000,000 บาท การที่โจทก์ทำสัญญามอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นตัวแทนโจทก์ไปดำเนินการดังกล่าวจึงไม่สามารถทำได้ เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสิทธิประมูล ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่มีผลบังคับ ขณะทำสัญญามอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ยังไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกันและเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ขณะทำสัญญาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ได้ สัญญาตัวการตัวแทนต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเลิกสัญญาเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ได้บอกเลิกสัญญาแล้วเพราะการดำเนินการตามที่มอบหมายขัดต่อกฎกระทรวงการคลัง การบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมิได้กระทำเมื่องานที่ได้รับมอบหมายได้กระทำสำเร็จแล้ว หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับผิดตามสัญญาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เชิดให้จำเลยที่ 1 กระทำการในนามของตน จึงเป็นตัวการตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องการใช้ชื่อสกุลของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 มาเป็นเหตุให้ต้องรับผิดร่วมกัน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท: ผลของการลาออกและการมอบอำนาจ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช.มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนด ให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส.ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส. เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการ เปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะ ผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีหลังพ้นจากตำแหน่งกรรมการ: อำนาจฟ้องเป็นโมฆะ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนดให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส. ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส.เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้นป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้นป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ศาลต้องมีกฎหมายรองรับ กรณีไม่มีกฎหมายให้สิทธิ ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ได้ ต่อเมื่อมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนมารดาผู้ร้องออกจากการเป็นตัวแทน เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนและการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยได้รับการจัดสรรส่วนแบ่งสลากที่จะนำไปจำหน่ายจากสำนักงานสลากกินแบ่ง เรียกว่าผู้ได้รับโควต้า ซึ่งจะค้าสลากโดยตรงหรือจะมอบสลากให้ผู้อื่นไปจำหน่ายอีกต่อก็ได้ ถ้าจำเลยไปซื้อสลากจากกองสลากด้วยตนเองจำเลยจะต้องลงทุนใช้เงินส่วนตัวของจำเลยซื้อสลาก จำเลยจึงทำหนังสือมอบฉันทะซื้อสลากให้โจทก์เป็นผู้ซื้อมีระยะเวลา 1 ปี โดยตกลงกันว่าจำเลยจะได้ส่วนลดเล่มละ 8 บาท โจทก์ได้ส่วนลดเล่มละ 6 บาท โจทก์เป็นผู้ลงทุนซื้อสลากและต้องจำหน่ายสลากเอง มิได้นำมามอบให้จำเลย หากจำหน่ายไม่หมดโจทก์จะต้องขาดทุน แต่จำเลยยังได้รับส่วนลดเล่มละ 8 บาท เท่าเดิมโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงและเสี่ยงต่อการขาดทุนแต่อย่างใดข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญานอกจากโจทก์ยินยอมด้วยหรือโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่จำเลยถอนหนังสือมอบฉันทะขณะที่หนังสือนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขาดรายได้ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา การบอกเลิกสัญญาและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยได้รับการจัดสรรส่วนแบ่งสลากที่จะนำไปจำหน่ายจากสำนักงานสลากกินแบ่ง เรียกว่าผู้ได้รับโควต้า ซึ่งจะค้าสลากโดยตรงหรือจะมอบสลากให้ผู้อื่นไปจำหน่ายอีกต่อก็ได้ ถ้าจำเลยไปซื้อสลากจากกองสลากด้วยตนเองจำเลยจะต้องลงทุนใช้เงินส่วนตัวของจำเลยซื้อสลาก จำเลยจึงทำหนังสือมอบฉันทะซื้อสลากให้โจทก์เป็นผู้ซื้อมีระยะเวลา 1 ปีโดยตกลงกันว่าจำเลยจะได้ส่วนลดเล่มละ 8 บาท โจทก์ได้ส่วนลดเล่มละ 6 บาท โจทก์เป็นผู้ลงทุนซื้อสลากและต้องจำหน่ายสลากเอง มิได้นำมามอบให้จำเลย หากจำหน่ายไม่หมดโจทก์จะต้องขาดทุน แต่จำเลยยังได้รับส่วนลดเล่มละ 8 บาท เท่าเดิมโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงและเสี่ยงต่อการขาดทุนแต่อย่างใด ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญานอกจากโจทก์ยินยอมด้วยหรือโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่จำเลยถอนหนังสือมอบฉันทะขณะที่หนังสือนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขาดรายได้ไป