คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 827

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ที่เป็นโมฆะ เนื่องจากการสมยอมกันโดยไม่สุจริต และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับวัด
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย. เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า. ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย. แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า.กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด.ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส.ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด. คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท. จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท. เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์.ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป. โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน. แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี.
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี. แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด. มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย. จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่. ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน. จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505.พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต. เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย. สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย. โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์โมฆะ: การสมยอมทุจริตและขาดนิติสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์ ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505 พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสในการเพิกถอนตัวแทนจัดการศาสนสมบัติ และการตีความระเบียบการจัดการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
คำว่า"พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง" ในมาตรา 26 แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. 2486 ย่อมหมายความรวมถึงพระภิกษุในวัดอื่นด้วย
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่าง ๆ จะถอนการจัดการดังกล่าวนอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสังฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร การมอบอำนาจ และความรับผิดของผู้ถือประทานบัตร รวมถึงการคำนวณค่าเสียหาย
ใบอนุญาตร่อนแร่นั้น กฎหมายห้ามมิให้ผู้ถือเอาให้ผู้อื่นนำไปใช้ อาชญาบัตรตรวจแร่ผู้ถือให้ผู้อื่นใช้ก็ได้ โดยจำกัดให้คุ้มถึงเฉพาะลูกจ้างของผู้ถืออาชญาบัตร แต่ประทานบัตรนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังใบอนุญาตร่อนแร่หรืออาชญาบัตรตรวจแร่ไม่
การที่จำเลยผู้ถือประทานบัตรมอบอำนาจให้โจทก์ทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร มิได้โอนประทานบัตรให้โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย จำเลยก็ยังคงเป็นผู้ถือประทานบัตร หากจะมีความรับผิดเกิดขึ้นตามประทานบัตรอย่างใด จำเลยก็ยังคงรับผิดอยู่อย่างนั้น การมอบอำนาจและชักเอาประโยชน์ในกรณีเช่นนี้ หาทำให้มีผลให้ผู้ใดต้องขายผลิตผลของตนแก่ผู้รับมอบอำนาจถูกลงไม่ และก็ไม่มีผลทำให้ผู้ใดต้องซื้อแร่จากผู้รับมอบอำนาจแพงขึ้นกว่าราคาตลาดแต่ประการใด สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7-8/2509)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 ตัวการจะถอนตัวแทนเสียเวลาใดก็ได้ทุกเมื่อ เหตุนี้ แม้การถอนอำนาจจะเป็นการผิดสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจก็ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยมอบอำนาจให้ตนได้ทำเหมืองแร่ต่อไปจนครบกำหนดเวลาตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์ย่อมต้องรับรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยกะประมาณจากรายได้ของโจทก์ชั่วระยะเวลาที่โจทก์ควรจะระงับความเสียหายของโจทก์ที่จะมีต่อไป เพราะไม่สามารถทำเหมืองแร่ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ให้โจทก์ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจำเลยเป็นนิติบุคคล แม้จะจดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง ถิ่นที่นิติบุคคลมีสาขาสำนักงานจะจัดเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณที่นั้นก็ได้ เมื่อจำเลยมีสำนักงานสาขาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องคดีนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร การผิดสัญญา และการคำนวณค่าเสียหาย
ในอนุญาตร่อนแร่นั้น กฎหมายห้ามมิให้ผู้ถือเอาให้ผู้อื่นนำไปใช้ อาชญาบัตรตรวจแร่ผู้ถือให้ผู้อื่นใช้ก็ได้ โดยจำกัดให้คุ้มถึงเฉพาะลูกจ้างของผู้ถืออาชญาบัตร แต่ประทานบัตรนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังใบอนุญาตร่อนแร่หรืออาชญาบัตรตรวจแร่ไม่
การที่จำเลยผู้ถือประทานบัตรมอบอำนาจให้โจทก์ทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร มิได้โอนประทานบัตรให้โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย จำเลยก็ยังคงเป็นผู้ถือประทานบัตร หากจะมีความรับผิดเกิดขึ้นตามประทานบัตรอย่างใด จำเลยก็ยังคงรับผิดอยู่อย่างนั้น การมอบอำนาจและชักเอาประโยชน์ในกรณีเช่นนี้ หาทำให้มีผลให้ผู้ใดต้องขายผลิตผลของตนแก่ผู้รับมอบอำนาจถูกลงไม่ และก็ไม่มีผลทำให้ผู้ใดต้องซื้อแร่จากผู้รับมอบอำนาจแพงขึ้นกว่าราคาตลาดแต่ประการใด สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 - 8/2509)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 827 ตัวการจะถอนตัวแทนเสียเวลาใดก็ได้ทุกเมื่อ เหตุนี้ แม้การถอนอำนาจจะเป็นการผิดสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจก็ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยมอบอำนาจให้ตนได้ทำเหมืองแร่ต่อไปจนครบกำหนดเวลาตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์ย่อมต้องรับรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยกะประมาณจากรายได้ของโจทก์ชั่วระยะเวลาที่โจทก์ควรจะระงับความเสียหายของโจทก์ที่จะมีต่อไป เพราะไม่สามารถทำเหมืองแร่ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ให้โจทก์ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล จำเลยเป็นนิติบุคคล แม้จะจดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรค 2 ถิ่นที่นิติบุคคลมีสาขาสำนักงานจะจัดเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้นก็ได้ เมื่อจำเลยมีสำนักงานสาขาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องคดีนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาตัวแทนต้องแจ้งให้คู่สัญญาทราบ มิฉะนั้นสัญญายังมีผลผูกพัน
การตั้งตัวแทนนั้น แม้ตามกฎหมายจะให้สิทธิแก่ตัวแทนที่จะบอกเลิกสัญญาเสียในเวลาใดๆ ได้ก็ดีแต่การบอกเลิกสัญญานั้นจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 คือต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จะแสดงเจตนาแก่บุคคลภายนอกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาตัวแทนต้องแจ้งให้คู่สัญญาทราบ มิใช่บุคคลภายนอก
การตั้งตัวแทนนั้น แม้ตามกฎหมายจะให้สิทธิแก่ตัวแทนที่จะบอกเลิกสัญญาเสียเวลาใด ๆ ได้ก็ดี แต่การบอกเลิกสัญญานั้นจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 คือ ต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จะแสดงเจตนาแก่บุคคลภายนอกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-560/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับอุทธรณ์และการโต้แย้งประเด็นนอกเหนือจากที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในชั้นฎีกา
การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์คัดค้านว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นโมฆะเพราะมีจำเลย 5 ราย ไม่ได้เซ็นชื่อในใบแต่งทนายนั้น เมื่อปรากฏในสำนวนว่าศาลชั้นต้นได้เรียกจำเลยสอบสวนแล้ว ว่าจำเลยทั้ง 5 ได้เซ็นชื่อในใบแต่งทนาย มิใช่ลายเซ็นปลอมดังนี้ ศาลอุทธรณ์ ก็มิจำต้องสั่งคำร้องของของโจทก์นั้นประการใดอีก
การที่โจทก์กับทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมกัน โดยให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเรื่องปลอมหนังสือ แล้วจำเลยจะถอนฟ้องอุทธรณ์คดีนั้นโจทก์ได้ถอนฟ้องคดีอาญาแล้วและทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องอุทธรณ์ แต่ตัวจำเลยได้ทำคำร้องขอถอนทนายเสียและไม่ยอมถอนฟ้องอุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องอุทธรณ์ได้
จำเลยหลายสำนวน ซึ่งศาลชั้นต้นได้รวมพิจารณาและพิพากษาฉบับเดียวได้ยื่นฟ้องอุทธรณ์รวมมาฉบับเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นอุทธรณ์ ส่งสำเนาให้โจทก์ แม้จะปรากฏว่าคดีทั้งหมดนี้เป็นคดีสามัญเพียง 2 สำนวน นอกนั้นเป็นคดีมโนสาเร่ อันคู่ความจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้ก็ดี แต่เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านโต้แย้งความข้อนี้ในชั้นอุทธรณ์จนกระทั่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้คดีฎีกาขึ้นมาได้ เพราะไม่ต้องห้ามแล้วเช่นนี้ โจทก์จะโต้แย้งในชั้นศาลฎีกา ให้ศาลฎีกากลับไปพิจารณาถึงการรับอุทธรณ์ว่าเป็นการชอบหรือไม่ชอบไม่ได้ เพราะไม่มีประเด็นข้อนี้ในชั้นศาลฎีกาแล้ว
of 6