พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประนีประนอม และขอบเขตการฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังผิดสัญญา
คดีเดิมเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่า ทั้งโจทก์สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายไว้ด้วย แต่ต่อมาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 จำเลยยอมเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท ศาลได้พิพากษาตามยอม เมื่อจำเลยผิดสัญญาประนี-ประนอมยอมความโดยพ้นวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 แล้วจำเลยไม่ยอมออกจากทรัพย์สินที่เช่าและไม่ยอมเสียค่าเช่า โจทก์ชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในคดีก่อน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ ประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อนและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำหลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอีก
คดีเดิมเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าทั้งโจทก์สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายไว้ด้วยแต่ต่อมาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปถึงวันที่31กรกฎาคม2532จำเลยยอมเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์เดือนละ10,000บาทศาลได้พิพากษาตามยอมเมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพ้นวันที่31กรกฎาคม2532แล้วจำเลยไม่ยอมออกจากทรัพย์สินที่เช่าและไม่ยอมเสียค่าเช่าโจทก์ชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในคดีก่อนโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำฟ้องซ้อนและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, คำสั่งศาลเลื่อนคดี: กรณีศึกษาความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วมและการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้อง ของ จำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้นโดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท. ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคาร ท. มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ด้วย กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 และแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ ดังนั้นโจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่ และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เพียงไรจะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง 2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อมจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, การประวิงคดี: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173(1) หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา24 ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้สัญญาเดียวกัน แต่เหตุฟ้องต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน ศาลล่างผิดพลาด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาดังกล่าวและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเมื่อสัญญาดังกล่าวยังไม่เลิกกันแม้ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจะอ้างอิงสัญญาฉบับเดียวกันแต่มูลฟ้องเกิดจากเหตุคนละคราวกันถือว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามฟ้องซ้ำ: ประเด็นผิดสัญญาซื้อขายที่ฟ้องแล้วเด็ดขาด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน ไม่ได้ผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสามโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามทำการฉ้อฉลโอนขายที่พิพาทเพื่อหลีกเลี่ยงไม่โอนขายให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย ขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเพียงสิทธิตามสัญญา แต่สิทธิของจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย การโอนทำโดยสุจริต ขอให้ยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีเหมือนกันว่า จำเลยที่ 1เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำซ้อนในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างพิจารณา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์โดยจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือ รับสภาพหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานเป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายโดยมี ประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นดังฟ้องของโจทก์เพียงใดหรือไม่ซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์และ คดีถึงที่สุดแล้วการทีโจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกับในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงนำ หนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้นเป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อนและคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนในส่วนที่ว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์เพียงใดหรือไม่แม้จะได้ความดังกล่าวกรณีก็มิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแต่อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้นและคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้นำคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันนั้นมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นอีกจึงเป็นการ ฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีรับชำระหนี้จากกองมรดก แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ โดยจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐาน เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตาย โดยมีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นดังฟ้องของโจทก์เพียงใดหรือไม่ซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตาย กับจำเลยที่ 4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกับในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์ โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน โจทก์จึงนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้น เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อน และคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนในส่วนที่ว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ แม้จะได้ความดังกล่าว กรณีก็มิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้นและคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้นำคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันนั้นมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำซ้อน: โจทก์ต่างฐานะสิทธิ แม้คำขอบังคับเหมือนกัน ก็ไม่ถือว่าฟ้องซ้ำ
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์เข้าไปก่อสร้างอาคารเพื่อรับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าอาคารขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่ากับผู้จองเช่าอาคารส่วนคดีซึ่งจำเลยอ้างนั้นโจทก์รับมอบอำนาจจากผู้จองเช่าอาคารฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่าโจทก์คดีนี้กับคดีที่ผู้จองเช่าอาคารเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นต่างกันด้วยฐานะบุคคลและฐานะสิทธิก็แยกแตกต่างกันจึงมิใช่โจทก์เดียวกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)ส่วนคำขอบังคับท้ายฟ้องแม้จะเหมือนกันแต่ในชั้นบังคับคดีย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับซ้ำซ้อนกันอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโจทก์ต่างกัน แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน ก็ไม่ถือเป็นคดีซ้ำซ้อน
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์เข้าไปก่อสร้างอาคารเพื่อรับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าอาคาร ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่ากับผู้จองเช่าอาคาร ส่วนคดีซึ่งจำเลยอ้างนั้น โจทก์รับมอบอำนาจจากผู้จองเช่าอาคารฟ้องจำเลย ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์คดีนี้กับคดีที่ผู้จองเช่าอาคารเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ต่างกันด้วยฐานะบุคคลและฐานะสิทธิก็แยกแตกต่างกัน จึงมิใช่โจทก์เดียวกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1) ส่วนคำขอบังคับท้ายฟ้องแม้จะเหมือนกัน แต่ในชั้นบังคับคดีย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับซ้ำซ้อนกันอยู่แล้ว