พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างระหว่างมูลหนี้สัญญาซื้อขายกับมูลหนี้ละเมิด: การฟ้องเรียกราคาซื้อขายไม่เป็นการฟ้องซ้อน
ตามคำฟ้องบรรยายว่า โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อ โจทก์ก็จะทำการผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าเมื่อจำเลยในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยต่างมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์คือกระเป๋าหนังโดยโจทก์ในฐานะผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อและผู้ซื้อตอบแทนด้วยการใช้ราคา อันมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นสัญญาจ้างทำของ
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว แต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ 75 โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์ก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ 25 ของราคาทั้งหมด การจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดนั้นเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง แม้จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกินคำขอ
ในคดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฉ้อโกง และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไป ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่ทำให้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์กระเป๋าหนังที่จำเลยรับไป แต่ยังค้างชำระราคาแก่โจทก์อยู่ แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน เพราะในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกง ส่วนคดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระราคาอยู่ มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีอาญาเรื่องก่อนดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว แต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ 75 โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์ก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ 25 ของราคาทั้งหมด การจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดนั้นเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง แม้จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกินคำขอ
ในคดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฉ้อโกง และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไป ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่ทำให้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์กระเป๋าหนังที่จำเลยรับไป แต่ยังค้างชำระราคาแก่โจทก์อยู่ แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน เพราะในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกง ส่วนคดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระราคาอยู่ มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีอาญาเรื่องก่อนดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนหลังเลิกสัญญา: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องเรียกค่าก่อสร้างแต่ละงวดเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วนๆ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยมิได้ชำระให้โจทก์เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานในงวดดังกล่าว โดยยังไม่ได้เลิกสัญญาต่อกัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 6 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 3 ตามเอกสารหมาย จ.5 กับเงินที่จำเลยหักไว้ร้อยละสิบของเงินค่างวดเป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานคนละงวดคนละตอนกันทั้งเงินร้อยละสิบของเงินค่างวดที่จำเลยหักไว้ โจทก์จะได้รับคืนหรือไม่เมื่อเลิกทำงานกันก่อนที่งานจะเสร็จเรียบร้อย เป็นความรับผิดหลังจากเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วน ๆ ต่างหากจากกัน เมื่อมีการผิดนัดหรือความรับผิดในส่วนใดโจทก์ย่อมฟ้องส่วนนั้นได้ทันที และฟ้องในส่วนที่จะต้องรับผิดใหม่ได้อีกต่างหาก ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนหลังเลิกสัญญา และการแบ่งแยกความรับผิดตามสัญญา
โจทก์ผู้รับจ้างฟ้องเรียกเงินตามสัญญาก่อสร้างต่อเติมอาคารจากจำเลยเป็น 2 คดี คดีแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5ตามสัญญาก่อสร้างต่อเติมอาคาร เอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 2ตามบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมรายการก่อสร้างเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยมิได้ชำระให้โจทก์ เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานในงวดดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ผิดสัญญาในงวดที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงวดที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.5 แต่คดีนี้โจทก์ได้ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 6 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 3ตามเอกสารหมาย จ.5 กับเงินที่จำเลยหักไว้ร้อยละสิบของเงินค่างวดเป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานคนละงวดคนละตอนกันทั้งเงินร้อยละสิบของค่างวดที่จำเลยหักไว้ โจทก์จะได้รับคืนหรือไม่เมื่อได้เลิกทำงานกันไปก่อนที่งานจะเสร็จเรียบร้อย เป็นความรับผิดหลังจากเลิกสัญญาแล้วจึงเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วน ๆต่างหากจากกัน เมื่อมีการผิดนัดหรือมีความรับผิดในส่วนใด โจทก์ย่อมฟ้องส่วนที่จำเลยรับผิดได้ทันที และฟ้องในส่วนที่จะต้องรับผิดใหม่ได้อีกต่างหาก การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีมิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าก่อสร้างเป็นงวดๆ หลังเลิกสัญญายังสามารถทำได้ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยมิได้ชำระให้โจทก์เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานในงวดดังกล่าว โดยยังไม่ได้เลิกสัญญาต่อกัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 6 ตามเอกสารหมายจ.4 และงานงวดที่ 3 ตามเอกสารหมาย จ.5 กับเงินที่จำเลยหักไว้ร้อยละสิบของเงินค่างวด เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานคนละงวดคนละตอนกันทั้งเงินร้อยละสิบของเงินค่างวดที่จำเลยหักไว้ โจทก์จะได้รับคืนหรือไม่เมื่อเลิกทำงานกันก่อนที่งานจะเสร็จเรียบร้อย เป็นความรับผิดหลังจากเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วน ๆ ต่างหากจากกัน เมื่อมีการผิดนัดหรือความ-รับผิดในส่วนใด โจทก์ย่อมฟ้องส่วนนั้นได้ทันที และฟ้องในส่วนที่จะต้องรับผิดใหม่ได้อีกต่างหาก ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดิน การโอนโฉนดผิดแปลง ศาลฎีกายกปัดการวินิจฉัยฟ้องซ้อนของศาลชั้นต้น
คดีสำนวนแรกโจกท์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382เป็นการอ้างการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคดีสำนวนหลังโจทก์อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยโจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินเป็นของโจทก์เหมือนกันก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการยื่นฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน อันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนที่ศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้ววินิจฉัยว่า คดีสำนวนหลังเป็นฟ้องซ้อนให้ยกฟ้อง แต่ยังพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องคดีสำนวนหลัง คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่วินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้อนไม่ชอบ เพราะเมื่อคดีสำนวนหลังไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาคดีตามที่พิจารณาได้ความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178แต่ได้มีการโอนโฉนดผิดแปลงตามคำฟ้องคดีสำนวนหลังได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นส่วนนี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนและการซื้อขายที่ดินผิดแปลง ศาลฎีกาตัดสินว่าการฟ้องสำนวนหลังไม่เป็นการฟ้องซ้อน
คำฟ้องสำนวนแรกโจทก์อ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 อันเป็นการกล่าวอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคำฟ้องสำนวนหลังโจทก์อ้างการได้มาโดยการที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม เมื่อคำฟ้องในสำนวนคดีหลังข้ออ้างที่จะต้องวินิจฉัย ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับข้ออ้างในคำฟ้องสำนวนแรก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) จำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178 แก่โจทก์ และขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2799 แก่จำเลยที่ 2 แต่ได้มีการโอนที่ดินในโฉนดผิดแปลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 รับโอนโฉนดที่ดินสลับกันมาเป็นเพราะความเข้าใจผิด แต่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินถูกต้องตลอดมา ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้ถอนฟ้องคดีก่อนได้ แต่ฟ้องคดีหลังด้วยมูลหนี้เดิมยังเป็นฟ้องซ้อน
เมื่อคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ก็ต้องถือว่าคดีก่อนยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาการที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องจำเลยเป็นคดีอีกจึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) แม้ต่อมาคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็หาทำให้ฟ้องคดีหลังซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกันเป็นโมฆะ หากศาลยังไม่ได้จำกัดอำนาจผู้จัดการมรดกเดิม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไว้แล้ว โดยมิได้จำกัดอำนาจของผู้จัดการมรดกไว้แต่เฉพาะทรัพย์บางอย่าง ทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกในคดีใหม่ก็เป็นทรัพย์สินอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกดังกล่าวที่จะต้องดำเนินการอยู่แล้ว การที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกจึงเป็นการขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกัน ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใช้เอกสารปลอมหลอกลวงกู้เงิน – ฟ้องซ้ำ – ถอนฟ้อง – ลดโทษ
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำโฉนดที่ดินที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นโฉนดที่ดินปลอมไปใช้หลอกลวงโจทก์ร่วมเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมให้กู้เงินตามที่จำเลยทั้งสามต้องการ เป็นการร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 266 และฉ้อโกงโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2เป็นคดีนี้ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้แล้วฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) และแม้การออกเช็คอันเป็นมูลที่โจทก์ร่วมนำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวกับการใช้โฉนดที่ดินปลอมอันเป็นมูลที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2ในคดีนี้ จะเป็นการกร ะทำโดยมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วมเช่นเดียวกันแต่คดีดังกล่าวโจทก์ร่วมขอถอนฟ้องและศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) และการที่โจทก์ร่วมถอนฟ้องคดีดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโก์ในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดในสัญญาเช่า และความรับผิดในค่าน้ำค่าไฟ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาเช่าโดยไม่ชำระค่าเช่า จึงขอให้ขับไล่จำเลย ให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าเกี่ยวกับการเช่าดังกล่าว โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาว่าโจทก์ยอมให้จำเลยใช้น้ำประปาและไฟฟ้า และจำเลยต้องเป็นผู้ชำระเงินค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าที่โจทก์ได้ชำระแทนไป ข้อตกลงเรื่องโจทก์ยินยอมให้จำเลยใช้น้ำประปาและไฟฟ้า โดยจำเลยเป็นผู้ชำระเงิน เป็นข้อตกลงต่างหากจากสัญญาเช่า มิใช่เรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรก ไม่เป็นฟ้องซ้อน หุ้นส่วนที่จะฟ้องบังคับบุคคลภายนอกในกิจการค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญได้จะต้องเป็นผู้มีชื่อในกิจการค้านั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1049 การฟ้องคดีจึงไม่จำเป็นต้องลงชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน แต่ไม่ปรากฏชื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในสัญญาเช่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจถือสิทธิใด ๆ แก่จำเลยในการเช่านั้น และไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.