พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดในสัญญาเช่า และความรับผิดในค่าน้ำค่าไฟ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาเช่าโดยไม่ชำระค่าเช่า จึงขอให้ขับไล่จำเลย ให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าเกี่ยวกับการเช่าดังกล่าว โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาว่าโจทก์ยอมให้จำเลยใช้น้ำประปาและไฟฟ้า และจำเลยต้องเป็นผู้ชำระเงินค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าที่โจทก์ได้ชำระแทนไป ข้อตกลงเรื่องโจทก์ยินยอมให้จำเลยใช้น้ำประปาและไฟฟ้า โดยจำเลยเป็นผู้ชำระเงิน เป็นข้อตกลงต่างหากจากสัญญาเช่า มิใช่เรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรก ไม่เป็นฟ้องซ้อน หุ้นส่วนที่จะฟ้องบังคับบุคคลภายนอกในกิจการค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญได้จะต้องเป็นผู้มีชื่อในกิจการค้านั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1049 การฟ้องคดีจึงไม่จำเป็นต้องลงชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน แต่ไม่ปรากฏชื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในสัญญาเช่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจถือสิทธิใด ๆ แก่จำเลยในการเช่านั้น และไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน & อำนาจศาลอุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งไม่รับฟ้อง: โจทก์ไม่เป็นโจทก์ในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)ซึ่งจะเป็นฟ้องซ้อนนั้น โจทก์ในคดีแรกต้องเป็นโจทก์ในคดีหลังด้วยเมื่อโจทก์ในคดีนี้ของศาลแพ่งไม่ได้เป็นโจทก์ในคดีก่อนของศาลจังหวัดชลบุรี ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน คดีนี้เดิมศาลแพ่งมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ ต่อมาได้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นแล้วมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ได้รับฟ้อง เป็นไม่รับฟ้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลแพ่งที่เพิกถอนคำสั่งไม่รับฟ้องให้ศาลชั้นต้นรับฟ้อง ดังนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นพ้องกับศาลแพ่งที่สั่งไม่รับฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1) ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลแพ่งได้รับฟ้องของโจทก์นัดชี้สองสถานกำหนดให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม โจทก์เสียค่าขึ้นศาลครบแล้ว เป็นการรับฟ้องโจทก์ไว้โดยอาศัยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) แล้วก็หาชอบที่จะใช้ดุลพินิจเพิกถอนคำสั่งของตนไม่ ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งศาลแพ่งที่ไม่รับฟ้องโจทก์เสียได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937-4938/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำในประเด็นเดียวกัน แม้มีการเพิ่มข้อหา ย่อมเป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีหนึ่งในขณะที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในเรื่องเดียวกันอีกแม้จะเพิ่มข้อหาและมีคำขออื่นเพิ่มเติมด้วย มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทั้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(1) การที่โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนหลังจากฟ้องคดีนี้ ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในคดีใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน, และขอบเขตอำนาจฟ้องแย้ง
ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินค่าสุราสำรอง โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ค่าส่วนแบ่งกำไรสุทธิและได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ไปแล้วประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยให้การว่าชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้วประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้โจทก์ครบถ้วนหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี
การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้
จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี
การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้
จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน, และอำนาจฟ้องแย้งในคดีแพ่ง
ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินค่าสุราสำรอง โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ค่าส่วนแบ่งกำไรสุทธิและได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ไปแล้วประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยให้การว่าชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้วประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้โจทก์ครบถ้วนหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้ สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีพินัยกรรมซ้ำโดยทายาทต่างคนกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องแทนกัน
คดีก่อน ท. ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับเดียวกันนี้เป็นโมฆะ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ในคดีนี้ได้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับ ท.ทั้งไม่ปรากฏว่าท. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอันจะถือว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนทายาทรวมทั้งโจทก์ด้วย การที่ทายาทคนหนึ่งได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วจะถือว่าเป็นการฟ้องคดีแทนทายาทคนอื่น ๆ ด้วย หาได้ไม่ ฉะนั้นโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางอายุความและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ ศาลไม่อนุญาตให้เจ้าของที่ดินรื้อถอนเอง
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปีทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ เมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยึดทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390 ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ การรุกล้ำทางเดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ เมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยึดทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390
ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ
ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การยื่นฟ้องคดีเดิมและคดีใหม่โดยมีมูลเหตุเดียวกัน
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางศาลจังหวัดนครสวรรค์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23 มิถุนายน 2531ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า บำเหน็จ ค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานกลาง ศาลจังหวัดนครสวรรค์จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกันโจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิม และไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องซ้อน: ประเด็นข้อพิพาทต่างกันและข้ออ้างใหม่ในชั้นฎีกา
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน1ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายคดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่าละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน1ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกคดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกันฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.