พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีผู้จัดการมรดกแตกต่างกัน ทั้งข้อหาและเหตุการณ์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้มีคดีก่อน
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก ไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่า ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ.
ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 และศาลฎีกาย่อมไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.
ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 และศาลฎีกาย่อมไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีจัดการมรดก: ประเด็นข้อพิพาทคนละกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่า ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกา ไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีผู้จัดการมรดก ประเด็นข้อพิพาทต่างกัน ห้ามฎีกาเรื่องฟ้องซ้ำที่เพิ่งยกขึ้น
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก ไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่าละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันซ้ำโดยพนักงานอัยการและโจทก์เอกชน
พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับพวกพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้ต่างฟ้องกล่าวหาจำเลยลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวกัน แม้ข้อความทีฟ้องแต่ละคดีจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันก็ตาม แต่บทความที่โจทก์ในคดีนี้และพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้อง ลงในหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์โจทก์ในอีกคดีหนึ่งกับโจทก์ในคดีนี้ต่างเป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),ฆ28(1) จึงเป็นพนักงานอัยการโจทก์ด้วยกัน การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันโดยโจทก์คนละคนแต่เป็นพนักงานอัยการด้วยกัน
แม้ข้อความที่พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับโจทก์คดีนี้ต่างก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง: การพิพาทสิทธิที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดและขัดขวางการครอบครอง
คดีแรก พ.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินกับโจทก์และส. ได้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายจำเลยในคดีนี้ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าว โดยถูกศาลเรียกให้เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วยคนหนึ่งฟ้องว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขัดขวางไม่ให้โจทก์เก็บค่าเช่าห้องแถวพิพาทขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับในคดีทั้งสองแตก ต่างกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 173(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีเลิกจ้างยังไม่ถึงที่สุด การฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาเป็นมูลหนี้ต่างหาก
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ขอให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาที่จำเลยค้างชำระ มูลหนี้ที่ฟ้องในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นมูลหนี้ต่างรายกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
ฟ้องซ้อนเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
ฟ้องซ้อนเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องค่าล่วงเวลาไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีเลิกจ้างยังไม่ถึงที่สุด เพราะเป็นมูลหนี้ต่างรายกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ขอให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาที่จำเลยค้างชำระ มูลหนี้ที่ฟ้องในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นมูลหนี้ต่างรายกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ฟ้องซ้อนเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่า: การโอนขายที่ดินเช่าต้องแจ้งผู้เช่าก่อน ผู้รับโอนมีหน้าที่ต้องขายคืน
เดิม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 อ้างว่าไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขณะคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เป็นคดีใหม่โดยเพิ่มข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันแสดงเจตนาลวงโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 7 โดยสมยอมขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ ดังนี้มูลคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทั้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายเดียวกัน ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173(1) การที่โจทก์ถอนฟ้อง คดีเดิม หลังจากฟ้องคดีใหม่ ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ในคดีใหม่ได้. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 569 และ พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 29 สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหรือนาที่ให้เช่าผู้รับโอนจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่านาพิพาทโอนขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 6 โดยไม่ได้แจ้งการขายให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โอนขายนาพิพาทต่อไปให้จำเลยที่ 7 จำเลยที่ 7 ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มีอยู่ต่อโจทก์ทั้งสองผู้เช่านาพิพาทโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะซื้อนาจากจำเลยที่ 7 ตามราคาและวิธีการชำระเงินตามที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซื้อไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเรียกค่าเสียหายจากค่าเช่า/ขายทรัพย์
คดีเดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 14 โฉนด พร้อมกับห้องแถว 14 ห้องและให้โอนที่ดินพร้อมกับห้องแถวดังกล่าวเป็นของโจทก์ โดยจำเลยได้ปลอมใบมอบอำนาจว่าโจทก์ที่ 1 ยกที่ดินและห้องแถวให้จำเลยโดยเสน่หาแล้ว จำเลยได้นำใบมอบอำนาจปลอมดังกล่าวไปทำการโอนที่ดินและห้องแถวเป็นของจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาแล้วโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้กล่าวอ้างว่าห้องแถว 6 ห้องในจำนวน14 ห้องที่โจทก์ฟ้องดังกล่าวจำเลยได้นำออกให้คนอื่นเช่าเก็บค่าเช่าเป็นผลประโยชน์ของจำเลย ขอให้จำเลยนำค่าเช่าไปวางศาลหรือธนาคารของรัฐและถ้าหากมีการเช่าห้องแถวจำนวน 6 ห้องในอนาคตก็ให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าในอนาคตให้โจทก์ ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดโดยให้จำเลยนำเงินค่าเช่าในอนาคตไปวางศาลหรือธนาคารของรัฐและถ้าหากมีการขายห้องแถว 6 ห้องดังกล่าวก็ให้จำเลยคืนเงินที่ขายได้ให้โจทก์ โดยระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดให้นำไปวางศาลหรือธนาคารของรัฐนั้น เห็นว่าเงินค่าเช่าและค่าขายทรัพย์พิพาทได้ในอนาคตที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยนำมาวางศาลในคดีนี้ก็คือค่าเสียหายและราคาทรัพย์อันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยโอนที่ดินและห้องแถวพิพาทในคดีเดิมนั่นเอง ซึ่งค่าเสียหายและค่าขายทรัพย์ดังกล่าวตามที่ฟ้องในคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยโอนที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของตน สิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกันกับข้ออ้างของโจทก์ในคดีเดิม จึงเป็นเรื่องเดียวกันโจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)