คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การฟ้องคดีใหม่ระหว่างที่คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกัน โดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดเจนขึ้นดังนี้สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดของจำเลยแต่การที่โจทก์ฟ้องคดีใหม่ในระหว่างที่คดีเดิมอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกานั้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3129/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน: สิทธิเจ้าของร่วมสินสมรสถูกโต้แย้งในคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้วขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่าผู้ร้องเป็นภรรยาของจำเลย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง จำเลยนำไปขายฝากโดยผู้ร้องไม่ทราบ เมื่อผู้ร้องทราบได้ฟ้องจำเลยขอให้ลงชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ก่อนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจะหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้ร้องได้ขอไถ่การขายฝากแต่โจทก์ไม่ให้ไถ่ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และจำเลยว่าสมคบกันไม่ยอมให้ผู้ร้องไถ่ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา และที่จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์เป็นการฉ้อฉลโดยจำเลยมีเจตนาจะให้ผิดสัญญาเพื่อโจทก์จะได้ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารคือผู้ร้อง จึงขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยเพื่อขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) คำร้องสอดของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการตั้งสิทธิเข้ามาในฐานะเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม เป็นปฏิปักษ์แก่ทั้งโจทก์และจำเลย หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์โดยเฉพาะไม่ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดไว้ โจทก์จำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ทั้งสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์จำเลยโต้แย้งนี้ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์จำเลยต่อศาลไว้ก่อน คดีอยู่ระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3129/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน: สิทธิสินสมรสและการฉ้อฉลสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้วขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่าผู้ร้องเป็นภรรยาของจำเลย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง จำเลยนำไปขายฝากโดยผู้ร้องไม่ทราบ เมื่อผู้ร้องทราบได้ฟ้องจำเลยขอให้ลงชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ก่อนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจะหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้ร้องได้ขอไถ่การขายฝากแต่โจทก์ไม่ให้ไถ่ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และจำเลยว่าสมคบกันไม่ยอมให้ผู้ร้องไถ่ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา และที่จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์เป็นการฉ้อฉลโดยจำเลยมีเจตนาจะให้ผิดสัญญาเพื่อโจทก์จะได้ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารคือผู้ร้อง จึงขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยเพื่อขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) คำร้องสอดของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการตั้งสิทธิเข้ามาในฐานะเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม เป็นปฏิปักษ์แก่ทั้งโจทก์และจำเลย หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์โดยเฉพาะไม่ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดไว้ โจทก์จำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ทั้งสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์จำเลยโต้แย้งนี้ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์จำเลยต่อศาลไว้ก่อน คดีอยู่ระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การเรียกร้องค่าเช่าในคดีเดิมที่ฟ้องขับไล่ ย่อมขัดต่อหลักการห้ามฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโดยอ้างว่าจำเลยอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดแล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าหรือค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ขาดประโยชน์ไม่ได้ใช้ที่ดินดังนี้ เป็นการอาศัยมูลกรณีที่กล่าวว่าจำเลยอยู่ในที่ดินโจทก์โดยละเมิดซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้จากจำเลยในคดีเดิมนั่นเองแม้การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนนี้ จะเป็นประเด็นที่เพิ่มจากประเด็นในคดีเดิมแต่มูลกรณีที่จะเรียกร้องได้ก็ต้องอาศัยประเด็นตามฟ้องเดิมซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(1) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่จากมรดกที่ฟ้องแล้วซ้ำอีก แม้ฟ้องเพิ่มจำเลยใหม่ก็ยังห้าม
คดีแรก อ.อ้างว่าเป็นผู้จัดการมรดกของฉ. ได้ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่เช่าซึ่งเป็นที่ดินมรดกศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เพราะไม่เชื่อว่าพินัยกรรมที่ อ.อ้างเป็นพินัยกรรมที่ฉ.ทำขึ้นอ. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขณะคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ฉ. มาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทอีก ที่ อ. ฟ้องคดีแรกนั้นถือได้ว่ากระทำไปในฐานะตัวแทนของทายาทของ ฉ. หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นตัวแทนของโจทก์นั่นเอง เพราะฉะนั้นฟ้องสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ กลับกลายเป็นฟ้องที่ไม่ต้องห้ามไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในความผิดหมิ่นประมาท การกระทำความผิดทั่วราชอาณาจักรไม่ถือเป็นความผิดต่างกรรม
กรณีจะเป็นความผิดต่างกรรมหรือไม่ ย่อมอยู่ที่การกระทำของจำเลย การที่ความผิดเกิดทั่วราชอาณาจักร แต่โจทก์ทราบการกระทำความผิดในสถานที่หนึ่ง แล้วมาทราบความผิดอันเดียวกันในอีกสถานที่หนึ่งนั้น มิใช่การกระทำของจำเลย จะถือเอาเหตุดังกล่าวเป็นความผิดต่างกรรมเพิ่มขึ้นมิได้
โจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลหนึ่ง และศาลนั้นประทับฟ้องคดีอยู่ระหว่างพิจารณาแล้ว โจทก์จะฟ้องจำเลยนั้นในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนหรือไม่: ประเด็นต่างกัน แม้เกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 6 ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยที่ 4 โอนขายให้จำเลยที่ 6 ประเด็นในคดีก่อนมีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยที่ 6 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทอันเป็นที่บางส่วนตาม น.ส. 3 ที่จำเลยที่ 4 โอนขายให้จำเลยที่ 6 นั้น เป็นของโจทก์ จำเลยที่ 4 ได้ น.ส. 3 มาโดยมิชอบ ประเด็นในคดีนี้มีว่าจำเลยที่ 4 ได้ น.ส. 3 มาโดยมิชอบหรือไม่ กับประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แม้ประเด็นในคดีนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อน แต่ก็มิใช่ประเด็นเดียวกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่ฟ้องซ้อนกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนหรือไม่: คดีที่ดินพิพาท ประเด็นต่างกัน แม้เกี่ยวข้องกับการครอบครองและโอนสิทธิ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 6 ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยที่ 4 โอนขายให้จำเลยที่ 6 ประเด็นในคดีก่อนมีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยที่ 6 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทอันเป็นที่บางส่วนตามน.ส.3 ที่จำเลยที่ 4 โอนขายให้จำเลยที่ 6 นั้น เป็นของโจทก์ จำเลยที่ 4 ได้ น.ส.3 มาโดยมิชอบ ประเด็นในคดีนี้มีว่าจำเลยที่ 4 ได้ น.ส.3 มาโดยมิชอบหรือไม่ กับประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 3 แม้ประเด็นในคดีนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อน แต่ก็มิใช่ประเด็นเดียวกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่ฟ้องซ้อนกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427-2428/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน-การบอกเลิกสัญญา-การลดค่าจ้าง: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้อง, สิทธิบอกเลิกสัญญา, และการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
สำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างก่อสร้างอาคารพักอาศัยจากจำเลยผู้ว่าจ้าง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจ้าง จำเลยเสียหายและได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าปรับและค่าเสียหาย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยฟ้องโจทก์สำนวนหลังฐานผิดสัญญาจ้างนั้นเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว ดังนี้ สำนวนหลังเป็นฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) เพราะเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องเดิมที่ได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว การที่จำเลยสงวนสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมไว้ในฟ้องแย้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษขึ้นแต่ประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยฟ้องสำนวนหลังให้ จึงเป็นการไม่ชอบ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้หยิบยกขึ้น ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
สัญญามีกำหนดเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จเป็นงวดไว้แน่นอน และกำหนดเบี้ยปรับไว้เป็นรายวันในกรณีมีการผิดสัญญา แต่ตามที่ปฏิบัติต่อกันเมื่อโจทก์ก่อสร้างล่วงเลยเวลาที่กำหนด จำเลยก็ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินตลอดมา ไม่ได้มีการทักท้วงหรือปรับตามสัญญาแต่อย่างใด แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาจะถือเอากำหนดเวลาก่อสร้างเป็นสารสำคัญ แม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ก่อสร้างให้เสร็จให้เสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังก่อสร้างไม่เสร็จอีก จำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาได้
การชำรุดบกพร่องของการก่อสร้างงวดที่ได้รับมอบงานไปแล้ว จำเลยได้แต่จะเรียกค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 แต่จะยกมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นลดเงินค่าจ้างโจทก์ลงมา มีผลเท่ากับให้จำเลยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน ในขั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นนี้เพียงว่าโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามฟ้อง เพราะจำเลยนำสืบมีหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยดังฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยมิได้กล่าวโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายตอนใดผิดถูกอย่างใด เหตุใดจึงควรได้ค่าเสียหายตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ในชั้นฎีกาจำเลยจึงได้แสดงรายละเอียดที่จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427-2428/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน-การบอกเลิกสัญญา-ความเสียหายจากการก่อสร้างชำรุด: ศาลฎีกาพิพากษาการฟ้องซ้ำซ้อนเป็นเรื่องที่กฎหมายห้าม และชี้ว่าการบอกเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามขั้นตอน
สำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างก่อสร้างอาคารพักอาศัยจากจำเลยผู้ว่าจ้าง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจ้าง จำเลยเสียหายและได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าปรับและค่าเสียหาย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยฟ้องโจทก์สำนวนหลังฐานผิดสัญญาจ้างนั้นเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว ดังนี้ สำนวนหลังเป็นฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) เพราะเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องเดิมที่ได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว การที่จำเลยสงวนสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมไว้ในฟ้องแย้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษขึ้นแต่ประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยฟ้องสำนวนหลังให้ จึงเป็นการไม่ชอบ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้หยิบยกขึ้น ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
สัญญามีกำหนดเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จเป็นงวดไว้แน่นอน และกำหนดเบี้ยปรับไว้เป็นรายวันในกรณีมีการผิดสัญญา แต่ตามที่ปฏิบัติต่อกันเมื่อโจทก์ก่อสร้างล่วงเลยเวลาที่กำหนด จำเลยก็ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินตลอดมา ไม่ได้มีการทักท้วงหรือปรับตามสัญญาแต่อย่างใด แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาจะถือเอากำหนดเวลาก่อสร้างเป็นสารสำคัญ แม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้ จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ก่อสร้างให้เสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังก่อสร้างไม่เสร็จอีก จำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาได้
การชำรุดบกพร่องของการก่อสร้างงวดที่ได้รับมอบงานไปแล้วจำเลยได้แต่จะเรียกค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600 แต่จะยกมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นลดเงินค่าจ้างโจทก์ลงมา มีผลเท่ากับให้จำเลยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นนี้เพียงว่าโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามฟ้อง เพราะจำเลยนำสืบมีหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยดังฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยมิได้กล่าวโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อกฎหมายตอนใดผิดถูกอย่างใด เหตุใดจึงควรได้ค่าเสียหายตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ในชั้นฎีกาจำเลยจึงได้แสดงรายละเอียดที่จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 10