พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อสินสมรส: กรณีแบ่งทรัพย์มรดก
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ให้แบ่งมรดก คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วยนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะจำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ก็ด้วยการที่ศาลชั้นต้นเรียกให้เข้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนที่เป็นของจำเลยที่ 2 ให้แก่ทายาท ต่อมาจำเลยที่ 2 และทายาทอื่น ๆ ได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์ทั้งหมดรวมทั้งสิ้นของจำเลยที่ 2 ให้แก่ทายาทรวมทั้งตัวของจำเลยที่ 2 ด้วยโดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ กำหนดส่วนที่ทายาทแต่ละคนจะได้รับ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าทายาทของผู้ตายไม่ถือว่าจะต้องแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม แต่หากต่างตกลงแบ่งกันตามที่เห็นสมควร เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันได้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และแต่ละฝ่ายจึงได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้น และถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมตกลงด้วยในฐานะที่เป็นภรรยาของผู้ตายและฐานะเป็นทายาทด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ยกสินสมรสส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดสำหรับการยกให้
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนที่เป็นของจำเลยที่ 2 ให้แก่ทายาท ต่อมาจำเลยที่ 2 และทายาทอื่น ๆ ได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์ทั้งหมดรวมทั้งสิ้นของจำเลยที่ 2 ให้แก่ทายาทรวมทั้งตัวของจำเลยที่ 2 ด้วยโดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ กำหนดส่วนที่ทายาทแต่ละคนจะได้รับ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าทายาทของผู้ตายไม่ถือว่าจะต้องแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม แต่หากต่างตกลงแบ่งกันตามที่เห็นสมควร เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันได้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และแต่ละฝ่ายจึงได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้น และถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมตกลงด้วยในฐานะที่เป็นภรรยาของผู้ตายและฐานะเป็นทายาทด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ยกสินสมรสส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดสำหรับการยกให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366-2367/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเบี้ยปรับกับเงินมัดจำจากสัญญาซื้อขายไม้ จำเลยผิดสัญญาเดียวกัน
คดีแรกโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะขายไม้ให้โจทก์แล้วจำเลยผิดสัญญาขอให้จำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาเป็นค่าเสียหายให้โจทก์ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องจำเลยอีกว่าผิดสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำให้โจทก์ ทั้งสองคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ ฟ้องของโจกท์ในคดีแรกที่เรียกเบี้ยปรับและในคดีหลังที่เรียกเงินมัดจำนั้นมีประเด็นพิพาทอย่างเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ มูลเหตุที่จะฟ้องคดีทั้งสองก็เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาครั้งเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องรวมกันมาได้ในคดีแรก ฉะนั้น การฟ้องเรียกเงินมัดจำในคดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีขับไล่: เจ้าของรวมฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ
โจทก์กับ ส.ท.ภ. และ ล. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน จำเลยเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ส. ครบกำหนดแล้ว ส.ฟ้องขับไล่จำเลย ดังนี้ เป็นเรื่องที่ ส.เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1356, 1359 ประกอบด้วยมาตรา 302 กล่าวคือเจ้าของรวมแต่ละคนมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนโดยไม่จำต้องไห้เจ้าของรวมทุกคนร่วมกันฟ้อง และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมหมดทุกคน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีแทน เมื่อ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าแล้ว และคดีอยู่ระหว่างพิจารณา โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีที่ ส.ฟ้องนั้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนนี้ จำเลยมิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: เจ้าของรวมฟ้องขับไล่จำเลยเรื่องเดียวกันซ้ำ ศาลพิพากษายกฟ้อง
โจทก์กับ ส.ท.ภ. และ ล. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน จำเลยเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ส.ครบกำหนดแล้วส. ฟ้องขับไล่จำเลยดังนี้ เป็นเรื่องที่ ส. เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1356,1359 ประกอบด้วยมาตรา 302 กล่าวคือเจ้าของรวมแต่ละคนมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนโดยไม่จำต้องให้เจ้าของรวมทุกคนร่วมกันฟ้อง และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมหมดทุกคน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีแทนเมื่อ ส. ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าแล้วและคดีอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีที่ ส. ฟ้องนั้นอีกจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนนี้ จำเลยมิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่? ศาลฎีกาชี้ว่าคดีเดิมและคดีใหม่มีมูลเหตุต่างกัน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าถือเป็นคนละเรื่องกับคดีขอแบ่งทรัพย์
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอแบ่งห้องพิพาทกึ่งหนึ่งอ้างว่า เป็นหุ้นส่วนกัน คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์มาฟ้องคดีนี้โดยกล่าวว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีผู้จะเช่าตึกพิพาทโดยให้เงินล่วงหน้า 100,000 บาท ค่าเช่าเดือนละ 150 บาท จำเลยจะให้เช่าโดยไม่ยอมแบ่งเงินล่วงหน้าและค่าเช่าให้โจทก์ โจทก์เสนอขอรับส่วนแบ่งผู้เช่าจึงระงับการเช่าไปภายหลังจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าอยู่ในห้องพิพาทเป็นเหตุให้เสื่อมประโยชน์ของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินล่วงหน้าในการเข้าอยู่ในห้องพิพาท 50,000 บาท กับผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้เดือนละ75 บาท ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องในคดีหลังนี้ต่างกับคดีก่อน คดีก่อนโจทก์ขอแบ่งตึกพิพาทอ้างว่าเป็นหุ้นส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ควรจะได้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยที่ 2 อยู่ ซึ่งเป็นมูลกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนและโจทก์ไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ ทั้งคดีหลังนี้ยังมีข้อหาและคำขอบังคับเอากับจำเลยที่ 2 อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงไม่ใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการแย่งทำนา หลังคดีเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่สิ้นสุด ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า ป. ทำพินัยกรรมยกที่นาพิพาทให้โจทก์จำเลยไปขอรับมรดกที่นารายนี้ โดยแจ้งเท็จว่าจำเลยยังเป็นภริยาของ ป. อยู่ เจ้าพนักงานหลงเชื่อ ได้โอนนาพิพาทให้เป็นของจำเลยขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่านิติกรรมโอนมรดกที่นาพิพาทเป็นโมฆะและเพิกถอนเสีย และพิพากษาแสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองตามส่วนในพินัยกรรม คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ว่า โจทก์จะทำนาในที่พิพาทซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้วว่าเป็นของโจทก์ จำเลยไม่ยอมให้ทำ และจำเลยเข้าแย่งทำนาเสียทั้งหมด ขอให้บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ฟ้องคดีเรื่องใหม่เป็นฟ้องอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาใช่เป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องในคดีก่อนไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2515)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการแย่งทำนา แม้คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า ป. ทำพินัยกรรมยกที่นาพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปขอรับมรดกที่นารายนี้ โดยแจ้งเท็จว่าจำเลยยังเป็นภริยาของ ป. อยู่ เจ้าพนักงานหลงเชื่อ ได้โอนนาพิพาทให้เป็นของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่านิติกรรมโอนมรดกที่นาพิพาทเป็นโมฆะ และเพิกถอนเสีย และพิพากษาแสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองตามส่วนในพินัยกรรม คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ว่า โจทก์จะทำนาในที่พิพาทซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้วว่าเป็นของโจทก์ จำเลยไม่ยอมให้ทำ และจำเลยเข้าแย่งทำนาเสียทั้งหมด ขอให้บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ฟ้องคดีเรื่องใหม่เป็นฟ้องอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาใช่เป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องในคดีก่อนไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคาร สิทธิครอบครองหลังบอกเลิกสัญญา การละเมิดสิทธิ
ฟ้องคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องนางพรรณเพ็ญแขเป็น จำเลย กล่าวหาว่า นางพรรณเพ็ญแขผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ โจทก์ได้รับความเสียหายขอเรียกค่าเสียหาย ส่วนฟ้องคดีนี้โจทก์ฟ้องนายฮักเมี้ยกับพวก 4 คนเป็นจำเลย กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่ได้บุกรุกเข้ามารบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในตลาดท่าเตียนที่โจทก์เช่ามาจากนางพรรณเพ็ญแขเรียกค่าเสียหายที่โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างจากผู้มาเช่าใหม่ได้ และขอห้ามจำเลยทั้งสี่เข้าเกี่ยวข้องและให้ขนย้ายออกไป ดังนี้ ฟ้องโจทก์ในคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509กับฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ เป็นฟ้องคนละเรื่อง คนละประเด็นและจำเลยคนละคนกัน แม้ศาลจะอนุญาตให้นางพรรณเพ็ญแขจำเลยในคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วยก็ตาม ก็เป็นฟ้องไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อการปลูกสร้างอาคารซึ่งผู้เช่ามีหน้าที่ชำระเงินค่าตอบแทนและค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่า และผู้เช่าได้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะเช่าทรัพย์ คือ ผู้เช่าเป็นผู้เช่าและครอบครองทรัพย์สินของผู้ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยอย่างผู้เช่าธรรมดาแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะเป็นพิเศษ คือเป็นเรื่องผู้เช่าเช่าที่ดินของผู้ให้เช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารให้ผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้สิทธิต่าง ๆ ภายใต้บังคับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น เมื่อมีข้อสัญญากำหนดไว้ด้วยว่าถ้าผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที และยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองยึดถือกรรมสิทธิ์บรรดาทรัพย์สินที่อยู่ในสถานที่เช่าได้ทันทีเมื่อผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ผู้เช่าย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและอาคารของผู้ให้เช่าได้อีกต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ให้เช่าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าอยู่แล้วทันที โดยไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องมอบสิทธิครอบครองให้ผู้ให้เช่าเสียก่อน และภายหลังแต่เวลานั้นการกระทำของบุคคลอื่นใดโดยอาศัยอำนาจของผู้ให้เช่า ย่อมไม่เป็นการละเมิดสิทธิครอบครองของผู้เช่า
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13 และครั้งที่ 14/2513 เฉพาะปัญหาเป็นละเมิดสิทธิครอบครองหรือไม่)
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อการปลูกสร้างอาคารซึ่งผู้เช่ามีหน้าที่ชำระเงินค่าตอบแทนและค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่า และผู้เช่าได้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะเช่าทรัพย์ คือ ผู้เช่าเป็นผู้เช่าและครอบครองทรัพย์สินของผู้ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยอย่างผู้เช่าธรรมดาแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะเป็นพิเศษ คือเป็นเรื่องผู้เช่าเช่าที่ดินของผู้ให้เช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารให้ผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้สิทธิต่าง ๆ ภายใต้บังคับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น เมื่อมีข้อสัญญากำหนดไว้ด้วยว่าถ้าผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที และยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองยึดถือกรรมสิทธิ์บรรดาทรัพย์สินที่อยู่ในสถานที่เช่าได้ทันทีเมื่อผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ผู้เช่าย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและอาคารของผู้ให้เช่าได้อีกต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ให้เช่าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าอยู่แล้วทันที โดยไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องมอบสิทธิครอบครองให้ผู้ให้เช่าเสียก่อน และภายหลังแต่เวลานั้นการกระทำของบุคคลอื่นใดโดยอาศัยอำนาจของผู้ให้เช่า ย่อมไม่เป็นการละเมิดสิทธิครอบครองของผู้เช่า
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13 และครั้งที่ 14/2513 เฉพาะปัญหาเป็นละเมิดสิทธิครอบครองหรือไม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคาร สิทธิครอบครองเมื่อผิดสัญญา การละเมิดสิทธิครอบครอง
ฟ้องคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องนางพรรณเพ็ญแขเป็นจำเลยกล่าวหาว่านางพรรณเพ็ญแขผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ โจทก์ได้รับความเสียหายขอเรียกค่าเสียหาย ส่วนฟ้องคดีนี้ โจทก์ฟ้องนายฮักเมี้ยกับพวก 4 คนเป็นจำเลย กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่ได้บุกรุกเข้ามารบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในตลาดท่าเตียนที่โจทก์เช่ามาจากนางพรรณเพ็ญแขเรียกค่าเสียหายที่โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างจากผู้มาเช่าใหม่ได้ และขอห้ามจำเลยทั้งสี่เข้าเกี่ยวข้องและให้ขนย้ายออกไป ดังนี้ ฟ้องโจทก์ในคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 กับฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นฟ้องคนละเรื่อง คนละประเด็น และจำเลยคนละคนกัน แม้ศาลจะอนุญาตให้นางพรรณเพ็ญแขจำเลยในคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วยก็ตาม ก็เป็นฟ้องไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อการปลูกสร้างอาคารซึ่งผู้เช่ามีหน้าที่ชำระเงินค่าตอบแทนและค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่า และผู้เช่าได้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะเช่าทรัพย์ คือ ผู้เช่าเป็นผู้เช่าและครอบครองทรัพย์สินของผู้ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยอย่างผู้เช่าธรรมดาแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะเป็นพิเศษ คือเป็นเรื่องผู้เช่าเช่าที่ดินของผู้ให้เช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารให้ผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้สิทธิต่าง ๆ ภายใต้บังคับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น เมื่อมีข้อสัญญากำหนดไว้ด้วยว่าถ้าผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที และยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองยึดถือกรรมสิทธิ์บรรดาทรัพย์สินที่อยู่ในสถานที่เช่าได้ทันทีเมื่อผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ผู้เช่าย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและอาคารของผู้ให้เช่าได้อีกต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ให้เช่าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าอยู่แล้วทันทีโดยไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องมอบสิทธิครอบครองให้ผู้ให้เช่าเสียก่อนและภายหลังแต่เวลานั้นการกระทำของบุคคลอื่นใดโดยอาศัยอำนาจของผู้ให้เช่าย่อมไม่เป็นการละเมิดสิทธิครอบครองของผู้เช่า (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13 และครั้งที่ 14/2513 เฉพาะปัญหาเป็นละเมิดสิทธิครอบครองหรือไม่)
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อการปลูกสร้างอาคารซึ่งผู้เช่ามีหน้าที่ชำระเงินค่าตอบแทนและค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่า และผู้เช่าได้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะเช่าทรัพย์ คือ ผู้เช่าเป็นผู้เช่าและครอบครองทรัพย์สินของผู้ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยอย่างผู้เช่าธรรมดาแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะเป็นพิเศษ คือเป็นเรื่องผู้เช่าเช่าที่ดินของผู้ให้เช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารให้ผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้สิทธิต่าง ๆ ภายใต้บังคับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น เมื่อมีข้อสัญญากำหนดไว้ด้วยว่าถ้าผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที และยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองยึดถือกรรมสิทธิ์บรรดาทรัพย์สินที่อยู่ในสถานที่เช่าได้ทันทีเมื่อผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ผู้เช่าย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและอาคารของผู้ให้เช่าได้อีกต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ให้เช่าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าอยู่แล้วทันทีโดยไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องมอบสิทธิครอบครองให้ผู้ให้เช่าเสียก่อนและภายหลังแต่เวลานั้นการกระทำของบุคคลอื่นใดโดยอาศัยอำนาจของผู้ให้เช่าย่อมไม่เป็นการละเมิดสิทธิครอบครองของผู้เช่า (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13 และครั้งที่ 14/2513 เฉพาะปัญหาเป็นละเมิดสิทธิครอบครองหรือไม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและการแก้ไขฟ้องเพิ่มทุนทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการฟ้องคดีใหม่ในเรื่องเดิมเป็นฟ้องซ้ำ แม้จะมีการตรวจพบเงินขาดเพิ่ม
โจทก์ฟ้องจำเลยในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินสำนักงาน ก.พ. ให้รับผิดในยอดเงินขาดบัญชีที่อยู่ในความรับผิดชอบ ระหว่างพิจารณาปรากฏผลการตรวจสอบครั้งหลังว่ายอดเงินขาดบัญชีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 9,600 บาท เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179,180 โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากในเรื่องเดียวกันนี้เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 173(1) และปัญหาอำนาจฟ้องนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยฯที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา