คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องคดีแพ่ง: การฟ้องคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันหลังมีการตรวจพบทรัพย์สินเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินสำนักงาน ก.พ. ให้รับผิดในยอดเงินขาดบัญชีอยู่ในความรับผิดชอบ ระหว่างพิจารณาปรากฏผลการตรวจสอบครั้งหลังว่ายอดเงินขาดบัญชีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 9,600 บาท เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179,180 โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากในเรื่องเดียวกันนี้เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 173 (1) และปัญหาอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ฯ ที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิม vs. การฟ้องคดีใหม่ เมื่อพบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินสำนักงานก.พ. ให้รับผิดในยอดเงินขาดบัญชีที่อยู่ในความรับผิดชอบ. ระหว่างพิจารณาปรากฏผลการตรวจสอบครั้งหลังว่ายอดเงินขาดบัญชีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 9,600 บาท. เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179,180. โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากในเรื่องเดียวกันนี้เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 173(1). และปัญหาอำนาจฟ้องนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยฯที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ในคดีอนาถา: ศาลต้องยกคำขอหากมีเหตุต้องห้าม มิใช่สั่งไม่รับฟ้อง
กรณีที่โจทก์ฟ้องและยื่นคำขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถานั้น ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าโจท์ฟ้องไม่ได้ ต้องห้าม ก้พึงสั่งยกคำขอเสีย หาควรก้าวล่วงข้ามขั้นไปสั่งไม่รับฟ้องเสียทีเดียวไม่ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรค 3 คืนค่าธรรมเนียมศาลอุทธรณ์ ฎีกา ในชั้นนี้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องสั่งยกคำขอฟ้องอนาถา หากเห็นว่าโจทก์ฟ้องไม่ได้ตามกฎหมาย ไม่ควรสั่งไม่รับฟ้อง
กรณีที่โจทก์ฟ้องและยื่นคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถานั้นถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องไม่ได้ ต้องห้าม ก็พึงสั่งยกคำขอเสียหาควรก้าวล่วงข้ามขั้นไปสั่งไม่รับฟ้องเสียทีเดียวไม่ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156วรรค 3 คืนค่าธรรมเนียมศาลอุทธรณ์ฎีกาในชั้นนี้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: คดีอาญาที่จำหน่ายคดีแล้ว ไม่กระทบสิทธิฟ้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายจากละเมิด
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้จำเลยใช้เงินที่จำเลยได้ยักยอกเอาไป จำเลยตัดฟ้องว่าเป็นฟ้องซ้ำต้องห้าม ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งนั้น ผู้ว่าคดีเคยฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงเป็นคดีอาญาหาว่าจำเลยยักยอกเงินรายเดียวกันนี้ และมีคำขอให้จำเลยใช้เงินที่ยักยอกนั้นด้วย ทั้งตัวผู้เสียหายก็ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้นด้วย ศาลแขวงได้ไต่สวนมูลฟ้องเพราะเป็นคดีเกินอำนาจ แล้วเห็นว่าคดียังไม่มีมูลว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอก จึงพิพากษายกฟ้อง ผู้ว่าคดีอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยได้ตายในระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงสั่งจำหน่ายคดี ส่วนคดีแพ่งที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องดังกล่าวนั้น ได้ฟ้องเข้ามาก่อนจำเลยถึงแก่ความตาย ดังนี้ ฟ้องคดีแพ่งของผู้เสียหายดังกล่าว หาเป็นฟ้องซ้ำต้องห้าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกคืนทรัพย์มรดกจากผู้ไม่มีสิทธิ แม้มีการฟ้องร้องเรื่องเดียวกันไปแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นพี่สาวและน้องสาวของเจ้ามรดก จำเลยเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ที่ดิน 3 แปลงท้ายฟ้อง เป็นสินเดิมของเจ้ามรดก ที่ดิน 3 แปลงท้ายฟ้องเป็นสินเดิมของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตายทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาท จำเลยไม่ใช่ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายวจึงไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยส่งมอบทรัพย์มรดกให้แล้ว จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ส่งมอบทรัพย์มรดกให้แล้ว จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ส่งมอบทรัพย์มรดกเป็นคดีหนึ่งแล้ว บัดนี้ ยังมีทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอีก 3 แปลง ขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นสินเดิมของเจ้ามรดก โจทก์และทายาทเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกทรัพย์นี้ ให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ให้ ดังนี้ เป็นการฟ้องแต่ ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีอำนาจยึดถือไว้ และเป็นที่ดินต่างแปลง เป็นทรัพย์คนละอย่างกับทรัพย์ในคดีก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและขอบเขตแห่งข้อตกลงสัญญาเช่า: การแบ่งแยกฟ้องร้องในมูลเหตุเดียวกันและการแยกแยะข้อตกลงในสัญญา
คดีแรก โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืน คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์โจทก์มาฟ้องคดีหลังเรียกค่าเสียหาย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุที่จำเลยไม่ส่งมอบสถานที่เช่าคืน เช่นนี้ คดีหลังต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องได้อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 (1) (คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด)
ส่วนในคดีหลัง ข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินทุนที่โจทก์ออกทดรองไปก่อนในการก่อสร้าง แม้ข้อตกลงข้อนี้จะปรากฏอยู่ในสัญญาเช่าฉบับเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรก ฟ้องคดีหลังก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะหนังสือสัญญาฉบับนี้แบ่งแยกข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาออกได้เป็นส่วน ๆ มีลักษณะเป็นคนละเรื่องต่างหากจากกัน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและขอบเขตข้อตกลงในสัญญาเช่า: การแบ่งแยกข้อตกลงและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คดีแรก โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์โจทก์มาฟ้องคดีหลังเรียกค่าเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุที่จำเลยไม่ส่งมอบสถานที่เช่าคืนเช่นนี้ คดีหลังต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องได้อีกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) (คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด)
ส่วนในคดีหลัง ข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินทุนที่โจทก์ออกทดรองไปก่อนในการก่อสร้างแม้ข้อตกลงข้อนี้จะปรากฏอยู่ในสัญญาเช่าฉบับเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรก ฟ้องคดีหลังก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะหนังสือสัญญาฉบับนี้แบ่งแยกข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาออกได้เป็นส่วนๆมีลักษณะเป็นคนละเรื่องต่างหากจากกัน (ประชุมใหญ่ครั้งที่4/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำโดยอัยการคนละคน ศาลฎีกาตัดสินว่ายังถือเป็นการฟ้องซ้ำ
พนักงานอัยการจังหวัดอื่นซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้แต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเรื่อง โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2478 มาตรา 20(1) ได้ยื่นฟ้องจำเลยหาว่ากระทำผิดในทางอาญา ไว้ต่อศาลท้องที่ที่เกิดเหตุแล้วอัยการประจำศาลนั้น จะยื่นฟ้องจำเลยคนนี้ในความผิดฐานเดียวกันซ้ำขึ้นอีกไม่ได้ เพราะโจทก์ในคดีก่อนและคดีที่ฟ้องใหม่ก็เป็นอัยการด้วยกัน จึงต้องถือว่าเป็นโจทก์คนเดียวกัน
แม้ศาลฎีกาตัดสินไม่รับฟ้องยืนตามศาลล่างเพราะเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องซ้ำเข้ามาอีก ศาลฎีกาก็คงให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ไม่ได้รับสำเนาฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ในคดีมรดก: พระบรมราชโองการมีผลผูกพันและเปลี่ยนแปลงสิทธิในกองมรดก
การตีความในเอกสารอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเหนือกฎหมาย พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ย่อมมีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย โจทก์เป็นหม่อมของ พ.ครั้น พ.สิ้นพระชนม์ รัชชกาลที่ 6 จึงทรงตั้งกรรมการขึ้นจัดการพระมฤดก กรรมการได้ทำรายงานถวายความเห็นว่าโจทก์ควรได้รับแต่เงินค่าเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาท รัชชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้เป็นไปตามนั้นดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้รับพระมฤดกอื่นของ พ.นอกจากเงินเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาทนั้น
การที่บุคคลภายนอกเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีเรื่องนี้เป็นจำเลยโดยมูลสิทธิแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีเรื่องนี้นั้น ไม่เรียกว่าโจทก์ในคดีนี้ฟ้องซ้ำค่าธรรมเนียม
of 10