พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ ต้องระบุความจริงและเท็จชัดเจน มิฉะนั้นฟ้องไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความแต่เพียงว่า จำเลยแจ้งแก่พนักงานสอบสวนอย่างหนึ่ง แล้วมาเบิกความต่อศาลอีกอย่างหนึ่ง เป็นการแตกต่างและขัดกันขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จหรือเบิกความเท็จ ดังนี้ เมื่อฟ้องมิได้ยืนยันข้อเท็จจริงว่าข้อความใดเป็นความเท็จ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) (ประชุมใหญ่ครั้งที่21/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จต้องระบุข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเพื่อพิสูจน์ความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความแต่เพียงว่า จำเลยแจ้งแก่พนักงานสอบสวนอย่างหนึ่ง แล้วมาเบิกความต่อศาลอีกอย่างหนึ่ง เป็นการแตกต่างและขัดกัน ขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จหรือเบิกความเท็จ ดังนี้ เมื่อฟ้องมิได้ยืนยันข้อเท็จจริงว่าข้อความใดเป็นความเท็จ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2519)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุตัวผู้รับแจ้งความไม่จำเป็นต้องระบุชื่อเฉพาะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2516 เวลากลางวัน จำเลยได้นำเอาความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนเจดีย์ว่า โจทก์เมาสุราอาละวาดและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานเป็นการบรรยายฟ้องที่ได้ระบุบุคคลที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่ จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้จะไม่ได้ระบุชื่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นคนใด จำเลยเป็นผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนเจดีย์ ย่อมทราบดีว่า ตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหา พนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับแจ้งความของตนไว้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุตัวผู้รับแจ้งความในฟ้องไม่จำเป็นหากจำเลยทราบได้เอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2516 เวลากลางวัน จำเลยได้นำเอาความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนเจดีย์ว่า โจทก์เมาสุราอาละวาดและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน เป็นการบรรยายฟ้องที่ได้ระบุบุคคลที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้จะไม่ได้ระบุชื่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นคนใด จำเลยเป็นผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนเจดีย์ย่อมทราบดีว่า ตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหา พนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับแจ้งความของตนไว้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าและการแจ้งความเท็จจากเหตุการณ์ยิง
จำเลยฝ่ายเดียวเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แล้วไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายใช้มีดแทงพยายามชิงทรัพย์จำเลยโดยผู้เสียหายมิได้กระทำผิด จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าและผิดฐานแจ้งความเท็จอีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จ: การแจ้งความตามคำบอกเล่า ไม่ใช่ความเท็จโดยตรง
คำฟ้องที่ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความ/เบิกความเท็จ – ความผิดฐานแจ้งความ/เบิกความเท็จและฐานข่มขืนกระทำชำเรา – เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่
คำฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนตามคำบอกเล่าของเด็กหญิง อ. บุตรสาวอายุ 8 ปี ว่าเด็กหญิง อ.ได้ถูกเด็กชายไม่ทราบชื่อซึ่งอยู่ในโรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้กล่าวยืนยันถึงตัวผู้ข่มขืนว่า เป็นเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความถึงเรื่องที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่า เป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น ก็เป็นการเล่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการชี้ตัวผู้กระทำผิดเท่านั้น มิใช่จำเลยที่ 1 กล่าวยืนยันเองเมื่อคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกข่มขืนมิได้เล่าข้อเท็จจริงเช่นนั้นแก่จำเลยที่ 1 หรือมิได้ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้กระทำผิด คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,173,174
ฟ้องข้อหาฐานเบิกความเท็จว่าจำเลยที่ 1 เบิกความว่า เมื่อเด็กหญิง อ. บอกว่าถูกเด็กชายที่โรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราก็ไปแจ้งความโดยมิได้เบิกความยืนยันว่าผู้ข่มขืนกระทำชำเราคือบุตรโจทก์ และจำเลยที่ 2 เบิกความไปตามคำบอกกล่าวของเด็กหญิง อ. แล้วเล่าถึงข้อเท็จจริงที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น เมื่อข้อที่ว่าเด็กหญิง อ. บอกเล่าแก่จำเลยแต่ละคนจริงหรือไม่ และชี้ตัวบุตรโจทก์จริงหรือไม่ มิใช่เหตุการณ์ที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นความเท็จ ดังนั้น คำเบิกความของจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมคุมขังเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ตามที่ได้รับแจ้งความนั้นเป็นเรื่องของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งได้กระทำไปตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายหาใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
ฟ้องข้อหาฐานเบิกความเท็จว่าจำเลยที่ 1 เบิกความว่า เมื่อเด็กหญิง อ. บอกว่าถูกเด็กชายที่โรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราก็ไปแจ้งความโดยมิได้เบิกความยืนยันว่าผู้ข่มขืนกระทำชำเราคือบุตรโจทก์ และจำเลยที่ 2 เบิกความไปตามคำบอกกล่าวของเด็กหญิง อ. แล้วเล่าถึงข้อเท็จจริงที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น เมื่อข้อที่ว่าเด็กหญิง อ. บอกเล่าแก่จำเลยแต่ละคนจริงหรือไม่ และชี้ตัวบุตรโจทก์จริงหรือไม่ มิใช่เหตุการณ์ที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นความเท็จ ดังนั้น คำเบิกความของจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมคุมขังเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ตามที่ได้รับแจ้งความนั้นเป็นเรื่องของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งได้กระทำไปตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายหาใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จและการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ กรณีจับกุมและแจ้งความเท็จเกี่ยวกับอาวุธปืน
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ได้พกพาอาวุธปืนขณะที่มิได้อยู่ในบ้านของตน แต่อยู่ที่บ้านของพี่โจทก์จำเลยเป็นตำรวจได้ตรวจค้นพบอาวุธปืนนั้นที่ตัวโจทก์จึงจับโจทก์และแจ้งความหาว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาล และพกพาอาวุธปืนกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การพกพาอาวุธปืนเช่นนี้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายและการที่จำเลยแจ้งด้วยว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความผิดอาญาการ กระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและแจ้งความเท็จเกี่ยวกับอาวุธปืนและบุคคลอันธพาล ไม่ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ได้พกพาอาวุธปืนขณะที่มิได้อยู่ในบ้านของตน แต่อยู่ที่บ้านของพี่โจทก์ จำเลยเป็นตำรวจได้ตรวจค้นพบอาวุธปืนนั้นที่ตัวโจทก์ จึงจับโจทก์และแจ้งความหาว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาล และพกพาอาวุธปืนกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การพกพาอาวุธปืนเช่นนี้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย และการที่จำเลยแจ้งด้วยว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความผิดอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน: ความสมบูรณ์ของฟ้องและการปรับบทความผิด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยได้เห็น ส.คนเดียวลักทรัพย์ มิได้เห็น ร. ร่วมลักทรัพย์ด้วย ดังนี้เป็นการบรรยายข้อความที่เป็นเท็จและที่เป็นจริงไว้ชัดแล้วว่าความจริงจำเลยมิได้เห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์แต่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้เห็น ร. ร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่ว่าความจริงหรือเท็จจะอยู่ตรงที่ว่า ร. ได้ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์หรือไม่เท่านั้น
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก