พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องที่โจทก์ไม่นำสืบพยาน ทำให้ศาลยกฟ้องได้ แม้ขอเลื่อนคดี
คดีอาญาเมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง มีแต่ทนายโจทก์มาศาล ส่วนโจทก์และพยานไม่มาศาล และมิได้แถลงข้อขัดข้องให้ศาลทราบ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบสนับสนุนข้อกล่าวหาของตน ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดพยานหลักฐานในวันไต่สวนมูลฟ้อง ทำให้ศาลยกฟ้องคดีอาญาได้
คดีอาญาเมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง มีแต่ทนายโจทก์มาศาลส่วนโจทก์และพยานไม่มาศาล และมิได้แถลงข้อขัดข้องให้ศาลทราบ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบสนับสนุนข้อกล่าวหาของตน ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดพยานในวันไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา ทำให้ศาลยกฟ้องได้ แม้มีการขอหมายเรียกพยานไว้ก่อน
คดีอาญาเมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง มีแต่ทนายโจทก์มาศาล. ส่วนโจทก์และพยานไม่มาศาล. และมิได้แถลงข้อขัดข้องให้ศาลทราบ. เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบสนับสนุนข้อกล่าวหาของตน. ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนอธิกรณ์ของพระภิกษุ ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172, 173
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 จะบัญญัติให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาก็ดี ก็มีแต่เพียงอำนาจสอบสวนอธิกรณ์และสั่งลงโทษพระภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเท่านั้น หามีอำนาจรับแจ้งความเกี่ยวกับการกระทำผิดอาญา และมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาไม่ ฉะนั้น จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172,173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์: สอบสวนอธิกรณ์ ไม่ใช่คดีอาญา
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 45 จะบัญญัติให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาก็ดีก็มีแต่เพียงอำนาจสอบสวนอธิกรณ์ และสั่งลงโทษพระภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเท่านั้น หามีอำนาจรับแจ้งความเกี่ยวกับการกระทำผิดอาญา และมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาไม่ฉะนั้น จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จของผู้ต้องหา: การกล่าวแก้ข้อหาไม่ใช่ความเท็จ
ร้อยตำรวจตรีกมลกับพวกจับกุมจำเลยในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ และค้นตัวจำเลยได้บัตรรับฝากรถจักรยานและกระดาษฟุลสแก๊ปมีเขียนเลข 2 ฉบับ จำเลยแจ้งว่าเป็นสลากกินรวบซื้อมาจากโจทก์ ดังนี้ ถือว่าจำเลยกล่าวในฐานะผู้ต้องหา หรือ เสมือนผู้ต้องหา จำเลยหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จในฐานะผู้ต้องหา: การให้ข้อมูลเท็จระหว่างถูกสอบสวนไม่ใช่ความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ร้อยตำรวจตรีกมลกับพวกจับกุมจำเลยในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ และค้นตัวจำเลยได้บัตรรับฝากรถจักรยานและกระดาษฟุลสแก๊ปมีเขียนเลข 2 ฉบับ จำเลยแจ้งว่าเป็นสลากกินรวบซื้อมาจากโจทก์ดังนี้ ถือว่าจำเลยกล่าวในฐานะผู้ต้องหาหรือเสมือนผู้ต้องหาจำเลยหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ: การเล่าเหตุการณ์ตามความเข้าใจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ หากไม่มีเจตนาใส่ร้าย
จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน.โดยเล่าเรื่องให้ฟังตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าบิดาโจทก์กับบิดาจำเลยเป็นความกันเรื่องทางเดิน จำเลยพาคนไปถ่ายภาพทางเดินนั้นเพื่อประกอบคดีในขณะที่โจทก์กับพวกกำลังเดินออกจากบ้าน ขณะที่ถ่ายภาพอยู่นั้นได้มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด จำเลยไม่เห็นคนยิง แต่เชื่อหรือเข้าใจว่าโจทก์เป็นผู้ยิงพนักงานสอบสวนได้สรุปข้อความตามคำแจ้งความแล้วให้ตำรวจบันทึกคำแจ้งความไว้ มีความตอนหนึ่งว่า โจทก์ใช้ปืนพกยิงจำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีเจตนาจะยิงจำเลยให้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยไปแจ้งความโดยเล่าเรื่องตามที่เกิดขึ้นซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจเช่นนั้นได้ ข้อความที่บันทึกไว้นั้นก็เป็นข้อความที่พนักงานสอบสวนบอกให้ตำรวจเขียน ไม่ใช่ถ้อยคำที่จำเลยแจ้งโดยแท้จริง ทั้งมีพฤติการณ์ต่อมาแสดงว่าจำเลยมิได้เจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ: ความเข้าใจผิดของผู้แจ้ง ไม่ถึงเจตนาใส่ร้าย ถือว่าไม่เป็นความผิด
จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยเล่าเรื่องให้ฟังตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าบิดาโจทก์กับบิดาจำเลยเป็นความกันเรื่องทางเดิน จำเลยหาคนไปถ่ายภาพทางเดินนั้นเพื่อประกอบคดีในขณะที่โจทก์กับพวกกำลังเดินออกจากบ้านขณะที่ถ่ายภาพอยู่นั้น ได้มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด จำเลยไม่เห็นคนยิง แต่เชื่อหรือเข้าใจว่าโจทก์เป็นผู้ยิง พนักงานสอบสวนได้สรุปข้อความตามคำแจ้งความ แล้วให้ตำรวจบันทักคำแจ้งความไว้ มีความตอนหนึ่งว่า โจทก์ใช้ปืนพกยิง จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีเจตนาจะยิงจำเลยให้ถึงแก่ความตาย ดังนี้เห็นได้ว่าจำเลยไปแจ้งความโดยเล่าเรื่องตามที่เกิดขึ้น ซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจเช่นนั้นได้ ข้อความที่บันทึกไว้นั้นก็เป็นข้อความที่พนักงานสอบสวนบอกให้เขียน ไม่ใช่ถ้อยคำที่จำเลยแจ้งโดยแท้จริง ทั้งมีพฤติการณ์ต่อมาแสดงว่าจำเลยมิได้เจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับเช็ค: เหตุแห่งความผิดอยู่ที่เช็คไม่สามารถขึ้นเงินได้ ไม่ใช่สถานที่ออกเช็ค
การที่จำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ออกเช็คโดยไม่มีเงินในธนาคารนั้น แม้จำเลยจะแจ้งสถานที่ที่โจทก์ออกเช็คและมอบเช็คให้จำเลยผิดไปจากความจริง จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดฐานแจ้งความเท็จ เพราะถ้าเช็คนั้นมีการใช้เงินหรือขึ้นเงินจากธนาคารได้แล้ว การระบุสถานที่ออกเช็คและรับมอบเช็คนั้น แม้จะผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นเหตุที่จะเกิดความผิดอันจะต้องมีการสอบสวน เหตุที่จะเกิดความผิดอยู่ที่ว่า เช็คนั้นขึ้นเงินไม่ได้ อันพนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการสอบสวน