คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 172

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความตามข้อเท็จจริง แม้ผลสอบไม่ผิด ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้งและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ หากความเข้าใจของจำเลยสอดคล้องกับเหตุการณ์จริง แม้ผลทางกฎหมายจะต่างกัน ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
การกระทำของโจทก์กับพวกเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจได้ว่าเป็นการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ และทำให้เสียทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่จำเลยแจ้ง และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จต้องมีเจตนาทุจริตและข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ หากไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนการกล่าวหา ก็ถือว่าไม่มีความผิด
จำเลยทั้งสองเคยให้การและเบิกความว่าโจทก์ทั้งสองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญา แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบไม่มีเหตุผลที่จะชี้ให้เห็นเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองว่านำเอาความเท็จซึ่งควรรู้อยู่แล้วมาแกล้งกล่าวหาโจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองเห็นว่าโจทก์เป็นคนร้ายหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติระหว่างคู่ความในคดีปล้นทรัพย์เท่านั้น จะนำมาฟังในคดีนี้ว่าการให้การชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นศาลเป็นการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ โดยโจทก์ไม่มีพยานมาสืบว่าความจริงเป็นดังฟ้องอย่างใดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อผู้บังคับบัญชา มิใช่เจ้าพนักงานสอบสวน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
แม้พลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 แต่ตามหนังสือที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. ซึ่งบุคคลทั้งสองต่างเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ ทั้งนี้เพื่อประสงค์ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ และย้ายโจทก์ออกจากพื้นที่รับผิดชอบทางราชการ จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงพลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. ขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับความประพฤติโจทก์ต่อบุคคลทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาโจทก์ มิใช่ในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาแต่อย่างใด และพลตำรวจโท ป. มิได้มีคำสั่งให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนความผิดในทางอาญาแก่โจทก์ คงมีคำสั่งให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาให้ความคุ้มครองจำเลยที่ 1 แล้วรายงานให้พลตำรวจโท ป. ทราบด้วยเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-พยานเท็จคดีลักทรัพย์: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลยทั้งสองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เมื่อมันสำปะหลังที่ขุดเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ปลูกในที่ดินเกิดเหตุ โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นผู้ปลูก การที่จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ลักทรัพย์มันสำปะหลังที่ตนปลูกจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 หาใช่เป็นเรื่องขาดเจตนาไม่ ส่วนจำเลยที่ 2ไปให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนยืนยันว่าตนร่วมปลูกมันสำปะหลังกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความเท็จ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จะได้มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 2 คงเป็นเพียงความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าเท่านั้น ปัญหานี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้อง และกำหนดโทษให้เหมาะสมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225,192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ, ฟ้องเท็จ, การจับกุม, และการไต่สวนมูลฟ้อง: ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานเพียงพอ
พฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสามเกี่ยวกับการทำสัญญาจะขายที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเหตุทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกันหลอกลวงจำเลยที่ 1 ทั้งข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนก็เป็นการแจ้งข้อความไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และการที่จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีมูลความผิดฐานฟ้องเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาเช่นกัน
เมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามในข้อหาฉ้อโกง และตามคำแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ได้ดำเนินการและเมื่อสอบสวนแล้วได้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการออกหมายจับโจทก์ทั้งสามนั้นก็เป็นการออกหมายจับหลังจากที่โจทก์ทั้งสามไม่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกหลายครั้ง กรณีจึงมีเหตุที่จะออกหมายจับโจทก์ทั้งสามได้ ในการขอออกหมายจับ กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบให้ออกหมายจับโจทก์ที่ 1 ถ้าโจทก์ที่ 1 มิได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้สอบสวนต่อไป การที่ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุได้ออกหมายจับโจทก์ทั้งสาม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือผิดระเบียบข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยดังที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การจับโจทก์ที่ 1 ที่บ้านโดยมีหมายจับของเจ้าพนักงานตำรวจและหมายค้นของศาล ทั้งพฤติการณ์ในการตรวจค้นจับกุมก็ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านโจทก์ที่ 1 เวลา 18.02 นาฬิกา เมื่อแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งยืนอยู่บริเวณด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้านแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้ว เข้าไปจับโจทก์ที่ 1 จึงเป็นกรณีจำเป็นซึ่งเจ้าพนักงาานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามถูกจับกุมไปที่สถานีตำรวจเมื่อเวลา 23 นาฬิกา เมื่อไปถึง พนักงานสอบสวนซึ่งรับตัวโจทก์ที่ 1 ย่อมจะต้องทำการสอบสวนและทำประวัติโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถูกจับกุมในเวลาต่อมา อีกทั้งในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของโจทก์ทั้งสามยังจะต้องพิจารณาข้อกล่าวหา พยานหลักฐาน พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีและความน่าเชื่อถือของหลักประกันด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาตามสมควร การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวโดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ทั้งสามเช่นนี้เป็นการใช้เวลาตามสมควรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าจากคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ซึ่งแม้จะเบิกความยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลย ประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาล ข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง และศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับฐานบุกรุก: ศาลฎีกาวินิจฉัยการกระทำเข้าข่ายความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์และจำเลยรู้จักกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดย พ. สามีโจทก์เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยมาก่อน และก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยและ ว. ซึ่งเป็นภริยาจำเลยได้ตกลงซื้อกิจการท่าทรายจากบริษัท ส. โดยมี ฉ. กรรมการผู้มีอำนาจในราคา16,000,000 บาท โดยจำเลยและ ว. วางมัดจำไว้ 500,000 บาท ที่เหลือจำเลยและว. สั่งจ่ายเช็คจำนวน 14 ฉบับให้แก่ ส. เพื่อชำระหนี้ ต่อมาเช็คฉบับเดือนตุลาคม2538 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ฉ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยและ ว. โดยมอบอำนาจให้โจทก์ซึ่งเป็นพี่สาวเป็นผู้ชี้ตัวและดำเนินคดีแก่จำเลยและ ว. ดังนั้น การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยและ ว. เจ้าของตู้คอนเทนเนอร์ในที่เกิดเหตุเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ซึ่งมีการร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว จึงสามารถทำได้ตามกฎหมายและขณะที่โจทก์เข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งจำเลยใช้เป็นที่ทำการและที่อยู่อาศัยเพื่อชี้ตัวจำเลยและ ว. ให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยก็มิได้ห้ามโจทก์ไม่ให้เข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์และมิได้ขับไล่โจทก์ให้ออกไปจากตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าว นอกจากนี้ก่อนที่พันตำรวจตรี ส. จะรับแจ้งความจากจำเลย พันตำรวจตรี ส. ได้ชี้แจงให้จำเลยทราบแล้วว่าโจทก์ไม่มีเจตนาบุกรุกเพราะโจทก์ไปกับเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งกระทำการตามหน้าที่แต่จำเลยไม่ยอมจะขอแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ให้ได้ ข้อความที่จำเลยแจ้งแก่พนักงานสอบสวนเป็นการยืนยันว่าโจทก์เข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยและ ว. โดยไม่มีสิทธิและไม่มีเหตุอันสมควรเป็นความผิดทางอาญาฐานบุกรุกซึ่งไม่เป็นความจริงและข้อความที่แจ้งนี้หาใช่เป็นเพียงความคิดเห็นหรือความเข้าใจของจำเลยโดยสุจริตไม่จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8391/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต้องเจตนาแกล้งกล่าวเท็จ กรณีเข้าใจผิดเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่เป็นความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาว่า จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่ดินของจำเลยเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 เวลากลางวันแต่จำเลยมิได้นำสืบต่อสู้เกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยไปแจ้งความแสดงว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไปนั้น มิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาทของจำเลย โดยจำเลยได้นำ น.ส.3 ก. ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาแสดง น.ส.3 ก. ดังกล่าวระบุว่าจำเลยได้รับโอนมาทางมรดกตามพินัยกรรม จึงเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในทำนองเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของบิดา และโจทก์ได้บุกรุกเข้าไปทำนาในที่ดินของจำเลยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพนักงานสอบสวนสอบปากคำจำเลย จำเลยก็ให้การรับว่าที่ดินของจำเลยดังกล่าวยังมีข้อพิพาทฟ้องร้องทางแพ่งโต้เถียงกรรมสิทธิ์กันอยู่ระหว่างโจทก์กับจำเลยพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยมิได้มีเจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก์ ส่วนฝ่ายใดจะมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากันเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไปการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8391/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความบุกรุกที่ดินโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดแจ้งความเท็จ แม้มีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาว่า จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่ดินของจำเลยเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 เวลากลางวัน แต่ตามทางพิจารณาจำเลยเบิกความรับว่า จำเลยได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาทของจำเลย โดยมิได้นำสืบต่อสู้เกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยไปแจ้งความ กรณีที่ข้อแตกต่างเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลา มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ และการที่โจทก์ฟ้องผิดไปนั้น มิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ดังนั้นหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ โดยแกล้งกล่าวข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาให้ผิดไปจากความจริง เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเข้าใจว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาบุกรุก เป็นกรณีที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในทำนองเล่าเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของบิดา และโจทก์ได้บุกรุกเข้าไปทำนาในที่ดินของจำเลยโดยมิชอบด้วยกฎหมายนอกจากนี้เมื่อพนักงานสอบสวนปากคำจำเลย จำเลยก็ให้การรับว่าที่ดินของจำเลยดังกล่าวยังมีข้อพิพาทฟ้องร้องทางแพ่ง โต้เถียงกรรมสิทธิ์กันอยู่ระหว่างโจทก์กับจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมิได้มีเจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก์ส่วนฝ่ายใดจะมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและทำพยานหลักฐานเท็จเพื่อปกปิดการยักยอกเงิน ศาลลดโทษหลังมีการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินของบริษัทผู้เสียหายเก็บเงินจากลูกค้าแล้วยักยอกไปโดยจำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดจี้บังคับปล้นเอาเงินจำนวน 74,320 บาท ซึ่งเป็นของผู้เสียหายและบางส่วนเป็นของจำเลยไป โดยไม่มีการปล้นทรัพย์เกิดขึ้น แต่จำเลยทำพยานหลักฐานเท็จด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลยและแจ้งข้อความเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการปล้นทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แจ้งความเท็จว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
of 17