คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 172

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และภาระการพิสูจน์ในคดีละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแจ้งขอความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกันขุดถนนริมคลองไหหลำอันเป็นถนนสาธารณะทำให้ถนนอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจร อันเป็นความผิดและมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายเพราะถูกฟ้องคดีอาญา คำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะ ความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่ 260 ของโจทก์ที่ 1 กับ บ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญา ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาทจำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่ 260 โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหายประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด โจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้าง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ ค่าเสียหายเพียงใด และกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การแจ้งความเท็จ การกำหนดประเด็นและภาระการพิสูจน์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยแจ้งขอความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกันขุดถนนริมคลองไหหลำอันเป็นถนนสาธารณะทำให้ถนนอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรอันเป็นความผิดและมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา172ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายเพราะถูกฟ้องคดีอาญาคำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา10ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(3)โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา51วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่260ของโจทก์ที่1กับบ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญาได้รับความเสียหายเป็นเงิน400,000บาทจำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่260โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหายประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใดโจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน400,000 บาทหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ค่าเสียหายเพียงใดและกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากแจ้งความเท็จทำให้ถูกดำเนินคดีอาญา และภาระการพิสูจน์ของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกันขุดถนนริมคลองไหหลำอันเป็นถนนสาธารณะทำให้ถนนอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจร อันเป็นความผิดและมีโทษตาม ป.อ.มาตรา 172 ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายเพราะถูกฟ้องคดีอาญา คำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 51วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะ ความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่ 260 ของโจทก์ที่ 1 กับ บ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญา ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะ ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่ 260โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด โจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้าง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ ค่าเสียหายเพียงใด และกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: ข้อเท็จจริงไม่สนับสนุนความผิด, จำเลยไม่เป็นข้าราชการ
ตั้งแต่วันที่23มีนาคม2532ถึงวันที่6ตุลาคม2532โจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าแผงค้าตลาดมีนบุรีของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครแต่โจทก์ยังคงวางสินค้าที่แผงค้าตลาดมีนบุรีที่เคยเช่าและแผงค้าอื่นที่ไม่เคยเช่ารวมทั้งทางเดินในตลาดมีนบุรีด้วยจึงทำให้จำเลยที่1เข้าใจว่าเมื่อการเช่าสิ้นสุดลงแล้วแต่โจทก์ยังวางสินค้าอยู่และจำเลยที่2แจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมโจทก์จึงเป็นผู้บุกรุกและได้มอบอำนาจให้จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนข้อความที่จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหลายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายหลังจากจำเลยที่3ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแก่โจทก์แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่3แจ้งนั้นเป็นความเท็จเมื่อข้อความที่จำเลยที3ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่1แจ้งนั้นเป็นความจริงจำเลยที่1ที่3จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่2จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่2ฐานเป็นตัวการแต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนเมื่อจำเลยที่1และที่3ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จจำเลยที่2ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตราดกรุงเทพมหานครพ.ศ.2527ข้อ4และข้อ6กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องวิธีการงบประมาณพ.ศ.2529จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายอาญาภาค2ว่าด้วยความผิดลักษณะ2ความผิดเกี่ยวกับการปกครองหมวด2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ที่2และที่3ได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157ตามที่โจทก์ฟ้องจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: ข้อเท็จจริงต้องสอดคล้องและสถานะต้องเป็นเจ้าพนักงานจริง
ข้อความที่จำเลยที่3แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายจึงไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ พนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157 ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จและเจ้าพนักงาน เนื่องจากไม่มีฐานะเป็นข้าราชการ และข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2532 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าแผงค้าตลาดมีนบุรีของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ยังคงวางสินค้าที่แผงค้าตลาดมีนบุรีที่เคยเช่า และแผงค้าอื่นที่ไม่เคยเช่า รวมทั้งทางเดินในตลาดมีนบุรีด้วย จึงทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเมื่อการเช่าสิ้นสุดลงแล้ว แต่โจทก์ยังวางสินค้าอยู่ และจำเลยที่ 2 แจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมโจทก์จึงเป็นผู้บุกรุกและได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ข้อความที่จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่ 2 ไปพบเห็นมา จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 แจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย หลังจากจำเลยที่ 3 ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่ 3 แจ้งนั้นเป็นความเท็จ เมื่อข้อความที่จำเลยที่ 3 ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แจ้งนั้นเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการ แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย
จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาด กรุงเทพ-มหานคร ซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2527 ข้อ 4 และข้อ 6 กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2529 จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งป.อ.ภาค 2 ว่าด้วยความผิดลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้าได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริง เพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้น ทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา 11 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาและการขาดความเสียหายส่วนบุคคล กรณีปล่อยตัวผู้ต้องหาอื่น
จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นกำนันควบคุมตัว ด. กับ ม. และโจทก์ไว้ดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์แล้วได้ปล่อย ด.และ ม.ไป คงมอบตัวโจทก์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเพียงคนเดียวจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด.และ ม.ไปไม่ได้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เองไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากการปล่อยตัว ด.และ ม.ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือรัฐมิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและการพิสูจน์ความเสียหายของผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นกำนันควบคุมตัว ด. กับ ม.และโจทก์ไว้ดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์แล้วได้ปล่อย ด. และ ม.ไป คงมอบตัวโจทก์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเพียงคนเดียวจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด. และ ม.ไปไม่ได้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับกระทำความผิดของโจทก์เองไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากการปล่อยตัว ด. และ ม.ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือรัฐมิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและฉ้อโกงเกี่ยวกับการซื้อขายบุหรี่เงินเชื่อ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
จำเลยทั้งสองเคยติดต่อซื้อบุหรี่จำนวนมากจาก ณ. ซึ่งซื้อมาจากร้านสหกรณ์ในราคาถูกกว่าท้องตลาด ณ. เป็นลูกค้าซื้อบุหรี่เงินเชื่อประเภทขายส่งของร้านสหกรณ์มานาน ในวันเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองได้มอบเงินให้ ณ. ไปซื้อบุหรี่ด้วยความหวังว่าจะได้บุหรี่ตามจำนวนที่ขอซื้อเช่นเคย แต่ ณ. เป็นหนี้ค่าบุหรี่ร้านสหกรณ์จำนวน 98,282.20 บาท โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานการเงินของสหกรณ์รับเงินจาก ณ. แล้ว แทนที่จะมอบบุหรี่ตามจำนวนเงินที่มาขอซื้อ กลับนำเงินมาหักหนี้ที่ ณ.ค้างชำระอยู่ โดยเชื่อว่าเป็นเงินของ ณ. เอง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่สามารถเรียกเงินคืนจาก ณ. ได้ จึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ได้นำเงินจำนวน56,205 บาท และ 45,000 บาท ตามลำดับ มาขอซื้อบุหรี่จากร้านสหกรณ์ด้วยตนเองไม่เกี่ยวกับ ณ. โจทก์รับเงินแล้วไม่ส่งมอบบุหรี่ตามจำนวนที่ขอซื้อเป็นการฉ้อโกงจำเลยทั้งสองเพื่อบีบบังคับให้โจทก์คืนเงิน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกดำเนินคดีและต้องถูกควบคุมตัว ย่อมได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายจากแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน ราษฎรที่เสียหายโดยตรงก็ฟ้องได้
ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 และ 177 ไม่ใช่จะมีแต่เฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้น ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
of 17