คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 172

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ: ราษฎรก็เป็นผู้เสียหายได้ตามกฎหมาย
ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 และ 177 ไม่ใช่จะมีแต่เฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้น ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ: การแจ้งความโดยสุจริตตามความเข้าใจในขณะนั้น ไม่ถือเป็นความผิด
คำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทและไม่ได้เป็นผู้เช่าจาก ม. แต่ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยเช่าจาก ม.และโจทก์บุกรุกเข้าไปในที่ดินตัดต้นส้มเขียวหวานของจำเลย ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้ต้องหา ความจริงแล้วโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทโดยซื้อมาจาก บ. การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นการแจ้งความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งหากเป็นความเท็จ จำเลยก็อาจมีความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ได้ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดรวมทั้งข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ: โจทก์ทราบสถานะผู้เช่าของจำเลย การแจ้งความไม่เป็นความเท็จหากข้อเท็จจริงตรงกัน
ที่พิพาทเดิมเป็นของ ม. ให้จำเลยเช่า ต่อมา ม. ขายให้บ. และ บ. ขายให้โจทก์ โดยโจทก์ทราบว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทอยู่ ในฐานะเป็นผู้เช่าจาก บ. เมื่อโจทก์ซื้อที่พิพาทแล้วได้ให้ ส. กับพวกเข้าไปปรับหน้าดิน และตัดฟันต้นส้มเขียวหวานเพื่อนำกล้ากล้วยไม้ไปปลูก จำเลยจึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์บุกรุกเข้าไปในที่ดินที่จำเลยเช่า และทำให้เสียทรัพย์ ดังนี้การกระทำของโจทก์กับพวกย่อมมีเหตุที่จะทำให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์กระทำผิดอาญาฐานบุกรุก และทำให้เสียทรัพย์ ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งความก็ตรงตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับอาวุธปืนและบทลงโทษที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่ามิได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตขึ้นมาด้วยแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย แต่เมื่อโจทก์จำเลยสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยก่อน จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายเพื่อแกล้งให้ผู้เสียหายต้องรับโทษ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าผิดมาตรา 172,181(1) แล้วลงโทษตาม มาตรา 181(1) ไม่ถูกต้องเพราะคำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 181(1) หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปี แต่คดีนี้จำเลยแจ้งความเท็จว่าผู้เสียหายมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี โทษขั้นต่ำไม่ถึงสามปี จำเลยจึงไม่ผิดมาตรา 181(1) แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาปรับบทการลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง โดยไม่กำหนดโทษให้สูงขึ้นอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาโดยรู้ว่าไม่มีความผิด เพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น เป็นความผิดตามมาตรา 173 ประกอบ 174 วรรคสอง
จำเลยเป็นทนายความไม่ได้รับแลกเช็คจากคุณหญิง ศ. จริงเพียงแต่รับสมอ้างดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงเช็คไม่ว่าจะโดยรับมาจากโจทก์หรือจากคุณหญิง ศ.ก็ตาม โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็ค เป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อเจ้าพนักงานซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนโดยรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เพื่อแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ได้รับความเสียหายถูกจับกุมดำเนินคดี เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะไม่ผิดมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีกและไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต้องมีหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนจริง ศาลไม่รับฟังพยานที่ไม่ชัดเจน
ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 นั้น ในชั้นพิจารณาคดีของศาล โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อพิสูจน์เพื่อได้ให้ความแน่ชัดว่ามีการกระทำความผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนคนใดที่สถานีตำรวจแห่งใด ด้วยข้อความว่าอย่างไรมาแสดงต่อศาลจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง มิใช่เป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณา และพยานเอกสารก็ส่งไว้ในชั้นไต่สวน มูลฟ้องโจทก์หาได้อ้างส่งศาลในชั้นพิจารณาไม่ จึงไม่ชอบ ที่จะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จ: การพิจารณาความผิดกรรมเดียว-หลายบท และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ 2 กระทงฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ฐานเบิกความเท็จอีก 2 กระทงฐานแจ้งความเท็จกระทงแรกจำคุก 1 ปี ฐานใช้เอกสารปลอมกับแจ้งความเท็จกระทงหลังให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมจำคุก 2 ปี ฐานเบิกความเท็จจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมเป็นโทษจำคุก 9 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอม กระทงหนึ่ง จำคุก 6 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จกระทงเดียวจำคุก 6 เดือน รวมเป็นจำคุก 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงลงโทษจำคุก 8 เดือน เป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเบิกความเท็จจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก แม้ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและยังไม่ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโทป. เป็นเท็จหรือไม่ แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา การที่จำเลยไปแจ้งความว่าโจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยทั้งที่ความจริงโจทก์ออกเช็คให้แก่ ว. ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ การแจ้งความดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ การที่จำเลยเบิกความสองครั้งในคดีเดียวกันคือในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาแม้จะเป็นการเบิกความคนละคราว แต่ก็เป็นการนำสาระสำคัญของข้อความในเรื่องเดียวกัน มูลเหตุเดียวกันมากล่าวอีกครั้งโดยมีเจตนาให้โจทก์ต้องโทษในคดีเดียวกันเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาและพนักงานสอบสวนในการแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528 เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ว่า โจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลย เพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ ว่าโจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลยเพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โดยระบุว่าความจริงเป็นอย่างไร โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และลักษณะของการกระทำผิดในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยแจ้งความ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันใน 2 วันดังกล่าวทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานแจ้งความเท็จ: ฟ้องไม่เคลือบคลุมหรือไม่ พิจารณาจากรายละเอียดการกระทำและเจตนา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528 เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ ว่าโจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลยเพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โดยระบุว่าความจริงเป็นอย่างไร โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และลักษณะของการกระทำผิดในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยแจ้งความ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันใน 2 วันดังกล่าว ทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
of 17