พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลและรู้อยู่ว่าทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น ทำให้ถูกกำจัดมรดก
โจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527ของศาลชั้นต้นดังนั้นโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าที่ดินส่วนของบ. ในโฉนดเลขที่2505ดังกล่าวเป็นมรดกของบ. จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2) ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของบ. โดยบ. มีบุตร4คนคือโจทก์ทั้งสองจำเลยและจ.แต่จ.ถึงแก่ความตายก่อนบ. โดยจ. มีบุตร3คนบ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของบ. เพียงหนึ่งในสี่สวนเท่านั้นเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ.ทั้งหมดโดยการครอบครองทั้งๆที่จำเลยมิได้ครองครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง10ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้นแล้วจำเลยนำพยานหลักฐานมาไต่สวนในคดีดังกล่าวจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ. ในโฉนดที่ดินเลขที่2505โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วจำเลยนำคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่นจำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา1605วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ที่1เบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527ของศาลชั้นต้นยืนยันว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบ. โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า10ปีโดยเจตนาให้หลานและทายาทอื่นของบ. ไม่ได้รับมรดกด้วยโจทก์ที่1ย่อมต้องได้รับผลในลักษณะคดีในฐานพยานเท็จไม่ได้รับมรดกที่ดินในกรณีพิพาทนี้ด้วยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความไม่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249วรรคหนึ่งเช่นกัน แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1639บัญญัติให้ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกแทนที่ทายาทนั้นได้ในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นก็ตามแต่มาตรา1607บัญญัติว่าการถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้วโดยมิได้บัญญัติว่าผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกสืบมรดกต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของบ. เจ้ามรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของบ. เลยอันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตามบุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายบุญช่วยย่อมสืบมรดกของบ.ต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตรา1607และบทบัญญัติมาตรา1607หาได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา1639ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถูกกำจัดมิให้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตาย และสิทธิในการสืบมรดกของผู้สืบสันดาน
โจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527 ของศาลชั้นต้น ดังนั้นโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าที่ดินส่วนของ บ.ในโฉนดเลขที่ 2505 ดังกล่าวเป็นมรดกของ บ. จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2)
ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ บ. โดย บ.มีบุตร 4 คน คือโจทก์ทั้งสองจำเลย และ จ. แต่ จ.ถึงแก่ความตายก่อน บ. โดย จ.มีบุตร 3 คน บ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ บ.เพียงหนึ่งในสี่ส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ บ.ทั้งหมดโดยการครอบครอง ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง 10 ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้น แล้วจำเลยนำพยานหลักฐานมาไต่สวนในคดีดังกล่าวจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ.ในโฉนดเลขที่ 2505 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้วจำเลยนำคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 154/2527 ของศาลชั้นต้น ยืนยันว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบ.โดยสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีโดยเจตนาให้หลานและทายาทอื่นของ บ.ไม่ได้รับมรดกด้วย โจทก์ที่ 1ย่อมต้องได้รับผลในลักษณะคดีในฐานพยานเท็จ ไม่ได้รับมรดกที่ดินในกรณีพิพาทนี้ด้วยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นกัน
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1639 บัญญัติให้ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกรับมรดกแทนที่ทายาทนั้นได้ในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นก็ตาม แต่มาตรา 1607 บัญญัติว่า การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว โดยมิได้บัญญัติว่า ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกสืบมรดกต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของ บ.เจ้ามรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ.เลย อันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตาม บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายบุญช่วยย่อมสืบมรดกของ บ.ต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1607 และบทบัญญัติมาตรา 1607 หาได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1639 ไม่
ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ บ. โดย บ.มีบุตร 4 คน คือโจทก์ทั้งสองจำเลย และ จ. แต่ จ.ถึงแก่ความตายก่อน บ. โดย จ.มีบุตร 3 คน บ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ บ.เพียงหนึ่งในสี่ส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ บ.ทั้งหมดโดยการครอบครอง ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง 10 ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้น แล้วจำเลยนำพยานหลักฐานมาไต่สวนในคดีดังกล่าวจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ.ในโฉนดเลขที่ 2505 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้วจำเลยนำคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 154/2527 ของศาลชั้นต้น ยืนยันว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบ.โดยสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีโดยเจตนาให้หลานและทายาทอื่นของ บ.ไม่ได้รับมรดกด้วย โจทก์ที่ 1ย่อมต้องได้รับผลในลักษณะคดีในฐานพยานเท็จ ไม่ได้รับมรดกที่ดินในกรณีพิพาทนี้ด้วยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นกัน
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1639 บัญญัติให้ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกรับมรดกแทนที่ทายาทนั้นได้ในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นก็ตาม แต่มาตรา 1607 บัญญัติว่า การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว โดยมิได้บัญญัติว่า ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกสืบมรดกต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของ บ.เจ้ามรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ.เลย อันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตาม บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายบุญช่วยย่อมสืบมรดกของ บ.ต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1607 และบทบัญญัติมาตรา 1607 หาได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1639 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอฝ่ายเดียวในการยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และค่าธรรมเนียมการยึด/อายัดทรัพย์สินก่อนพิพากษา
คำร้องขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินนั้นจำเลยอาจทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อจำเลยขอให้ศาลไต่สวนคำร้องทันทีและศาลก็ได้ทำการไต่สวนและมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในวันนั้น จึงถือว่าศาลอนุญาตให้จำเลยทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำเนาคำร้องของจำเลยให้โจทก์ และไม่ให้โอกาสโจทก์คัดค้านคำร้องของจำเลยจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การยึดและอายัดทรัพย์สินชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องเสียค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการยึดและอายัดทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดและอายัดทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้โจทก์จะไม่ได้รับประโยชน์จากการยึดและอายัดทรัพย์สินก็ตาม
การยึดและอายัดทรัพย์สินชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องเสียค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการยึดและอายัดทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดและอายัดทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้โจทก์จะไม่ได้รับประโยชน์จากการยึดและอายัดทรัพย์สินก็ตาม