พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์เมื่อไม่มีการขาย: ความรับผิดชอบของผู้ขออายัดจากการตรวจสอบทรัพย์สินที่ไม่ถูกต้อง
ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าบริการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บจากคู่ความที่มาขอใช้บริการการยึดทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ต่อมาไม่มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมส่งโฉนดที่ดิน ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง และเอกสารประกอบ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้แล้วประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองทราบ ปิดประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงมีค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์หลงผิดในส่วนภาพถ่ายของที่ดินที่นำยึด ความจริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินว่างเปล่าไม่ปรากฏสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขให้ถูกต้อง เท่ากับโจทก์ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างตามภาพถ่าย กรณีจึงเป็นการขอถอนการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จริง จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 หมายเลข 3 ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมส่งโฉนดที่ดิน ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง และเอกสารประกอบ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้แล้วประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองทราบ ปิดประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงมีค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์หลงผิดในส่วนภาพถ่ายของที่ดินที่นำยึด ความจริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินว่างเปล่าไม่ปรากฏสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขให้ถูกต้อง เท่ากับโจทก์ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างตามภาพถ่าย กรณีจึงเป็นการขอถอนการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จริง จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 หมายเลข 3 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การคิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินต้องไม่เกินส่วนแบ่งที่โจทก์มีสิทธิได้รับ
การกระทำของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมรดกของ น. เพื่อนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันโดยมิได้มีการขอแบ่งทรัพย์มรดกของ น. จากจำเลยทั้งห้าก่อน ซึ่งไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ระบุไว้ในคำพิพากษา ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้เพิกถอนการยึดอันเป็นความผิดของโจทก์เอง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอบังคับคดี จึงต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง, 153 วรรคสอง, 153/1 และตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าผู้ที่นำยึดจะต้องเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันแต่อย่างใด ประกอบกับเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลได้ หากจำเลยทั้งห้าเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน เพียงแต่คดีนี้ศาลได้กำหนดในคำพิพากษาไว้แล้วถึงวิธีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าโดยให้ตกลงแบ่งทรัพย์มรดกกันก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยทั้งห้ายังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกกัน แต่โจทก์กลับขอให้บังคับคดียึดที่ดินมรดกออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันข้ามขั้นตอนตามที่ระบุไว้ในคำพิพากษา การที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมรดก จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึด โจทก์จึงต้องมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย คำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงชอบแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วว่า โจทก์นำยึดที่ดินมรดกโดยยังมิได้ตกลงแบ่งกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าอันเป็นการบังคับคดีไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามคำพิพากษาจนศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการยึดที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย อย่างไรก็ตาม การคิดค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ระบุว่า เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น เหตุผลที่บัญญัติเช่นนี้เพราะโดยปกติผลของการไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะได้มูลค่าทรัพย์สินน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี กฎหมายจึงบัญญัติให้คิดค่าธรรมเนียมตามราคาทรัพย์สินที่ยึดได้ ซึ่งจะเสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี แต่กฎหมายมิได้คำนึงถึงกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว หากได้มูลค่าทรัพย์สินเกินกว่าจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีจะให้ปฏิบัติในเรื่องการเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นประการใดและคงไม่ประสงค์จะให้เสียค่าธรรมเนียมมากกว่าจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี มิฉะนั้นจะเป็นการเสียค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่พิพาทกันในคดีซึ่งย่อมไม่ถูกต้อง ฉะนั้น กรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงหมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี ประกอบกับไม่ปรากฏพฤติการณ์แห่งคดีว่าโจทก์นำยึดที่ดินมรดกเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีตามสิทธิที่โจทก์ได้รับดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดนั้น จึงไม่ถูกต้อง และไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนส่วนแบ่งที่โจทก์มีสิทธิได้รับในทรัพย์สินที่ยึด
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วว่า โจทก์นำยึดที่ดินมรดกโดยยังมิได้ตกลงแบ่งกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าอันเป็นการบังคับคดีไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามคำพิพากษาจนศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการยึดที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย อย่างไรก็ตาม การคิดค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ระบุว่า เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น เหตุผลที่บัญญัติเช่นนี้เพราะโดยปกติผลของการไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะได้มูลค่าทรัพย์สินน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี กฎหมายจึงบัญญัติให้คิดค่าธรรมเนียมตามราคาทรัพย์สินที่ยึดได้ ซึ่งจะเสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี แต่กฎหมายมิได้คำนึงถึงกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว หากได้มูลค่าทรัพย์สินเกินกว่าจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีจะให้ปฏิบัติในเรื่องการเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นประการใดและคงไม่ประสงค์จะให้เสียค่าธรรมเนียมมากกว่าจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี มิฉะนั้นจะเป็นการเสียค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่พิพาทกันในคดีซึ่งย่อมไม่ถูกต้อง ฉะนั้น กรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงหมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี ประกอบกับไม่ปรากฏพฤติการณ์แห่งคดีว่าโจทก์นำยึดที่ดินมรดกเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีตามสิทธิที่โจทก์ได้รับดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดนั้น จึงไม่ถูกต้อง และไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนส่วนแบ่งที่โจทก์มีสิทธิได้รับในทรัพย์สินที่ยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11091/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียม ศาลต้องมีคำสั่งชัดเจน ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำสั่งค่าฤชาธรรมเนียมมิได้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่ง ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง กฎหมายบัญญัติบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งไม่ว่าคู่ความจักมีคำขอหรือไม่
ค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนั้น คำสั่งศาลต้องอยู่ในบังคับตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกับตาราง 7 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หากศาลมีคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี ศาลก็จะต้องระบุจำนวนเงินสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองประเภทนี้โดยชัดแจ้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า "ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นให้ยก" ย่อมชัดเจนแล้วว่า ศาลชั้นต้นมีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยทั้งสี่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ และเป็นคำพิพากษาชอบด้วยบทบัญญัติที่ศาลต้องปฏิบัติในการทำคำพิพากษาตามมาตรา 141 วรรคหนึ่ง ทุกประการ หาใช่เป็นคำพิพากษาที่ไม่ครบถ้วนและไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
ค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนั้น คำสั่งศาลต้องอยู่ในบังคับตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกับตาราง 7 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หากศาลมีคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี ศาลก็จะต้องระบุจำนวนเงินสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองประเภทนี้โดยชัดแจ้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า "ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นให้ยก" ย่อมชัดเจนแล้วว่า ศาลชั้นต้นมีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยทั้งสี่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ และเป็นคำพิพากษาชอบด้วยบทบัญญัติที่ศาลต้องปฏิบัติในการทำคำพิพากษาตามมาตรา 141 วรรคหนึ่ง ทุกประการ หาใช่เป็นคำพิพากษาที่ไม่ครบถ้วนและไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9835/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์/ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด ถือเป็นคำฟ้อง ต้องเสียค่าขึ้นศาล การยื่นคำร้องซ้ำถือเป็นกระบวนการไม่ถูกต้อง
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์แล้วมีคำสั่งว่า กรรมสิทธิ์ในห้องชุดเป็นของจำเลย ไม่ได้ตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด ยกคำร้องขอ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้แก่ผู้ร้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแล้ว แทนที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น แต่ผู้ร้องกลับเลือกที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดของผู้ร้องเอง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้คืนเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรกแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 168 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแล้ว แทนที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น แต่ผู้ร้องกลับเลือกที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดของผู้ร้องเอง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้คืนเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรกแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 168 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง: ศาลมีอำนาจกำหนดได้ตามความเหมาะสม
ค่าทนายความใช้แทนไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้มิให้เรียก แต่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดได้ตามดุลพินิจ เมื่อคดีที่พิจารณาในศาลนั้น ๆ สิ้นสุดลง คดีนี้มีโจทก์ร่วมทั้งสองแต่งตั้งทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16132/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ผู้ยึดต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม แม้ศาลจะเพิกถอนการขายทอดตลาด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 แต่ได้ความว่าที่ดินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินแล้วตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2549 ตามคำสั่งศาลแพ่งซึ่งโจทก์เองก็ทราบดี เพราะเข้าเป็นคู่ความในคดีนั้นด้วยในฐานะผู้คัดค้าน แม้คดีดังกล่าวจะยังไม่ถึงที่สุด แต่ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น คำสั่งนั้นย่อมมีผลอยู่ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินที่มิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมเป็นการไม่ชอบ ทั้งทรัพย์สินของแผ่นดินย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านจนคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุด โจทก์จึงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนที่นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดพิพาทมาแล้วไม่มีการขาย ต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง ประกอบตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. บทบัญญัติในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี จึงสมควรให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดมิได้เพิกถอนการยึด โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมถอนการยึดตามคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นว่า เมื่อโจทก์เป็นผู้นำยึดทรัพย์สินและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามขั้นตอนแล้ว แต่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นย่อมเท่ากับทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมาไม่มีการขาย ความรับผิดของผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมจึงเกิดขึ้นแล้ว
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดมิได้เพิกถอนการยึด โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมถอนการยึดตามคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นว่า เมื่อโจทก์เป็นผู้นำยึดทรัพย์สินและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามขั้นตอนแล้ว แต่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นย่อมเท่ากับทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมาไม่มีการขาย ความรับผิดของผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมจึงเกิดขึ้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6584/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในคดีผู้บริโภค: เมื่อพนักงานอัยการฟ้องเอง ไม่มีค่าฤชาธรรมเนียม
แม้ค่าทนายความจะเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 18 วรรคสาม จะบัญญัติว่า ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชำระแทนฝ่ายผู้บริโภคที่ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่คดีนี้พนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ฟ้องคดีโดยมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความ คดีจึงไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนค่าทนายความที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยชำระแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การประเมินราคาทรัพย์สินใหม่เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเมื่อราคาเดิมสูงเกินไป
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดว่า ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ส่วนการคำนวณราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนด ถ้าไม่ตกลงกันให้คู่ความที่เกี่ยวข้องเสนอเรื่องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 นั้น หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคมทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากพฤติการณ์ต่างๆ ปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเกิน การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนได้ภายหลัง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลบางส่วนคืนโดยอ้างว่าได้ชำระเกินไปกว่าที่จะต้องชำระตามกฎหมาย ย่อมเท่ากับเป็นการยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 บัญญัติยกเว้นให้สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไปแล้วคืนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมอายัดเงินในสัญญาประนีประนอมยอมความ: หลักการชำระค่าธรรมเนียมโดยคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยตกลงให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ค่าธรรมเนียม ในการอายัดเงินของจำเลยซึ่งบุคคลภายนอกนำมาวางต่อศาลชั้นต้นย่อมตกเป็นพับด้วย
ค่าธรรมเนียมการอายัดเงินจะเรียกเก็บต่อเมื่อมีการขอให้จ่ายเงินมิใช่เรียกเก็บในขณะที่มีการอายัด เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่โจทก์และจำเลยก็เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 3 ครึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 เสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 1 ทั้งนี้ ตาม ตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 2 และข้อ 4
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 4 และข้อ 5 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง มีหลักการสำคัญว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ศาลสั่งจ่ายเงินที่อายัดย่อมมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัด จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง 5 ข้อ 4 แม้จำเลยจะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขออายัดเงินนั้น ก็ตาม
ค่าธรรมเนียมการอายัดเงินจะเรียกเก็บต่อเมื่อมีการขอให้จ่ายเงินมิใช่เรียกเก็บในขณะที่มีการอายัด เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่โจทก์และจำเลยก็เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 3 ครึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 เสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 1 ทั้งนี้ ตาม ตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 2 และข้อ 4
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 4 และข้อ 5 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง มีหลักการสำคัญว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ศาลสั่งจ่ายเงินที่อายัดย่อมมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัด จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง 5 ข้อ 4 แม้จำเลยจะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขออายัดเงินนั้น ก็ตาม