คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/33

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6361/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องทางการค้า: กรณีพ่อค้าคนกลางและผู้นำเข้าผ้า ขยายอายุความจาก 2 ปี เป็น 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) กำหนดสิทธิเรียกร้องของผู้ประกอบการค้าที่จะเรียกเอาค่าของที่ตนได้ส่งมอบ ให้มีอายุความ 2 ปี แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามความในตอนท้ายของมาตรา 193/34 (1) ซึ่งหมายถึงกิจการระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพ่อค้าคนกลางกับจำเลยซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าผ้าเพื่อจำหน่ายอีกทอดหนึ่งในฐานะผู้ประกอบการค้าด้วยกัน สิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) หากแต่ขยายเป็นอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5313/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้จากการกู้ยืม และผลของการบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้จะชำระหนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา โดยผู้กู้ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ทุกๆ เดือน ติดต่อกันภายในวันที่สิ้นสุดของเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดข้อหนึ่งข้อใด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งสัญญานี้ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที แต่ตามสัญญาข้อต่อไประบุว่า เมื่อสัญญานี้ครบกำหนดหากผู้ให้กู้หรือผู้กู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้บอกเลิกสัญญานี้ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี ตลอดไป โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงเดิมทุกประการจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้บอกเลิกสัญญา และหากผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ตาม ผู้กู้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดในทันที แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะให้สัญญาสิ้นสุดลงในทันทีที่ครบกำหนดในแต่ละปี แต่ถือเอาการบอกเลิกสัญญาของแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ การที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดตามสัญญา คงมีผลทำให้ผู้ให้กู้มีสิทธิที่จะถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด และเรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันทีตามสัญญาเท่านั้น แต่ตราบใดที่ผู้ให้กู้ยังมิได้บอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมด สัญญากู้ก็ยังมีผลต่อไป คู่สัญญาต้องผูกพันกันตามสัญญาดังกล่าว
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 27 มกราคม 2538 ให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายใน 7 วัน เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวของโจทก์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 จำเลยที่ 1 ต้องชำระต้นเงินแก่โจทก์ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินแก่โจทก์ได้นับแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 โจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินจึงไม่ขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้มีกำหนดอายุความ 5 ปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ" จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2534 จำนวน 28.99 บาท โจทก์นำไปหักชำระดอกเบี้ยก่อน คงมีดอกเบี้ยค้างชำระจำนวน 212.91 บาท ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 19,361.41 บาท จำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตลอดมา โจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันฟ้อง ดังนั้น ฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยที่มีกำหนดเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไปย่อมขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างเหมา: การก่อสร้างเพื่อกิจการค้าของลูกหนี้มีอายุความ 5 ปี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างบ้านให้จำเลยเพื่อที่จำเลยจะนำไปขายเป็นกรณีที่โจทก์รับจ้างทำของให้แก่จำเลย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำ แต่การที่โจทก์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้น จำเลยกระทำเพื่อนำไปจำหน่ายในโครงการจัดสรรที่ดินตามวัตถุประสงค์ของจำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อมรถยนต์: การจ้างซ่อมเพื่อกิจการประกันภัย เข้าข้อยกเว้นอายุความ 2 ปี ใช้ 5 ปี
โจทก์ประกอบกิจการให้บริการซ่อมแซมรถยนต์ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย ได้ว่าจ้างโจทก์ให้ทำการซ่อมรถยนต์ผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์เรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามความในตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างทำของเพื่อกิจการของผู้อื่น: การดำเนินการตามสัญญาว่าจ้างเพื่อกิจการของจำเลยมีอายุความ 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ออกแบบตกแต่งและโฆษณาโครงการโฆษะ คอมเพล็กซ์ และโอเอซิส พลาสซ่าของจำเลย จำเลยให้การรับว่าได้ว่าจ้างโจทก์จริง ดังนั้น การดำเนินการตามสัญญาว่าจ้างของโจทก์แม้จะปฏิบัติตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย แต่ก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้กระทำเพื่อกิจการของจำเลย จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาลิฟต์อาคารชุดเป็นทรัพย์ส่วนกลาง เจ้าของร่วมต้องชำระตาม พ.ร.บ.อาคารชุด อายุความ 5 ปี
ลิฟท์ซึ่งติดตั้งไว้ที่อาคารชุด มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของเจ้าของร่วมจึงถือเป็นทรัพย์ส่วนกลาง การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบำรุงรักษาลิฟท์จึงต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 วรรคสอง ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเป็นรายเดือน ค่าใช้จ่ายในส่วนที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่าย ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) และต้องถือว่าสิทธิเรียกร้องประเภทนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค้า: กิจการลูกหนี้เป็นหลักพิจารณาข้อยกเว้นอายุความ 2 ปี
ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) บัญญัติยกเว้นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของกำหนดอายุความดังกล่าวไว้ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดข้อยกเว้นโดยให้พิจารณาถึงกิจการของฝ่ายลูกหนี้เป็นสำคัญ กรณีใดจะเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์นำไปจำหน่ายหรือนำไปผสมเป็นคอนกรีตผสมเสร็จจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ย่อมถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ อันเป็นกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี แต่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3)
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาบังคับตามฟ้อง และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้ว มิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ โจทก์ชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท แต่เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขาย: การพิจารณาข้อยกเว้นตามมาตรา 193/34 (1) โดยเน้นที่กิจการของลูกหนี้
กรณีที่ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) บัญญัติยกเว้นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของกำหนดอายุความดังกล่าวไว้ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดข้อยกเว้นโดยให้พิจารณาถึงกิจการของฝ่ายลูกหนี้เป็นสำคัญ กรณีใดจะเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยหรือไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์นำไปจำหน่ายหรือนำไปผสมเป็นคอรกรีตผสมเสร็จจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ย่อมถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้นั้นเอง อันเป็นกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยจากละเมิด: แยกดอกเบี้ยค้างชำระกับดอกเบี้ยจากมูลหนี้ค่าเสียหาย
อายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เป็นอายุความสำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระ แต่มูลหนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เพื่อทดแทนความเสียหายของโจทก์ เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งหมดทันทีนับแต่วันผิดนัดคือวันที่เกิดการทำละเมิดเป็นต้นไป จึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1) และกรณีดอกเบี้ยในหนี้เงินอันเกิดจากมูลละเมิดนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้ยืมเงิน: การผ่อนชำระเป็นงวดๆ อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(2)
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยสัญญาว่าจะใช้เงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นเดือน เดือนละ 5,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินตามสัญญากู้ยืมเงินจึงถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความไว้ห้าปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) (มาตรา 166 เดิม) มิใช่กรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้อันต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
of 9