พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับกิจการขนส่ง: ข้อยกเว้น 2 ปี ใช้ไม่ได้, อายุความ 5 ปี
จำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ไปใช้กับรถยนต์โดยสารโดยที่จำเลยประกอบกิจการรับจ้างขนส่งคนโดยสารและขนส่งสินค้า ถือได้ว่าจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการของจำเลยต้องด้วยข้อยกเว้นไม่อยู่ในกำหนดอายุความสองปีตามความในตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายหรือไม่ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยค้างชำระจากการผ่อนผันการชำระหนี้ซื้อขาย
การซื้อขายปุ๋ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าหากจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าปุ๋ยไม่ครบจำนวนในวันทำสัญญา โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระโดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9 ต่อปี หากชำระเกิน 12 เดือน ถือว่าผิดนัดผิดสัญญาคิดดอกเบี้ยในส่วนที่เกิน 12 เดือน ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งหรือค้างชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลโรงเรียนเอกชน, อายุความค่าจ้าง: ศาลฎีกาพิพากษาจำกัดจำนวนค่าจ้างค้างจ่ายตามอายุความ
พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 44 ประกอบด้วยมาตรา 18 (2) บัญญัติให้โรงเรียนเอกชนเป็นนิติบุคคล ซึ่งบทบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 แม้ตามบทเฉพาะกาลตามมาตรา 71 จะให้จำเลยซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงมีฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปรากฏว่าครบสามปีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2545 จำเลยย่อมมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทะเบียน โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 หลังจากจำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นครูลูกจ้างจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยที่จ่ายขาดตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ดังนั้น คำฟ้องที่เรียกเอาค่าจ้างที่ถึงกำหนดจ่ายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 ถึงเดือนมิถุนายน 2544 ย่อมเกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ คงเรียกค่าจ้างค้างจ่ายได้เดือนละ 1,360 บาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 ถึงเดือนสิงหาคม 2545 เป็นค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 14 เดือน เป็นเงิน 19,040 บาท
โจทก์เป็นครูลูกจ้างจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยที่จ่ายขาดตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ดังนั้น คำฟ้องที่เรียกเอาค่าจ้างที่ถึงกำหนดจ่ายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 ถึงเดือนมิถุนายน 2544 ย่อมเกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ คงเรียกค่าจ้างค้างจ่ายได้เดือนละ 1,360 บาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 ถึงเดือนสิงหาคม 2545 เป็นค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 14 เดือน เป็นเงิน 19,040 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเบี้ยปรับจากสัญญาเช่า: ต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับจากวันส่งคืนทรัพย์สิน
สัญญาเช่าที่ราชพัสดุเพื่อใช้เป็นทางเดินและเป็นที่ตั้งตลาดและสัญญาเช่าอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่กำนหดว่าการชำระค่าเช่า ค่าภาษี ค่าธรรมเนียม หรือเงินอื่นใดที่ผู้เช่าต้องชำระให้แก่ผู้ให้เช่าตามกำหนด หาชำระเกินกำหนดเวลา ผู้เช่าจะต้องชำระเงินเพิ่มขึ้นจากเงินดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับให้ผู้เช่าอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินที่ค้างชำระ เมื่อครกำหนดสัญญาเช่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตลาดจากโจทก์ และโจทก์ได้รับมอบที่ดินพร้อมอาคารคืนจากจำเลยแล้ว การฟ้องคดีเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติเกี่ยวแก่สัญญาเช่าเช่าต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่ให้เช่าตามมาตรา 563 กรณีมิใช่เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระหรือค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระอันมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าที่พัก: ลูกจ้างฟ้องนายจ้างใช้มาตรา 193/34(9) ไม่ใช่ 193/33(4)
บทบัญญัติมาตรา 193/33 และมาตรา 193/34 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้จะเป็นอายุความเรียกร้องเงินเดือนเหมือนกัน แต่มาตรา 193/34 (9) เป็นกรณีที่ลูกจ้างเรียกเอาเงินที่ได้จากการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานจากนายจ้าง หรือนายจ้างเรียกเอาเงินที่นายจ้างออกทดรองไปคืนจากลูกจ้าง ส่วนมาตรา 193/33 (4) นั้นเป็นกรณีที่ผู้อื่นที่มิใช่ลูกจ้างเรียกเอาเงินเดือนหรือเงินประเภทต่างๆ จากผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่าย ซึ่งมีกำหนดการจ่ายเป็นระยะเวลา การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักอันเป็นสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานจึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (9) มิใช่ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8007/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายอุปกรณ์โรงแรม: การพิจารณาประเภทธุรกิจและหนังสือรับสภาพหนี้
หนี้ที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงแรมได้ซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวพร้อมการติดตั้งจากเจ้าหนี้ เป็นการกระทำเพื่อหากำไรในการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ต่อไป จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7385/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าสินค้าจากการซื้อขายเพื่อกิจการค้าขายของผู้ซื้อ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับเป็นผู้จำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศพร้อมอุปกรณ์และอะไหล่กับโจทก์โดยตกลงรับซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่งและหนี้ค่าสินค้าตามฟ้องที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระ ก็เป็นหนี้ค่าเครื่องปรับอากาศอุปกรณ์และอะไหล่ที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการค้าขายของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้นั้นเอง กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าของโจทก์ จึงมีกำหนดอายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างซ่อมรถ: สัญญาประการค้า, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(5) และ 193/34(1) มีอายุความ 5 ปี
โจทก์ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ามีสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันวินาศภัยที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจึงเป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบกับมาตรา 193/34 (1) มีอายุความ 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาทรัสต์รีซีท การคิดดอกเบี้ยสูงสุด และอายุความ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาทรัสต์รีซีทสืบเนื่องกับสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นแก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทพร้อมดอกเบี้ย และได้รับเอกสารจากโจทก์ไปก่อน เป็นเรื่องการให้สินเชื่อของโจทก์ซึ่งมีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนั้นโดยตรง ส่วนที่ตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์ยังคงมีสิทธิในสินค้านั้น เป็นเพียงเงื่อนไขที่มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์บังคับชำระหนี้ได้โดยสะดวกเท่านั้น สัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้สินเชื่อของโจทก์และการได้รับชำระหนี้จากการให้สินเชื่อเป็นสำคัญ มิใช่สัญญาซึ่งโจทก์มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำสินค้าออกไปจำหน่ายแทนโจทก์อันจะมีผลให้สัญญาทรัสต์รีซีทระงับไปแล้วผูกพันกันตามสัญญาตัวการตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 รวม 2 ฉบับ และชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วตามที่มีการเรียกเก็บโดยตั๋วแลกเงินในสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับระบุกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนคือ วันที่ 16 มิถุนายน 2536 และวันที่ 18 สิงหาคม 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องให้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์กล่าวอ้างเกิดขึ้นฉบับแรกนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2536 ฉบับที่สองนับแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2536 แต่โจทก์เรียกดอกเบี้ยมาเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ดังนี้ แม้ตามคำให้การดังกล่าวจะระบุถึงตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ ดังกล่าวเท่านั้น และตามคำให้การดังกล่าวก็ระบุถึงวันเริ่มนับอายุความถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ แสดงให้เห็นได้ว่า เป็นคำให้การที่ประสงค์จะยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยของต้นเงินที่เป็นหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ นี้นั่นเอง ถือว่ายกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว
ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ อันเป็นสัญญาที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำฟ้องมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้นั่นคือ วันที่ 17 มิถุนายน 2536 และ 19 สิงหาคม 2536 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 โดยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตลอดมา ซึ่งเกินกว่า 5 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระเฉพาะส่วนที่เกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เฉพาะส่วนที่นับถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไม่มีข้อสัญญาให้คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราสินเชื่อผิดนัดซึ่งมีอัตราสูงขึ้นกว่าอัตราสินเชื่อทั่วไป แต่โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดตลอดมาซึ่งผิดจากข้อสัญญาอันเป็นการคิดดอกเบี้ยสูงเกินสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามสัญญาและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวตามคำฟ้อง ทั้งที่เป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องซึ่งทำให้จำเลยทั้งสามต้องชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องชำระจริง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้เอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 รวม 2 ฉบับ และชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วตามที่มีการเรียกเก็บโดยตั๋วแลกเงินในสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับระบุกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนคือ วันที่ 16 มิถุนายน 2536 และวันที่ 18 สิงหาคม 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องให้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์กล่าวอ้างเกิดขึ้นฉบับแรกนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2536 ฉบับที่สองนับแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2536 แต่โจทก์เรียกดอกเบี้ยมาเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ดังนี้ แม้ตามคำให้การดังกล่าวจะระบุถึงตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ ดังกล่าวเท่านั้น และตามคำให้การดังกล่าวก็ระบุถึงวันเริ่มนับอายุความถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ แสดงให้เห็นได้ว่า เป็นคำให้การที่ประสงค์จะยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยของต้นเงินที่เป็นหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ นี้นั่นเอง ถือว่ายกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว
ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ อันเป็นสัญญาที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำฟ้องมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้นั่นคือ วันที่ 17 มิถุนายน 2536 และ 19 สิงหาคม 2536 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 โดยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตลอดมา ซึ่งเกินกว่า 5 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระเฉพาะส่วนที่เกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เฉพาะส่วนที่นับถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไม่มีข้อสัญญาให้คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราสินเชื่อผิดนัดซึ่งมีอัตราสูงขึ้นกว่าอัตราสินเชื่อทั่วไป แต่โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดตลอดมาซึ่งผิดจากข้อสัญญาอันเป็นการคิดดอกเบี้ยสูงเกินสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามสัญญาและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวตามคำฟ้อง ทั้งที่เป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องซึ่งทำให้จำเลยทั้งสามต้องชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องชำระจริง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้เอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาร่วมชำระหนี้และดอกเบี้ยค้างชำระ: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ตามสัญญาร่วมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่า การที่ผู้ให้สัญญายอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าบริการโทรศัพท์ ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิมนั้น ไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม จึงมิใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมไม่ระงับและการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ก็ไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แม้จะมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ก็มิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (2) จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระตั้งแต่งวดที่ 2 คือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอคิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 40,703 บาท นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ไม่ได้เพราะขาดอายุความ 5 ปี คงเรียกได้เฉพาะดอกเบี้ยหลังจากวันที่ 30 ตุลาคม 2538 เป็นต้นไปเท่านั้น
ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอคิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 40,703 บาท นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ไม่ได้เพราะขาดอายุความ 5 ปี คงเรียกได้เฉพาะดอกเบี้ยหลังจากวันที่ 30 ตุลาคม 2538 เป็นต้นไปเท่านั้น