พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว การชำระต้นเงินไม่สะดุดอายุความ
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดในวันที่ 30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จำเลยชำระค่าปรับ 106,000บาท แก่โจทก์ ส่วนดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดสัญญาประกันไม่ได้ชำระแต่ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากค่าปรับที่เป็นต้นเงินจึงเป็นหนี้คนละส่วน การที่จำเลยชำระต้นเงินแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) เมื่อดอกเบี้ยเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า: ลูกหนี้ประกอบธุรกิจ อายุความ 5 ปี
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5)ที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 193/34(1) ต้องคำนึงถึงสถานะภาพของฝ่ายลูกหนี้เป็นสำคัญ คือหากลูกหนี้เป็นผู้อุปโภคหรือบริโภคเองแล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะให้ลูกหนี้ชำระหนี้มีกำหนดอายุความสองปี แต่ถ้าลูกหนี้ได้ใช้ ประกอบธุรกิจของลูกหนี้ต่อไปอีกต่อหนึ่งแล้ว สิทธิเรียกร้องดังกล่าว มีกำหนดอายุความห้าปี เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อแผ่นพลาสติก จากโจทก์เพื่อใช้เอง แต่ได้ใช้ประกอบกิจการค้าของจำเลยทั้งสอง เพื่อแสวงหากำไรต่อไปอีกทอดหนึ่ง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมี อายุความห้าปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ต้องมีหนี้ประธานก่อนบังคับจำนอง ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำพิพากษาตามยอม
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยตั้งแต่วันที่17 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 10 มิถุนายน 2520 ก็ตามแต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าวโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันพิพากษาตามยอม การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยตั้งแต่วันที่17 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 10 มิถุนายน 2520 ก็ตามแต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าวโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้ทุน, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, อายุความ, อัตราแลกเปลี่ยน: การชำระหนี้และการบังคับคดี
โจทก์เป็นส่วนราชการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่ฟ้องให้จำเลยชดใช้ทุน จึงไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(11) แต่กรณีนี้มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(164 เดิม)เมื่อนับจากวันที่จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการถึงวันฟ้องไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่ง โจทก์ฟ้องในฐานะทายาทโดยธรรมของพันเอก บ. ผู้ค้ำประกันการรับทุนของจำเลยที่ 1 ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2529 นั้น แม้ขณะจัดการศพจะมีการลงประกาศพระราชทานเพลิงศพใน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่มีจำหน่ายแพร่หลายทั่วประเทศติดต่อกัน ถึง 2 วัน แต่การที่โจทก์เป็นนิติบุคคล และจำเลยทั้งสี่ มิได้นำสืบว่า ได้เชิญผู้แทนของโจทก์ไปในงานศพและโจทก์ได้ทราบ ประกาศดังกล่าวเมื่อใดโดยวิธีใด ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นเพียงการคาดคะเนเอาเองอย่างเลื่อนลอย เมื่อโจทก์ นำสืบรับฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการตายของพันเอก บ. เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 และนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2537 ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ขาด อายุความเช่นเดียวกัน ลักษณะของทุนเป็นเงินทุนของรัฐบาลต่อรัฐบาล การที่จำเลยที่ 1 รับราชการสังกัดโจทก์ได้รับอนุมัติให้ลาราชการไปศึกษาต่อด้วยทุนดังกล่าว โดยสัญญาว่าจะกลับมารับราชการ ในสังกัดโจทก์เป็นการชดใช้ทุน โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าของทุน เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่กลับมารับราชการชดใช้ทุนให้ครบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชดใช้ทุนได้ ส่วนที่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อได้ความว่าพันเอก บ. ค้ำประกันเฉพาะที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาครั้งแรก 1 ปี 6 เดือน เท่านั้น การที่ต่อมาเมื่อครบกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้อยู่ศึกษาต่อไปอีกโดยโจทก์ ไม่ได้แจ้งให้พันเอก บ. ทราบหรือรู้เห็นยินยอม พันเอกบ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับเวลาที่เกินกว่า 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย อำนาจฟ้องเป็น ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ตามสัญญาระบุว่าหากผิดสัญญาจำเลยที่ 1 จะจ่ายเบี้ยปรับ หนึ่งเท่าของเงินที่จะต้องชดใช้ หากไม่ชำระยอมให้คิด ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเป็น ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ที่ศาลอุทธรณ์ ใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเหลือเพียงครึ่งส่วนและดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี ก็โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้เป็น เจ้าหนี้ เพราะจำเลยที่ 1 ได้รับราชการชดใช้ทุนบางส่วน ชดใช้เงินเดือนและเงินเพิ่มพร้อมดอกเบี้ยแล้ว จึงเหมาะสม แก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว เมื่อดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นเบี้ยปรับ เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(มาตรา 166 เดิม)และกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยไม่เกิน 5 ปี จึงไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่ได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยผลเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้คิดอัตราในวันที่มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราในวันดังกล่าวก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายนั้นก่อนวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาการศึกษา, การชดใช้ทุน, อายุความเงินกู้: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการบังคับสัญญาและอายุความ
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครส่วนจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการการเสนอคำฟ้องจึงต้องเสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แต่คดีนี้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างเขตอำนาจศาล โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้ตามมาตรา 5ส่วนที่สัญญาได้ระบุให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งนั้น ในขณะทำสัญญาอยู่ระหว่างการใช้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 เดิม ที่บัญญัติยอมให้คู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาลที่คู่ความระบุไว้ในสัญญาได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงชอบแล้ว ข้อกำหนดในสัญญาการรับทุนไปศึกษาและกลับมาทำงานสำหรับผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศข้อ 12 ที่ห้ามไม่ให้จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนสมรสตลอดระยะเวลาการศึกษาชั้นปริญญาเอก เมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดในสัญญาข้ออื่นเพียงแต่เป็นข้อกำหนดข้อหนึ่งในสัญญาซึ่งหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกเงินประเภทต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนไปเพื่อการศึกษาคืนเป็นจำนวน4 เท่าในทันที แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิตามสัญญาข้อดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาแยกข้อกำหนดในสัญญาข้อนี้ออกจากข้อสัญญาอื่น ๆ เป็นการแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ออกจากส่วนสมบูรณ์ ดังนั้น หนังสือสัญญาการรับทุนไปศึกษาข้ออื่น ๆ นอกจากข้อห้ามในข้อ 12จึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ต้องลงทุนเพื่อสนับสนุนบุคลากรผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศ โจทก์ย่อมมีความมั่นใจในชั้นต้นว่าผู้รับทุนจะกลับมาทำงานด้วยส่วนที่ตามสัญญาระบุระยะเวลาชดใช้ทุนต่างกันไป โดยให้ชดใช้ทุนชั้นปริญญาโท 3 เท่าแต่ชดใช้ทุนชั้นปริญญาเอก 4 เท่า ก็เนื่องจากโอกาสในการได้รับงานสถานที่อื่นหรือในต่างประเทศนั้น ผู้สำเร็จปริญญาเอกจะมีโอกาสมากกว่าผู้สำเร็จชั้นปริญญาโท ทำให้โอกาสในการผิดสัญญาของผู้รับทุนไปศึกษาชั้นปริญญาเอกมีมากขึ้นด้วยคู่สัญญาจะกำหนดระยะเวลาชดใช้ทุนมากขึ้นจากระยะเวลาชดใช้ทุนในชั้นปริญญาโทจึงมีเหตุผล การที่คู่สัญญาจะกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าดังกล่าวจึงกระทำได้ แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับลง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาโทเพียง 1 เท่าและร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาเอกเพียง 2 เท่า จึงเหมาะสมแล้ว ตามสัญญาการกลับมาทำงานได้ระบุชัดเจนว่า ระยะเวลาการชดใช้ทุน คือเวลากลับเข้าปฏิบัติงานในวิทยาลัยของโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่า กรณีจึงไม่อาจแปลไปได้ว่าระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกเป็นการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของโจทก์ด้วย ส่วนการที่สัญญาการรับทุนไปศึกษาระบุว่า ให้นับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเป็นอายุการทำงานของผู้รับทุนก็เป็นเรื่องการนับอายุงานซึ่งเป็นเรื่องอื่น ไม่อาจหมายความได้ว่าให้หมายถึงเป็นการชดใช้ทุนการศึกษาในระดับชั้นปริญญาโทไปได้ ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ได้แบ่งยอดชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนออกเป็นงวด ๆ รวม 60 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 เป็นต้นไป จึงเป็นการผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเดือน โจทก์จึงผ่อนผันไม่หักเงินเดือนชำระหนี้ในระหว่างนั้นให้ จึงถือได้ว่าพฤติการณ์ของคู่ความต่างไม่ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาเรื่องระยะเวลาชำระหนี้เป็นงวด ๆ ในขณะนั้น เป็นสาระสำคัญของสัญญาแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ชำระหนี้ในช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือกลับมาทำงานกับโจทก์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับอายุความแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษามาแล้ว และไม่ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องภายใน 5 ปีได้ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 5 ปี ก็ตาม
หนังสือสัญญารับสภาพหนี้มีข้อความระบุว่า"ถ้าหากนายพิลาไชยพร (จำเลยที่ 1) นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่นายวิจิตร (โจทก์) เสร็จสิ้นภายในวันที่25 มีนาคม 2536 นายวิจิตรจะไม่ขอคิดดอกเบี้ยแม้แต่บาทเดียวแต่ถ้าผิดนัด นายพิลาไชยพร จะต้องรับผิดตามสัญญาเดิมคือดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อถูกฟ้องศาลบังคับคดีตามฟ้องข้าพเจ้า นายพิลาไชยพร พอใจตามข้อตกลงนี้ จึงได้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยาน" ดังนี้ แม้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 แต่กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้สละประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 193/24 จำเลยที่ 1ไม่อาจอ้างอายุความมาเป็นข้อตัดฟ้องเพื่อปฏิเสธความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นอายุความจำนอง: ดอกเบี้ยค้างชำระคิดย้อนหลังได้ 5 ปี แม้หนี้ประธานไม่ขาดอายุความ
การจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันหนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/27และมาตรา745บัญญัติเป็นข้อยกเว้นว่าแม้หนี้ที่ประกันหรือหนี้ประธานจะขาดอายุความแล้วก็ยังบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองได้แต่ดอกเบี้ยที่ค้างให้คิดย้อนหลังขึ้นไปได้เพียงห้าปีหากหนี้ประธานไม่ขาดอายุความสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างชำระก็มีกำหนดอายุความห้าปีเช่นกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการของลูกหนี้: 5 ปี, การยอมรับหนี้ทำให้สะดุด
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทุกชนิดเพื่อจำหน่าย ส่วนจำเลยมีอาชีพตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้ง และเป็นลูกค้าโจทก์ โดยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งจากโจทก์เพื่อนำไปเลี้ยงกุ้ง เมื่อจำเลยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งไปเพื่อเลี้ยงกุ้งจำหน่าย หาได้ซื้อไปเพื่อเลี้ยงกุ้งไว้บริโภคเอง กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้น อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงมีกำหนด 5 ปี หาใช่ 2 ปี ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อยอมรับยอดหนี้ตามบันทึกลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันที่ 23 เมษายน 2536ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายอาหารสัตว์: กรณีซื้อเพื่อกิจการค้ามีอายุความ 5 ปี
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทุกชนิดเพื่อจำหน่ายส่วนจำเลยมีอาชีพตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งและเป็นลูกค้าโจทก์โดยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งจากโจทก์เพื่อนำไปเลี้ยงกุ้งเมื่อจำเลยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งไปเพื่อเลี้ยงกุ้งจำหน่ายหาได้ซื้อไปเพื่อเลี้ยงกุ้งไว้บริโภคเองกรณีจึงตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองดังนั้นอายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด5ปีหาใช่2ปีไม่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อยอมรับยอดหนี้ตามบันทึกลงวันที่1ตุลาคม2533อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันที่23เมษายน2536ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด5ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ