พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและการค้ำประกันหนี้: ผลกระทบจากคำพิพากษาเดิมและหน้าที่ของผู้แทน
จำเลยทั้งสามค้ำประกันหนี้ของ ม. และโจทก์เคยฟ้อง ม. และจำเลยทั้งสามกับพวกในเรื่องตัวแทนละเมิดมาแล้ว คดีดังกล่าวศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามในฐานะกรรมการโจทก์สมคบร่วมกันจ่ายเงินโจทก์ซื้อหุ้น เกินไปกว่าราคาที่โจทก์ซื้อรวม 10,814,416.53 บาทจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้คืนโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาหนี้จำนวนเดียวกันซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 144 วรรคหนึ่งอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของ ม. อีก ส่วนที่จำเลยทั้งสามค้ำประกันหนี้ของธ. และ ม.นั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ธ.และ ม.เป็นหนี้โจทก์จริง ดังนั้น แม้ว่าจำเลยทั้งสามจะทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของ ธ.และ ม. ลูกหนี้โจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ต้องการเข้าโครงการ4 เมษายน เพื่อรับสิทธิรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย มิได้มีเจตนาผูกพันตามที่แสดงออกมาก็ตาม ก็ปรากฏว่าขณะทำสัญญาค้ำประกันจำเลยทั้งสามเป็นผู้แทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการซึ่งถือว่าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคล จึงถือว่าความรู้ของจำเลยทั้งสามเป็นความรู้ของโจทก์ไม่ได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 74 ส่วนจำเลยที่ 2ก็ไม่ปรากฏว่ามีกรรมการคนอื่นของโจทก์รู้เห็นด้วยเมื่อธ.และม.เป็นหนี้โจทก์จริง และจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาค้ำประกันบุคคลทั้งสองไว้ต่อโจทก์เช่นนี้สัญญาค้ำประกันก็ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยภริยาที่ไม่ยินยอม และผลของการสันนิษฐานความสุจริตของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 จะสมรสกันก่อน ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ใช้บังคับก็ต้องนำ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาใช้บังคับจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ และจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สุจริตอย่างไร โจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายและจำนองสินสมรสโดยบุคคลภายนอกที่สุจริต: โจทก์ต้องพิสูจน์ความไม่สุจริต
เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วแม้โจทก์และจำเลยที่1จะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาใช้บังคับจำเลยที่1ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่2โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์และจำเลยที่2นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่3แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่3ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3ไม่สุจริตอย่างไรโจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่2และจำเลยที่3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทำสัญญาซื้อขายลดเช็ค แม้ผู้จัดการทำแทนโดยมิชอบ ผู้ซื้อยังผูกพันตามสัญญาได้ หากไม่มีเจตนาซ่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติไว้ความว่า ในการอันใดถ้าประโยชน์ทางได้เสียของนิติบุคคลฝ่ายหนึ่งกับของตัวผู้จัดการอีกฝ่ายหนึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่กันในการอันนั้น ผู้จัดการเป็นอันไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนได้ การที่ ส.ผู้จัดการโจทก์สาขาลอง กับ ป. ต้องการขายลดเช็คให้โจทก์เอง โดยให้จำเลยทั้งสามออกหน้าเป็นผู้ขายลดเช็คนั้นส.ผู้จัดการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ตามมาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) และความรู้ของ ส. ผู้จัดการโจทก์ดังกล่าวจะถือเป็นความรู้ของโจทก์ด้วยไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกับ ส. ผู้จัดการโจทก์และ ป. ขายลดเช็คให้โจทก์ จำเลยทั้งสามต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่จำเลยทั้งสามแสดงเจตนาต่อโจทก์ด้วย อายุความฟ้องร้องตามสัญญาขายลดเช็ค ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทำสัญญา, ตัวแทนไม่มีอำนาจ, อายุความหนี้, และผลของการกระทำโดยตัวแทนที่ขัดกับประโยชน์ของต้นสังกัด
จำเลยทั้งสามแสดงเจตนาขายลดเช็คกับธนาคารโจทก์สาขาลองจำเลยทั้งสามจึงต้องผูกพันตามที่แสดงออกมานั้น แม้ในข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสามจะมิได้เจตนาผูกพันตนตามที่แสดงออกมาก็ไม่ทำให้การแสดงเจตนาตกเป็นโมฆะเว้นแต่โจทก์จะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา117 เดิม (มาตรา 154 ที่แก้ไขใหม่) แม้ ส. ผู้จัดการโจทก์สาขาลองซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นรู้ความจริงว่าส. กับป. ต้องการขายลดเช็คเองโดยให้จำเลยทั้งสามออกหน้าเป็นผู้ขายลดเช็คส. ไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 80 เดิม (มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) ความรู้ของ ส. ว่าจำเลยทั้งสามเป็นเพียงตัวแทน ส. และ ป. จึงถือเป็นความรู้จากโจทก์ด้วยไม่ได้ จำเลยทั้งสามต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค สิทธิเรียกร้องต้นเงินตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) คือ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการชนสะพาน: ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเรือชนสะพาน: ความรับผิดของเจ้าของเรือ ผู้ควบคุม และผู้ว่าจ้าง รวมถึงประเด็นอายุความและการฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น. เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่ สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอด ได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะ กับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลย จำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5454/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบภายในหน่วยงานราชการไม่อาจใช้ต่อสู้บุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของเรือนจำแล้วมิได้จัดให้มีการตั้งบัญชีเจ้าหนี้ไว้ตามระเบียบปฏิบัติราชการของกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 2ที่วางไว้เพื่อให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกและไม่ทราบถึงระเบียบดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5454/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน่วยราชการต้องรับผิดค่าสินค้า แม้มิได้ตั้งบัญชีเจ้าหนี้ หากซื้อสินค้าไปใช้ในกิจการ
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของเรือนจำแล้วมิได้จัดให้มีการตั้งบัญชีเจ้าหนี้ไว้ตามระเบียบปฏิบัติราชการของกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 2 ที่วางไว้เพื่อให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกและไม่ทราบถึงระเบียบดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาจ้างเลี้ยงรักษาสัตว์ยึด: ต้องเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
นายอำเภอเป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะและเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะยึดสัตว์พาหนะส่งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ครอบครองสัตว์พาหนะไว้โดยไม่มีตั๋วรูปพรรณหรือมีแต่ไม่ถูกต้องกับตัวสัตว์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 4 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 และนายอำเภอเป็นพนักงานสอบสวน มีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ การที่นายอำเภอเมืองในฐานะ พนักงานสอบสวนได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เลี้ยงโคที่ไม่มีตั๋วรูปพรรณที่ยึดไว้โดยไม่ปรากฏว่านายอำเภอเมืองได้ทำสัญญาแทนหรือในนามของอำเภอหรือจังหวัดนั้น การทำสัญญา ของนายอำเภอเมืองดังกล่าวจึงทำไปตามอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ โดยเฉพาะซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจหน้าที่นี้แทนฉะนั้นจังหวัด ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ และมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับตามสัญญาจ้างเลี้ยงรักษาสัตว์ที่ยึดไว้ได้