พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีบุกรุกที่ดิน: อุทธรณ์ต้องห้าม เหตุจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 5 หมื่น และสิทธิฟ้องตกทอดสู่ทายาท
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันมิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมจำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครองแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมาคดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ3,000บาทคดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา12แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวสิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีบุกรุกที่ดินและข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์ รวมถึงการรับช่วงสิทธิจากผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกัน มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครอง แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา คดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ 3,000 บาท คดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการ-ครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว สิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่ หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการ-ครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว สิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่ หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมสร้างตนเองตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ แม้ครอบครองต่อเนื่องก็ไม่เกิดสิทธิ
ที่พิพาทเป็นที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวแม้จำเลยครอบครองที่พิพาทตลอดมาในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทก็ตามเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน5ปีนับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองหรืออาศัยในที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินแปลงโอนภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ยังไม่เกิดสิทธิครอบครอง โอน/สละสิทธิไม่ได้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามประมวลกฎหมายที่ดินฯไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นได้ ฉะนั้นแม้สัญญาจำนองที่ดินพิพาทจะเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ส่งมอบการครอบครองให้นับแต่วันที่โจทก์ทำสัญญาจำนองไว้ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดิน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครอง แม้ทำสัญญาจำนองเป็นการซื้อขายอำพราง
ที่ดินพิพาทโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์โจทก์ซึ่งยึดถือที่ดินพิพาทที่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามประมวลกฎหมายที่ดินโจทก์ไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 หรือ 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ด้วยเหตุนี้แม้จะฟังว่าสัญญาจำนองที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้นับแต่วันที่โจทก์ทำหนังสือสัญญาจำนองแก่จำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจยกเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: สิทธิยังไม่สมบูรณ์แม้มีการส่งมอบการครอบครอง
ที่ดินพิพาทโจทก์ได้รับมาตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511 ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งยึดถือที่ดินพิพาทที่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามประมวลกฎหมายที่ดิน โจทก์ไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 หรือ1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ ด้วยเหตุนี้แม้จะฟังว่าสัญญาจำนองที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้นับแต่วันที่โจทก์ทำหนังสือสัญญาจำนองแก่จำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจยกเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินจากการตกทอดทางมรดกและการแบ่งทรัพย์มรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่พิพาทเป็นของสหกรณ์นิคมจัดสรรให้มารดาของโจทก์และจำเลยทำกินเนื่องจากมารดาของโจทก์และจำเลยชรามากและเจ็บป่วยไม่สะดวกที่จะเข้าประชุมได้ จึงให้จำเลยถือสิทธิแทน ดังนี้เมื่อมารดาตายสิทธิในที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกซึ่งจะต้องตกเป็นของทายาทตามกฎหมายจำเลยเป็นเพียงผู้ถือสิทธิแทนทายาท กรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทได้มีการไกล่เกลี่ยและตกลงกันเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งการโอนด้วยการตกทอดโดยทางมรดกเป็นข้อยกเว้นตาม มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 อนุญาตให้ทำได้ สัญญาดังกล่าวหาได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายอันจะตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินมรดกผ่านสัญญาแบ่งทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่พิพาทเป็นของสหกรณ์นิคมจัดสรรให้มารดาของโจทก์และจำเลยทำกิน เนื่องจากมารดาของโจทก์และจำเลยชรามากและเจ็บป่วยไม่สะดวกที่จะเข้าประชุมได้ จึงให้จำเลยถือสิทธิแทน ดังนี้เมื่อมารดาตายสิทธิในที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกซึ่งจะต้องตกเป็นของทายาทตามกฎหมาย จำเลยเป็นเพียงผู้ถือสิทธิแทนทายาท กรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทได้มีการไกล่เกลี่ยและตกลงกันเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งการโอนด้วยการตกทอดโดยทางมรดกเป็นข้อยกเว้นตาม มาตรา12 แห่ง พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 อนุญาตให้ทำได้ สัญญาดังกล่าวหาได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายอันจะตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และการครอบครองปรปักษ์ที่ต้องพ้นระยะห้ามโอน
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้น แม้ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากผ. สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาได้ไม่ แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพและการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของเดิม
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้นแม้ ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจาก ผ.สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาได้ไม่
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว