พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การรับสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือ และการปรับบทลงโทษฐานชิงทรัพย์
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่ว่าในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำผิดเป็นคำบอกเล่าจากจำเลยที่ 1 เมื่อประจักษ์พยานเบิกความว่าไม่เห็นจำเลยที่ 2 ในคืนเกิดเหตุ คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจึงยังไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ที่ศาลล่างลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะจึงไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความร้ายแรงของบาดแผลเพื่อกำหนดความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ – อันตรายแก่กาย
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นบาดแผลรอยแดงๆบวมช้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง1เซนติเมตรรักษาประมาณ3วันหายยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายจำเลยคงมีความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์โดยมีอาวุธในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา339วรรคสองไม่ใช่มาตรา339วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความรุนแรงของบาดแผลทางกายเพื่อกำหนดความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นบาดแผลรอยแดง ๆ บวมช้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร รักษาประมาณ 3 วันหาย ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยคงมีความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์โดยมีอาวุธในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสอง ไม่ใช่มาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการชิงทรัพย์: การกระทำที่เกินกว่าการช่วยเหลือเบื้องต้น ทำให้มีความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ออกนอกเส้นทางพาผู้เสียหายไปที่เกิดเหตุ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 คอยอยู่แล้วปล่อยให้ผู้เสียหายอยู่ในที่เกิดเหตุ ขณะจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่คอยช่วยเหลือจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ถือว่าเป็นตัวการร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหาย เป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินเจตนาการกระทำ: จากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย เนื่องจากพฤติการณ์แสดงเจตนาให้หยุดการกระทำมากกว่ามุ่งหวังเอาชีวิต
บันทึกการจับกุมที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงชื่อ 16 คนแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุมทั้งหมดจะไปร่วมจับกุมด้วยหรือไม่ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 คนร่วมทำการจับคนร้ายจริง แม้บันทึกบางส่วนจะไม่เป็นจริงก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียไป จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ. ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ. เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ. ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 เท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289,339,340 ตรี ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 ซึ่งเป็นความผิดตามที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า vs. ทำร้ายร่างกาย: ศาลลงโทษตามความผิดที่รวมอยู่ด้วยได้
บันทึกการจับกุมที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงชื่อ 16 คน แม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุมทั้งหมดจะไปร่วมจับกุมด้วยหรือไม่แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 คน ร่วมทำการจับคนร้ายจริง แม้บันทึกบางส่วนจะไม่เป็นจริง ก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียไป
จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ.ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้ การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ.เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ.ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289, 339, 340 ตรีทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ.มาตรา 296ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ.ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้ การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ.เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ.ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289, 339, 340 ตรีทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ.มาตรา 296ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชิงทรัพย์ต่อเนื่องกับการทำร้ายร่างกาย ผู้กระทำผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยใช้สนับมือเป็นอาวุธทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กาย แล้วเข้าค้นเอาทรัพย์จากกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหายไปโดยเจตนาทุจริต และจำเลยยังได้ปัสสาวะรดใส่ศีรษะผู้เสียหายและขู่ผู้เสียหายว่าถ้าบอกพ่อแม่จะฆ่าล้างโคตร การทำร้ายและการค้นเอาทรัพย์กระทำต่อเนื่องกันไป หลังจากได้ทรัพย์แล้วยังมีการข่มขู่ผู้เสียหายอีก ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำการทั้งหมดเป็นอันเดียวกันมาแต่ต้น หาใช่เจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแต่แรกแล้วเกิดเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหายขึ้นภายหลังไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ฎีกาของจำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงซึ่งไม่มีปรากฏในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพื่อจะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องว่าผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์นั้น เป็นข้อกฎหมายที่ไร้สาระเพราะเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง ย่อมไม่เกิดข้อกฎหมายอันจะเป็นสาระแก่คดีขึ้นได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้ยาสลบทำให้หมดสติ ถือเป็นอันตรายแก่จิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม
จำเลยกับพวกใช้ยากดประสาทอย่างแรงใส่ลงในกาแฟให้ผู้เสียหายดื่ม เมื่อผู้เสียหายดื่มแล้วสิ้นสติไปแทบจะทันทีแล้วจำเลยกับพวกได้ลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ผู้เสียหายฟื้นคืนสติที่โรงพยาบาลหลังจากเวลาล่วงไปประมาณ 12 ชั่วโมงดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้รับอันตรายแก่กายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือได้ว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจของผู้เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้ยาสลบทำให้หมดสติ ถือเป็นอันตรายแก่จิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม
จำเลยกับพวกใช้ยากดประสาทอย่างแรงใส่ลงในกาแฟให้ผู้เสียหายดื่มเมื่อผู้เสียหายดื่มแล้วสิ้นสติไปแทบจะทันที แล้วจำเลยกับพวกได้ลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ผู้เสียหายฟื้นคืนสติที่โรงพยาบาลหลังจากเวลาล่วงไปประมาณ 12 ชั่วโมงดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้รับอันตรายแก่กายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือได้ว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจของผู้เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2531).
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2531).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้ยาสลบทำให้หมดสติ ถือเป็นอันตรายต่อจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม
จำเลยกับพวกใช้ยากดประสาทอย่างแรงใส่ลงในกาแฟให้ผู้เสียหายดื่มเมื่อผู้เสียหายดื่มแล้วสิ้นสติไปแทบจะทันที แล้วจำเลยกับพวกได้ลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ผู้เสียหายฟื้นคืนสติที่โรงพยาบาลหลังจากเวลาล่วงไปประมาณ 12 ชั่วโมงดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้รับอันตรายแก่กายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือได้ว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจของผู้เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2531).