พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์และลักทรัพย์: การแบ่งแยกความผิดฐานชิงทรัพย์และลักทรัพย์เมื่อมีเจตนาทุจริตเกิดขึ้นภายหลัง
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ติดตามผู้เสียหายมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปจอดที่ลานจอดรถในมหาวิทยาลัย น. ผู้เสียหายยังไม่ได้ลงจากรถ จำเลยเดินมาจากด้านหลังของผู้เสียหายแล้วถามผู้เสียหายว่ามีเงินเท่าใด จากนั้นเข้าประชิดตัวผู้เสียหายพร้อมกับทำท่าจะล้วงอาวุธจากขอบกางเกงข้างหลัง ลักษณะการกระทำของจำเลยดังกล่าวเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการข่มขู่คุกคามผู้เสียหาย โดยเฉพาะจำเลยเป็นชายอยู่ในวัยฉกรรจ์ ร่างกายล่ำกำยำ สูงกว่าผู้เสียหายมาก ส่วนผู้เสียหายเป็นหญิง กำลังศึกษา ย่อมเกิดความเกรงกลัวจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย การที่จำเลยกระทำและพูดกับผู้เสียหายเช่นนั้น เพื่อให้ผู้เสียหายส่งเงินให้แก่จำเลย เมื่อผู้เสียหายส่งเงินให้ 240 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 339 (2) วรรคสาม ประกอบมาตรา 340 ตรี โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยเป็นผู้หยิบเอาทรัพย์นั้นเอง หรือผู้เสียหายเป็นผู้หยิบส่งให้ไป
การที่ผู้เสียหายเบิกความว่า หลังจากส่งเงินให้จำเลยแล้ว จำเลยกอดปล้ำพยายามดึงกางเกง ผู้เสียหาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา จึงถอดสร้อยคอทองคำที่สวมให้จำเลยไปเอง โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยขู่เข็ญหรือใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อมุ่งประสงค์ต่อสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่ผู้เสียหายคิดว่า เมื่อจำเลยได้สร้อยคอทองคำแล้ว จะปล่อยตัวผู้เสียหายไป การที่จำเลยรับสร้อยคอทองคำไป จึงเป็นเจตนาทุจริตที่เกิดขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่งแยกต่างหากจากฐานชิงทรัพย์เงิน 240 บาท เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นความผิดที่รวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วย แม้โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์เงินสดและสร้อยคอทองคำ แต่เมื่อพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยคอทองคำ ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดและบทลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคท้าย, 195 วรรคสอง, 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์อีกกระทงได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225
การที่ผู้เสียหายเบิกความว่า หลังจากส่งเงินให้จำเลยแล้ว จำเลยกอดปล้ำพยายามดึงกางเกง ผู้เสียหาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา จึงถอดสร้อยคอทองคำที่สวมให้จำเลยไปเอง โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยขู่เข็ญหรือใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อมุ่งประสงค์ต่อสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่ผู้เสียหายคิดว่า เมื่อจำเลยได้สร้อยคอทองคำแล้ว จะปล่อยตัวผู้เสียหายไป การที่จำเลยรับสร้อยคอทองคำไป จึงเป็นเจตนาทุจริตที่เกิดขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่งแยกต่างหากจากฐานชิงทรัพย์เงิน 240 บาท เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นความผิดที่รวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วย แม้โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์เงินสดและสร้อยคอทองคำ แต่เมื่อพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยคอทองคำ ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดและบทลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคท้าย, 195 วรรคสอง, 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์อีกกระทงได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13485/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานชิงทรัพย์และการทำร้ายร่างกายในกรรมเดียว ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ลงโทษเฉพาะความผิดฐานชิงทรัพย์
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แม้จะระบุข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแล้วบังคับให้บอกที่ซ่อนทรัพย์และเมื่อได้ทรัพย์จำนวนน้อยก็ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอีก เป็นเพียงการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อให้ครบองค์ประกอบในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ตามคำขอท้ายฟ้องอันเป็นความผิดกรรมเดียวเท่านั้น เมื่อลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายแล้วจะลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นอีกกรรมหนึ่งไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรม ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ และการสมคบร่วมกันกระทำความผิด
ขณะผู้เสียหายที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ไปตามถนน จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมี ศ. นั่งซ้อนท้ายตามหลังรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 แสดงว่าจำเลยกับ ศ. ขับรถจักรยานยนต์ของกลางตามรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 มาด้วยกันตั้งแต่ต้น เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 เครื่องดับ ศ. ได้เล็งอาวุธปืนมาที่ผู้เสียหายที่ 2 แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 รถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 ได้ล้มลง ศ. เข้ามาขับรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 หลบหนีพร้อมกับจำเลย แม้จำเลยจะมิได้ทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และมิได้พารถจักรยานยนต์ ผู้เสียหายที่ 2 ไป แต่จำเลยก็อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุตลอดเวลา หลังจากเกิดเหตุจำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไปพร้อมกับ ศ. พฤติการณ์ของจำเลยกับ ศ. เป็นการวางแผนกันมาก่อนและเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการสมคบร่วมกระทำความผิดกับ ศ. เพื่อชิงทรัพย์มาตั้งแต่ต้น มิใช่เจตนาเพียงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
จำเลยกับ ศ. สมคบกันมาตั้งแต่ต้นเพื่อชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยเห็น ศ. พกอาวุธปืนมาด้วย ซึ่งการสมคบกันมาชิงทรัพย์นี้จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่า ศ. ย่อมจะใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยไม่ทราบและไม่เกี่ยวข้องด้วยหาได้ไม่ ประกอบกับในการชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางพา ศ. มาชิงทรัพย์ ซึ่ง ศ. ได้เล็งอาวุธปืนไปที่ผู้เสียหายที่ 2 แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะ
จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมี ศ. นั่งซ้อนท้ายติดตามรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายที่ 2 ขับมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งติดตามมาทันเนื่องจากรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 เกิดเหตุเครื่องดับกะทันหัน แล้วจำเลยกับ ศ. ร่วมกันชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 จากนั้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป แสดงให้เห็นว่า หากจำเลยกับ ศ. ไม่ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขับติดตามรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 ก็จะไม่สามารถติดตามผู้เสียหายที่ 2 ได้ทัน และทำการชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 สำเร็จ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ อันพึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
จำเลยกับ ศ. สมคบกันมาตั้งแต่ต้นเพื่อชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยเห็น ศ. พกอาวุธปืนมาด้วย ซึ่งการสมคบกันมาชิงทรัพย์นี้จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่า ศ. ย่อมจะใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยไม่ทราบและไม่เกี่ยวข้องด้วยหาได้ไม่ ประกอบกับในการชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางพา ศ. มาชิงทรัพย์ ซึ่ง ศ. ได้เล็งอาวุธปืนไปที่ผู้เสียหายที่ 2 แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะ
จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมี ศ. นั่งซ้อนท้ายติดตามรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายที่ 2 ขับมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งติดตามมาทันเนื่องจากรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 เกิดเหตุเครื่องดับกะทันหัน แล้วจำเลยกับ ศ. ร่วมกันชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 จากนั้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป แสดงให้เห็นว่า หากจำเลยกับ ศ. ไม่ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขับติดตามรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 ก็จะไม่สามารถติดตามผู้เสียหายที่ 2 ได้ทัน และทำการชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 สำเร็จ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ อันพึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ และการใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
++ เรื่อง ชิงทรัพย์ ++
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังทำร้ายผู้ร่วมกระทำผิดไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ องค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์
การใช้กำลังประทุษร้ายอันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคแรก นั้น ต้องเป็นการประทุษร้ายต่อบุคคลอื่น มิใช่กระทำต่อคนร้าย ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ถีบหลังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนร้ายร่วมกระทำความผิดด้วยกันล้มลงแม้จะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายจำเลยที่ 1 ในขณะจำเลยที่ 1 เดินตามผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคแรก
จำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ได้ชี้มือไปทางผู้เสียหายและวิ่งตามไป แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีอาวุธใดติดตัวมาด้วยหรือแสดงอากรหรือวาจาข่มขู่ผู้เสียหาย จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์และทำให้การกระทำของจำเลยทั้งสามขาดองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง จำเลยทั้งสามคงมีความผิดฐานร่วมลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 336 ทวิ
จำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ได้ชี้มือไปทางผู้เสียหายและวิ่งตามไป แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีอาวุธใดติดตัวมาด้วยหรือแสดงอากรหรือวาจาข่มขู่ผู้เสียหาย จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์และทำให้การกระทำของจำเลยทั้งสามขาดองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง จำเลยทั้งสามคงมีความผิดฐานร่วมลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 336 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์และการริบของกลาง: การประเมินความร้ายแรงของบาดแผลและการใช้ยานพาหนะ
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นบาดแผลฟกช้ำบริเวณหน้าผากด้านขวาและคอด้านข้างแถบขวาชัดเจน ใช้เวลารักษาประมาณ 3 วันหาย จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย
พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่เพียงขับรถจักรยานยนต์ไปจอดรอจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายบริเวณริมถนนฝั่งตรงข้ามกับที่เกิดเหตุ เป็นเพียงการใช้รถจักรยานยนต์ไปและกลับจากการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) แล้ว จึงไม่อาจริบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางได้เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวทั้งหมดเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่เพียงขับรถจักรยานยนต์ไปจอดรอจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายบริเวณริมถนนฝั่งตรงข้ามกับที่เกิดเหตุ เป็นเพียงการใช้รถจักรยานยนต์ไปและกลับจากการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) แล้ว จึงไม่อาจริบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางได้เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวทั้งหมดเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ พยานหลักฐานเพียงปากเดียวแต่มีเหตุผลน่าเชื่อถือ
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวมาเบิกความแต่ผู้เสียหายก็เบิกความยืนยันข้อเท็จจริงชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนสอดคล้องต้องกันอย่างมีเหตุมีผล ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นคนตำบลเดียวกัน เคยเห็นหน้ากันบ่อยครั้งเพียงแต่ไม่เคยพูดคุยกัน สถานที่เกิดเหตุก็เป็นริมถนนที่โล่งแจ้งในเวลากลางวัน จำเลยไม่มีอุปกรณ์ใดปกปิดหรืออำพรางใบหน้าประกอบกับขณะที่จำเลยลงจากรถจะมาเก็บเอาสร้อยคอทองคำที่ตกอยู่ริมถนนได้มีการพูดโต้ตอบกับผู้เสียหายอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ผู้เสียหายมีโอกาสมองเห็นและจดจำรูปร่างหน้าตากันได้ ส่วนที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีโดยอ้างฐานที่อยู่นั้น นอกจากจะไม่มีเหตุผลในการรับฟังแล้วยังไม่น่าเชื่อ ไม่อาจรับฟังเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายผู้เสียหายยืนยันว่าได้รับบาดเจ็บที่แขนทั้งสองข้าง หัวเข่า และใบหน้าถลอกมีโลหิตไหล แม้ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลไม่ระบุว่ามีโลหิตไหลหรือไม่ก็อาจจะเป็นเพราะแพทย์ตรวจภายหลังเกิดเหตุถึง 2 วันก็เป็นได้ จากบาดแผลดังกล่าวถือได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสามแล้ว
การที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากระทำการชิงทรัพย์จนได้ทรัพย์ไปเรียบร้อย โดยพวกของจำเลยติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่แล้วจำเลยได้เดินไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์ที่พวกของจำเลยติดเครื่องรออยู่นั้นเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
การที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากระทำการชิงทรัพย์จนได้ทรัพย์ไปเรียบร้อย โดยพวกของจำเลยติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่แล้วจำเลยได้เดินไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์ที่พวกของจำเลยติดเครื่องรออยู่นั้นเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ พยานหลักฐานเพียงปากเดียวแต่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียว แต่ผู้เสียหายก็เบิกความได้ข้อเท็จจริงชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนสอดคล้องกันอย่างมีเหตุมีผล ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นคนตำบลเดียวกัน เคยเห็นหน้ากันบ่อยครั้งเพียงแต่ไม่เคยพูดคุยกัน สถานที่เกิดเหตุอยู่ริมถนนที่โล่งแจ้งในเวลากลางวัน จำเลยไม่ได้ปกปิดหรืออำพรางใบหน้า ผู้เสียหายมีโอกาสมองเห็นและจดจำรูปร่างหน้าตาจำเลยได้ ที่ผู้เสียหายยืนยันตลอดมาว่าสามารถจดจำจำเลยได้จึงน่าเชื่อ พยานฐานที่อยู่ของจำเลย ไม่อาจรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นคนร้ายกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยกระทำการชิงทรัพย์โดยจำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งพวกของจำเลยเป็นผู้ขับแล่นคู่กับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จำเลยถีบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายพร้อมกระตุกสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทางด้านหลัง ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายล้มลง ผู้เสียหายกระเด็นออกไปจากรถและได้รับบาดเจ็บที่แขนทั้งสองข้าง หัวเข่า และใบหน้าถลอกมีโลหิตไหล ถือได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม
การที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากระทำการชิงทรัพย์จนได้ทรัพย์ไป โดยพวกของจำเลยติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่ แล้วจำเลยเดินไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์หลบหนี แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
จำเลยกระทำการชิงทรัพย์โดยจำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งพวกของจำเลยเป็นผู้ขับแล่นคู่กับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จำเลยถีบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายพร้อมกระตุกสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทางด้านหลัง ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายล้มลง ผู้เสียหายกระเด็นออกไปจากรถและได้รับบาดเจ็บที่แขนทั้งสองข้าง หัวเข่า และใบหน้าถลอกมีโลหิตไหล ถือได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม
การที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากระทำการชิงทรัพย์จนได้ทรัพย์ไป โดยพวกของจำเลยติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่ แล้วจำเลยเดินไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์หลบหนี แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังข่มขู่, การรับสารภาพหลังสืบพยาน, ดุลพินิจลดโทษ
จำเลยชวนผู้เสียหายไปร่วมหลับนอน จากนั้นทำร้ายร่างกายผูกปาก มัดผู้เสียหาย แล้วชิงเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเป็นจำนวนมาก ชั้นพิจารณาโจทก์มีพยานหลักฐานมั่นคงแน่นหนา เชื่อว่า จำเลยให้การรับสารภาพหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเนื่องจากจำนนต่อพยานหลักฐาน ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยได้คืนของกลางหรือชดใช้ราคาทรัพย์ให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงเหลือโทษจำคุกเพียง 7 ปี เป็นคุณแก่จำเลยมากอยู่แล้ว แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยจะมีอายุ 19 ปี ก็ไม่มีเหตุที่จะลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษให้จำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยชวนผู้เสียหายไปร่วมหลับนอนจากนั้นทำร้ายร่างกายผูกปากมัดผู้เสียหายแล้วชิงเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเป็นจำนวนมากชั้นพิจารณาโจทก์มีพยานหลักฐานมั่นคงแน่นหนาเชื่อว่าจำเลยที่ให้การรับสารภาพหนังสือพยานโจทก์เสร็จแล้วเนื่องจากจำนนต่อพยานหลักฐานทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คืนของกลางหรือชดใช้ราคาทรัพย์ให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใดการที่ศาลล่างทั้งสองให้ดุลพินิจลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงเหลือโทษจำคุกเพียง7ปีเป็นคุณแก่จำเลยมากอยู่แล้วแม้ขณะเกิดเหตุจำเลยจะมีอายุ19ปีก็ไม่มีเหตุที่จะลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษให้จำเลยอีก