คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 882

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความประกันภัย: วันเกิดเหตุวินาศภัยคือวันลักทรัพย์สำเร็จ ไม่ใช่แค่วันส่งมอบรถ
เมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดว่า การกระทำความผิดของ บ. เป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ดังนั้น ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 ที่ผู้ร้องส่งมอบรถยนต์ให้แก่ บ. กับพวก ในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของอุบายที่ บ. กับพวก วางแผนไว้เพื่อประสงค์จะลักทรัพย์ตามที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด แต่ในการนี้ บ. กับพวก ยังมิได้ลงมือแย่งการครอบครองหรือเอารถยนต์ไปจากผู้ร้อง ไม่อาจถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ลักทรัพย์สำเร็จ แต่ถือได้ว่าวันที่ร้องทุกข์เป็นวันที่ผู้ร้องถูก บ. กับพวกลักรถยนต์ไปอันเป็นวันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 จึงไม่เป็นการยื่นคำเสนอข้อพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยโดยปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องและปรากฏต่อศาลว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กรณีจึงมีเหตุเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีประกันภัย: วันวินาศภัยที่ถูกต้องและการเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอ้างว่า
การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข)
ปัญหาวินิจฉัยจึงมีว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดว่าข้อพิพาทของผู้ร้องขาดอายุความโดยถือวันที่ผู้ร้องนำรถยนต์ไปให้เช่าเป็นวันวินาศภัยนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่
แต่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ซึ่งไม่ตรงกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี
แล้ววินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำเข้าไต่สวนไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นไปตาม
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40
โดยไม่ได้วินิจฉัยว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ว่าวันวินาศภัยหรือวันที่ผู้ร้องส่งมอบรถยนต์ให้แก่
บ. ผู้หลอกลวง อันนำไปสู่การวินิจฉัยว่าการเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องขาดอายุความนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่แต่อย่างใด
จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
เมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดว่า
การกระทำความผิดของ บ. เป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ดังนี้ ในวันที่ 13
มกราคม 2558 ที่ผู้ร้องส่งมอบรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่ บ. กับพวก แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของอุบายที่ บ. กับพวกวางแผนไว้เพื่อประสงค์จะลักทรัพย์ตามที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด
แต่ในขณะนั้น บ. กับพวกยังมิได้ลงมือแย่งการครอบครองหรือเอารถยนต์ไปจากผู้ร้อง ไม่อาจถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ลักทรัพย์สำเร็จ
ต่อมาเมื่อ บ. กับพวกไม่ชำระค่าเช่าแล้วพากันหลบหนีไปพร้อมรถยนต์คันดังกล่าว ถือได้ว่า บ. กับพวกเอารถยนต์คันดังกล่าวไปจากการครอบครองของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องไม่อาจตามหาตัว
บ. กับพวกได้และเข้าร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อวันที่
13 พฤษภาคม 2558 จึงถือได้ว่าวันที่ร้องทุกข์เป็นวันที่ผู้ร้องถูก บ. กับพวกลักรถยนต์ไปอันเป็นวันวินาศภัยตาม
ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
เมื่อผู้ร้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 จึงยังไม่พ้นกำหนด
2 ปี คดีของผู้ร้องยังไม่ขาดอายุความ ดังนั้น ที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดว่า
วันที่ผู้ร้องส่งมอบรถยนต์เป็นวันวินาศภัย ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 882 จึงเป็นการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงการวินิจฉัยอายุความเท่านั้น
การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทประกันภัยรถยนต์: อายุความ, อนุญาโตตุลาการ, และการดำเนินการพิจารณาที่ชอบ
เมื่อข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัย 2 ฉบับนี้เป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ผู้รับประกันภัยค้ำจุนทำกับผู้เอาประกันภัยให้สิทธิผู้มีสิทธิเรียกร้องซึ่งก็คือ ผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลผู้ต้องเสียหายจากวินาศภัยมีสิทธิใช้วิธีอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทได้ถ้าประสงค์หรือเห็นควร กรณีย่อมแตกต่างจากการที่คู่สัญญาอนุญาโตตุลาการตกลงกันไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการว่าหากเกิดข้อพิพาทระหว่างกันให้ระงับข้อพิพาทนั้นโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ ซึ่งหากมีข้อตกลงนี้คู่สัญญาย่อมไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ฉะนั้น ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ผู้ร้องจึงอาจเลือกใช้วิธีอนุญาโตตุลาการยื่นคำเสนอข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยระหว่างตนกับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต่ออนุญาโตตุลาการของสำนักงานคณะกรรมการดังกล่าวได้ แม้ตนจะยื่นฟ้องคดีแพ่งผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับผู้คัดค้านทั้งสองเรียกร้องให้รับผิดทางละเมิดแล้วก็ตาม การใช้สิทธิยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการของผู้ร้องจึงไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
ผู้ร้องเป็นผู้ประสบภัยจากรถ และเป็นบุคคลผู้ต้องเสียหายตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นการเรียกจากผู้รับประกันภัยตรงตามกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับการที่เจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ศาลเป็นผู้พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท จึงต้องเรียกภายใน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย และการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเสนอข้อพิพาทเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ย่อมไม่ทำให้อายุความเรียกร้องทางแพ่งหรือฟ้องคดีแพ่งสะดุดหยุดลง ซึ่งวันวินาศภัยก็คือวันเกิดเหตุรถเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้บุตรของผู้ร้องถึงแก่ความตาย หาใช่วันที่ยื่นฟ้องคดีแพ่งเพราะเป็นวันที่มีการคำนวณค่าเสียหายเพื่อเรียกร้องแล้วไม่ ทั้งก็ไม่ได้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เพราะเหตุผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งรับค้ำจุนในบรรดาหนี้ทั้งปวงที่มีต่อผู้เสียหายซึ่งก็คือผู้ร้อง เนื่องจากแม้มีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน แต่กำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น
กรณีที่คู่พิพาทมิได้กำหนดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับข้อพิพาท ก็ต้องใช้กฎหมายไทยบังคับ รวมถึง ป.วิ.พ. ด้วย ซึ่งก่อนมีคำวินิจฉัยชี้ขาดอนุญาโตตุลาการก็ให้โอกาสผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องขอชี้ขาดเบื้องต้นนั้นแล้ว จากนั้นจึงสั่งงดการชี้สองสถานและปิดการพิจารณา ไม่นำสืบพยานหลักฐานและเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของผู้ร้องต่อไป ซึ่งก็สั่งเช่นนี้ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงอื่นจากพยานหลักฐานใดของทั้งสองฝ่ายมานำสืบอีก การพิจารณาดังกล่าวของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควรในอำนาจของตน เป็นการพิจารณาข้อพิพาทโดยชอบและปฏิบัติต่อผู้ร้องซึ่งเป็นคู่พิพาทอีกฝ่ายอย่างเท่าเทียมเสมอภาคกันกับฝ่ายผู้คัดค้าน และให้โอกาสผู้ร้องเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของตนได้ตามพฤติการณ์แห่งข้อพิพาทแล้ว ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวของอนุญาโตตุลาการไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีสาเหตุที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันพิพากษาคดีอาญา
แม้โจทก์จะฟ้องขอค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองโดยมีมูลเหตุจากการที่ จ. ขับรถบรรทุกชน ศ. บุตรโจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้เอาประกันภัย เรียกให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 มิใช่นับแต่ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8896/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: โจทก์รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใด?
แม้จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลา 2 ปี (มิใช่ 1 ปี) นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542 อันเป็นวันเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน แต่เมื่อตามคำฟ้องและข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ถือได้ว่าจำเลยได้ยกอายุความเรื่องละเมิดตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ขึ้นต่อสู้แล้ว ประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นอายุความเรื่องละเมิด ศาลก็ต้องยกอายุความเรื่องละเมิดขึ้นปรับแก่คดี เพราะการจะปรับบทมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11695-11698/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนและผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางอากาศ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 1 ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1 เพื่อความเสียหายอันเกิดแก่สินค้าที่จำเลยที่ 1 รับขนแก่ผู้เสียหาย และ ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับแก่ความรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนด้วย ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัย สินค้าเกิดความเสียหายหลังจากจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ ก. ขนส่งทางอากาศยานกรุงเทพไปถึงท่าอากาศยานเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อผู้รับตราส่งได้รับสินค้าจึงพบเห็นความเสียหายของสินค้า กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าวันที่ผู้รับตราส่งพบความเสียหายของสินค้าเป็นวันที่เกิดความเสียหายหรือวันวินาศภัย
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ไปรับมอบสินค้าจากโรงงานโจทก์และขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ ว. ที่ประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มียานพาหนะเป็นของตนเอง จึงว่าจ้าง ก. เป็นผู้ขนส่งแทน จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งและ ก. เป็นผู้ขนส่งคนอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทไปอีกทอดหนึ่ง แม้ความเสียหายของสินค้ามิได้เกิดขึ้นระหว่างที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลครอบครองของจำเลยที่ 1 แต่อยู่ในความดูแลของ ก. จำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท
แม้สินค้าแต่ละกล่องมีน้ำหนักมากกว่า 600 กิโลกรัม แต่กล่องกระดาษมีขนาด 105 ? 98 ? 108 เซนติเมตร พร้อมฝาปิด มีความหนาของกระดาษ 1.5 เซนติเมตร กล่องที่บรรจุสินค้าพิพาทแล้วจะปิดฝากล่องแล้วผนึกด้วยผ้าเทปกาวรอบกล่องอย่างแน่นหนา รัดรอบกล่องตามแนวตั้งและแนวนอนด้วยสายรัดพลาสติก แนวละ 2 เส้น กล่องสินค้าพิพาททุกกล่องจะวางบนแผงไม้รองสินค้า 1 แผง และยึดติดกันด้วยสายรัดพลาสติกดังกล่าว นับว่าการบรรจุและหีบห่อสินค้าพิพาทมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอและเหมาะสมแก่การขนส่งทางอากาศ
การซื้อขายสินค้าตามฟ้องเป็นสัญญาซื้อขายในเทอม DDU (Delivery Duty Unpaid) หมายความว่า ผู้ขายมีหน้าที่นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่อยู่ของผู้ซื้อ ยกเว้นหน้าที่ในการนำเข้าของสินค้าท่าปลายทาง ดังนั้นราคาสินค้ารวมค่าระวางขนส่งทั้งหมดและค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรนำสินค้าส่งออก และผู้ซื้อจะชำระราคาเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในค่าระวางขนส่งและค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรส่งออกสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ผู้ขายที่จะต้องไปดำเนินการ การที่โจทก์ไปดำเนินพิธีศุลกากรนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งด้วย โดยโจทก์มิได้นำสืบว่ามีข้อตกลงในสัญญาซื้อขายให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวด้วย โจทก์จึงชอบที่จะไปทวงถามให้ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งรับผิดชอบ จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เฉพาะมูลค่าของสินค้าพิพาทที่เสียหายเท่านั้น
ความรับผิดของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามสัญญารับขนของในฐานะผู้ขนส่งมิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น โดยเฉพาะกรณีที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน โจทก์จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ต่อเมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เมื่อใด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคดีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันภัยผ่านตัวแทนในไทย ทำให้กฎหมายไทยใช้บังคับ แม้โจทก์เป็นชาวต่างชาติ คดีขาดอายุความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศอังกฤษมอบหมายให้บริษัท ท. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทยเป็นตัวแทนติดต่อจำเลยที่ประเทศไทยเพื่อประกันภัยอุปกรณ์สำหรับการถ่ายทอดโทรทัศน์ของโจทก์ เมื่อคู่สัญญามิได้แสดงเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สัญญาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์มี ภ. ซึ่งเป็นผู้จัดการของบริษัท ท. เป็นตัวแทนในการติดต่อทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยในประเทศไทยการที่จำเลยตกลงรับประกันภัยและส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่บริษัท ท. ต้องถือว่าสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยทำหรือเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงต้องนำกฎหมายไทยมาใช้บังคับกับผลของสัญญาประกันภัยดังกล่าว ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13 วรรคสอง สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่ทำสัญญาประกันภัยและการบังคับใช้กฎหมายไทย กรณีสัญญาทำผ่านตัวแทนในไทย
โจทก์มอบให้บริษัท ท. เป็นผู้เช่าอุปกรณ์เพื่อใช้ในการถ่ายทอดโทรทัศน์จากโจทก์ ทั้งยังให้บริษัท ท. ชำระค่าเบี้ยประกันภัย และมีชื่อเป็นผู้เอาประกันภัยด้วย คำบรรยายฟ้องก็ระบุว่ามอบหมายให้บริษัท ท. ซึ่งอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยที่อยู่ในประเทศไทย เมื่อบริษัท ท. เป็นตัวแทนติดต่อขอเอาประกันภัยอุปกรณ์กับจำเลย จำเลยตกลงรับประกันภัยอุปกรณ์พร้อมกับส่งกรมธรรม์ประกันภัยไปให้บริษัท ท. ซึ่งมีภูมิลำเนาในประเทศไทย จึงถือว่าสัญญาดังกล่าวทำหรือเกิดขึ้นในประเทศไทยและต้องนำกฎหมายไทยมาใช้บังคับกับผลของสัญญาประกันภัยตามมาตรา 13 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 ต้องนำกฎหมายไทยมาใช้บังคับกับผลของสัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882
??
??
??
??

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยทดรองจ่ายในคดีล้มละลาย: ไม่ใช่อายุความ 2 ปี แต่เป็น 10 ปี
หนี้ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองชำระให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินหลักประกันที่ลูกหนี้ได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้เพื่อประกันหนี้กู้ยืมเงินของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์ มิใช่การเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัยในระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัยอันจะอยุ่ในบังคับอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคสอง อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในกรณีเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความต่างกันระหว่างผู้ทำละเมิด/นายจ้าง กับ ผู้รับประกันภัย คดีละเมิดและสัญญาประกันภัยแยกพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 จึงแตกต่างกัน สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง เมื่ออายุความฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 สามารถแยกออกจากกันได้ตามมาตรา 295 ที่กำหนดให้อายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ขึ้นต่อสู้ได้
of 10