คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 882

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด, การรับผิดของนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย, และดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปตามถนนพหลโยธินซึ่งแบ่งเส้นทางจราจรเป็น 2 ช่องเดินรถ โดยมีเกาะกลางถนนคั่นเมื่อถึงหน้ากรมการขนส่งทางบก จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทด้วยความเร็วสูง ไม่ระมัดระวังในการบังคับรถ เป็นเหตุให้รถแล่นขึ้นมาบนเกาะกลางถนนชนเสาไฟฟ้าหักและเป็นเหตุให้โคมไฟฟ้าสาธารณะของโจทก์ที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าดังกล่าวแตกเสียหาย ซึ่งเป็นการบรรยายถึงลักษณะแห่งความประมาทของจำเลยที่ 1 แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ส่วนจำเลยที่ 1 จะขับรถมาจากทิศทางใด จะไปไหนและออกนอกเส้นทางอย่างไรไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ผู้เดียว การที่ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจะถือว่าโจทก์รู้ด้วยไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงชื่อรับทราบและอนุมัติให้ฟ้องคดีในหนังสือแจ้งเหตุละเมิดและขออนุมัติฟ้องคดีในวันที่ 27มิถุนายน 2533 จึงถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2533 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2533 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างซึ่งกฎหมายกำหนดให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันทำละเมิดแก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน เพราะถือว่าจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด การที่โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ซ่อมโคมไฟฟ้าสาธารณะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น และโจทก์จะจ่ายเงินค่าซ่อมให้การไฟฟ้านครหลวง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าเสียหายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยที่ 3ได้รับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2532 แต่ไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยที่ 3จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัย: ต้องยกอายุความเรื่องการเรียกค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยขึ้นต่อสู้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยหากจำเลยที่3จะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ก็ต้องยกอายุความในการเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ว่าห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรกขึ้นต่อสู้มิฉะนั้นไม่เป็นประเด็นแห่งคดีและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้จำเลยที่3จึงฎีกาต่อมาไม่ได้เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องยกข้อต่อสู้เอง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเองไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดหากจำเลยจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยก็ต้องยกอายุความในการเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ว่าห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรกซึ่งบัญญัติไว้ต่างหากจากอายุความเรื่องละเมิดตามมาตรา448ขึ้นต่อสู้เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยขึ้นต่อสู้จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุน: การแยกพิจารณาอายุความของลูกหนี้ร่วม และการใช้บังคับอายุความตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จะนำอายุความ1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา 295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุนและลูกหนี้ร่วมกัน: ผลกระทบต่อจำเลยแต่ละคน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่งจะนำอายุความ 1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัย: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญา ไม่ใช่ละเมิด
การที่โจทก์ฟ้องคดีเพื่อให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีในมูลหนี้ละเมิด แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความ1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรก มาบังคับไม่ได้ หากจะนำมาตรา 448 วรรคแรกมาใช้บังคับจะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัยให้รับผิดด้วย และผู้เอาประกันภัยได้ยกอายุความเรื่องละเมิดขึ้นต่อสู้หากฟังได้ว่าฟ้องโจทก์สำหรับผู้เอาประกันภัยขาดอายุความเรื่องละเมิดผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและผู้ร่วมขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 แล้ว แต่จำเลยที่ 2ก็มิได้อ้างเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความว่าเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้รับตราส่ง ซึ่งต้องเสียหายเพราะของสูญหาย เนื่องจากความผิดของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งทางทะเลซึ่งโจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ประกอบด้วยมาตรา 4แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 624 ดังกล่าวหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก่อนเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ประกาศแจ้งความการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้รับตราส่งทราบ เมื่อเรือมาถึงจำเลยที่ 1 จะติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้ไปรับสินค้า หากมีค่าระวางเรือต้องเก็บปลายทางก็จะเป็นผู้เรียกเก็บไว้ โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว และเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้า ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บในโกดังนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้านั้นถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยค้ำจุน: ใช้มาตรา 882 ไม่ใช่ 448
ผู้ต้องเสียหายจากการกระทำละเมิดสามารถฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้ต้องเสียหายเข้าชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ในนามของโจทก์เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880 และกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 คือ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จะนำอายุความละเมิดตาม มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: 2 ปีนับจากวันเกิดวินาศภัย ไม่ใช่อายุความละเมิด
การฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก หาใช่นำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้ไม่ การยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และป.วิ.พ. มาตรา 57(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: นับจากวันเกิดวินาศภัย ตาม พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 882 ไม่ใช่อายุความละเมิด
จำเลยร่วมที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 1ที่ให้จำเลยร่วมที่ 1 เช่าซื้อไป และลูกจ้างได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปชนรถยนต์ของโจทก์ การฟ้องให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรกจึงนำอายุความในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้ไม่ได้เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกันวันที่ 28 ตุลาคม 2524 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมที่ 1ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2526 ถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 2 ใช้ค่าทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และอยู่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยร่วมที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
of 10