คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 882

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์: ใช้มาตรา 882 หรือ 448
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย อันเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง มีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรก จะนำเอาอายุความในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัย: สิทธิรับช่วงสิทธิ vs. มูลละเมิด
ผู้รับประกันภัยอาศัยสิทธิโดยการรับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยฟ้องเรียกเงินที่ได้ชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามสัญญาประกันภัยจากผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนประกันวินาศภัย: 2 ปีนับแต่วันเกิดเหตุ
ความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัย ซึ่งมีลักษณะเป็นการประกันวินาศภัย ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ลักษณะ 20หมวด 2 นั้น การฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต้องถืออายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีประกันภัย: ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยค้ำจุน ต้องใช้บังคับตามอายุความที่กำหนดไว้สำหรับประกันภัย ไม่ใช่อายุความในมูลละเมิด
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีประกันภัย: ฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องใช้ อายุความ 2 ปี ตาม พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 882 ไม่ใช่ อายุความละเมิด 1 ปี
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ใช้มาตรา 882 ไม่ใช่ 448
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ประเมินจากวันเกิดเหตุวินาศภัย ไม่ใช่มูลละเมิด
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6-8/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องประกันภัยค้ำจุน: ใช้ตามสัญญาประกันภัย 2 ปี ไม่ใช่ละเมิด 1 ปี และจำเลยต้องยกข้อต่อสู้ตั้งแต่ต้น
รถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้ชนโจทก์ โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 จำเลยจะยกอายุความละเมิดมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัยต้องใช้อายุความในเรื่องประกันภัย ตามมาตรา 882 เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัย คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มิได้ฟ้องผู้เอาประกันภัยภายในกำหนด1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ และจำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบด้วยเท่านั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและอาญา: การรู้ตัวผู้ละเมิดและการกระทำแทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอันมีผลเท่ากับเป็นการปฎิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดและคดีอาญาจากการชนรถยนต์ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น อันมีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
of 10