พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดจากการกระทำโดยประมาท: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา และอายุความ 1 ปี
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 152 เจ้าของรถยนต์ที่จำเลยขับชนได้รับความเสียหายย่อมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 56, 152 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนเจ้าของรถยนต์ดังนี้ การที่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้ พ.ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้ พ.ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเรื่องเอกสารปลอม อายุความ 10 ปีนับจากคดีอาญาถึงที่สุด
การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นเองว่าเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่ โจทก์ฟ้องจำเลยในทางแพ่งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายอันเนื่องมาจากจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม ก็โดยอาศัยเหตุจากที่โจทก์เคยแจ้งความร้องทุกข์ให้อัยการศาลทหารฟ้องจำเลยคดีก่อนในทางอาญาเรื่องจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว นับได้ว่าทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นสำคัญโดยตรงเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทกคดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่าจำเลยใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยก่อนที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32(มาตรา 168 เดิม) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสามคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 28 เมษายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2538ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเรื่องใช้เอกสารปลอม อายุความ 10 ปีนับจากคดีอาญาถึงที่สุด
การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นว่าเป็นการกระทำที่ เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องจำเลย ในทางแพ่งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายอันเนื่องมาจาก จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมก็โดยอาศัยเหตุจากที่โจทก์ เคยแจ้งความร้องทุกข์ให้อัยการศาลมณฑลทหารบกฟ้องจำเลย คดีก่อนในทางอาญาเรื่องจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว ซึ่งศาลมณฑลทหารบกพิพากษาลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว นับได้ว่าทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นสำคัญโดยตรงเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญา ดังนั้น ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ว่า จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยใช้เอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ก่อนที่ โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32(มาตรา 168 เดิม) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสามคดีอาญาก่อนถึงที่สุดวันที่ 28 เมษายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2538 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์ ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามทุนทรัพย์และอายุความฟ้องแย้ง: กรณีละเมิดจากการชนบนถนน
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์100,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ลูกจ้างของจำเลยมิได้ประมาทก็ดี ค่าเสียหายของโจทก์ไม่ควรเกินกว่า 30,000 บาท ก็ดี เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว.ให้รับผิดแต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว.จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และข้อยกเว้นความรับผิดของนายจ้าง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์100,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ลูกจ้างของจำเลยมิได้ประมาทก็ดี ค่าเสียหายของโจทก์ไม่ควรเกินกว่า 30,000 บาท ก็ดี เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: ฟ้องเกิน 1 ปี ถือหมดสิทธิ
แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาฐานบุกรุกที่พิพาทซึ่งเป็นที่มี น.ส.3 ก. ขณะที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทยังไม่เกิน 1 ปี และคดีอาญาดังกล่าวยังไม่เสร็จเด็ดขาด แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ไม่ใช่อายุความฟ้องร้องจึงนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองมิฉะนั้นหมดสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฟ้องแย่งการครอบครองไม่ใช่ อายุความ การดำเนินคดีอาญาไม่สะดุดอายุความฟ้องแพ่ง
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง แม้จะได้กำหนดว่าต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองก็ไม่ถือว่าเป็นอายุความฟ้องร้อง ดังนั้นแม้จะได้มีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยฐานบุกรุก ก็จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช่อายุความ สิทธิที่โจทก์จะฟ้องดำเนินคดีแพ่งหาได้สะดุดหยุดลงไม่โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: ศุลกากร vs. ภาษีทั่วไป, นับจากวันชำระเงินไม่ใช่คดีอาญา
อายุความในการเรียกค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ.2469 เป็นเรื่องอายุความเฉพาะกรณีที่กรมศุลกากรเรียกเงินอากรขาดเพราะเหตุตาม มาตรา 10 วรรคสาม แต่กรณีที่จำเลยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษี-อากร ซึ่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุ-ความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกค่าภาษีอากร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม คือสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม
ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1) และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษี-การค้า (ฉบับที่ 7)
การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความสิบปีนับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2518 หาใช่นับแต่คดีอาญาถึงที่สุดไม่
ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1) และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษี-การค้า (ฉบับที่ 7)
การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความสิบปีนับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2518 หาใช่นับแต่คดีอาญาถึงที่สุดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกค่าภาษีอากร: เจตนาหลีกเลี่ยง vs. เหตุสุดวิสัย และการนับอายุความที่ถูกต้อง
อายุความในการเรียกค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 เป็นเรื่องอายุความเฉพาะกรณีที่กรมศุลกากรเรียกเงินอากรขาดเพราะเหตุตาม มาตรา 10 วรรคสาม แต่กรณีที่จำเลยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร ซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 167 เดิม คือสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจริงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1)และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความคดีอาญาถึงที่สุดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การหลีกเลี่ยงภาษี, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา, และการนับอายุความที่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสองเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรขาเข้าโดยสำแดงเท็จในราคาสินค้าน้อยกว่าความจริงเป็นเหตุให้ชำระค่าอากรขาดซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกเอาค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม(193/31 ที่แก้ไขใหม่) ว่าสิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรท่านกำหนดให้มีอายุความ 10 ปี ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งถือเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความโดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม (193/31 ที่แก้ไขใหม่)เช่นกัน คือมีอายุความ 10 ปี จำเลยทั้งสองสำแดงราคาสินค้าเท็จในวันที่ขอให้พนักงานของโจทก์ออกใบขนสินค้า แม้มีความผิดทางอาญาแต่หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกันกับการกระทำความผิดในทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้า ดังนั้นจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา