พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
ฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความที่จะพึงเห็นได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำการมิชอบไม่สอบสวนพยานบุคคลที่โจทก์อ้าง จำเลยเสนอรายงานสรุปผลการสอบสวนอันเป็นเท็จและไขข่าวแพร่หลายผลการสอบสวนทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นความผิดทางอาญาต่อโจทก์ กรณีของโจทก์จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ใช้อายุความคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา51 แต่ต้องใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
โจทก์ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ทราบเหตุคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2528 เพราะอธิการวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชให้โจทก์ดูสำเนาหนังสือซึ่งกองทัพภาคที่ 4 ส่งมาโจทก์ได้อ่านข้อความในรายงานข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยเป็นผู้ส่งมาด้วย จึงน่าเชื่อว่าโจทก์รู้ถึงการกระทำของจำเลยตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2528 โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2529คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
โจทก์ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ทราบเหตุคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2528 เพราะอธิการวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชให้โจทก์ดูสำเนาหนังสือซึ่งกองทัพภาคที่ 4 ส่งมาโจทก์ได้อ่านข้อความในรายงานข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยเป็นผู้ส่งมาด้วย จึงน่าเชื่อว่าโจทก์รู้ถึงการกระทำของจำเลยตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2528 โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2529คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การหยุดชะงักเมื่อคดีอาญาไม่เด็ดขาด
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกเงินโจทก์ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2524 แต่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมาพิจารณา ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว คดีอาญาจึงยังไม่เด็ดขาด อายุความซึ่งโจทก์เป็นผู้เสียหายมีสิทธิจะฟ้องเป็นคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสอง โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินที่จำเลยยักยอกไปคืนเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งหลังคดีอาญา ยกฟ้อง: ประเมินจากวันที่รู้ถึงการละเมิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคท้ายถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญาและศาลได้พิพากษายกฟ้องจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก ซึ่งขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และอายุความในคดีละเมิด
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โจทก์ที่ 1 เป็นคู่ความและโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวจึงจำต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วยเมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่า เหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ 1แต่ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท คดีนี้เป็นคดีแพ่งศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา กล่าวคือต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3 ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3 ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องยึดข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา และอายุความคดีแพ่ง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โจทก์ที่ 1 เป็นคู่ความและโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวจึงจำต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วยเมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท คดีนี้เป็นคดีแพ่งศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา กล่าวคือต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหมิ่นประมาท: เริ่มนับเมื่อใด และผลของการฟ้องเกินกำหนด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่โดยกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสี่หมิ่นประมาทโจทก์ด้วยเอกสาร แม้ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาอันเนื่องจากการกระทำเดียวกัน แต่คดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องเนื่องจากโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีขาดอายุความตามป.อ. มาตรา 96 กรณีของโจทก์คดีนี้จึงไม่อยู่หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 51 จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสี่ดำเนินคดีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2525 แสดงว่าโจทก์ต้องรู้ว่าจำเลยทั้งสี่กระทำการดัง ที่โจทก์กล่าวอ้างอย่างช้า ในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 5 เมษายน2528 เป็นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหมิ่นประมาท: การเชื่อมโยงคดีอาญาและแพ่ง, ระยะเวลาเริ่มต้นนับจากวันที่รู้เรื่อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่กล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยเอกสาร แม้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาอันเนื่องจากการกระทำเดียวกัน แต่คดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องเนื่องจากโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 กรณีของโจทก์คดีนี้จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหมิ่นประมาท: การแยกพิจารณาคดีอาญาและแพ่ง และระยะเวลาการฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่กล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยเอกสาร แม้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาอันเนื่องจากการกระทำเดียวกัน แต่คดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องเนื่องจากโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 กรณีของโจทก์คดีนี้จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลาย: เช็คขาดอายุความทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยอาศัยมูลหนี้ตามเช็ค มิใช่ตามสัญญากู้ เมื่อเจ้าหนี้นำเช็คมายื่นขอรับชำระหนี้เกิน 1 ปี จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลายไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค การที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญาจึงไม่ทำให้อายุความฟ้องคดีแพ่งเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลาย: เช็คขาดอายุความ 1 ปี ทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยอาศัยมูลหนี้ตามเช็ค มิใช่ตามสัญญากู้ เมื่อเจ้าหนี้นำเช็คมายื่นขอรับชำระหนี้เกิน 1 ปี จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลายไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา ไม่ทำให้อายุความฟ้องคดีแพ่งเปลี่ยนแปลงไปตามมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลายไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา ไม่ทำให้อายุความฟ้องคดีแพ่งเปลี่ยนแปลงไปตามมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา