พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลาย: เช็คขาดอายุความ 1 ปี เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยอาศัยมูลหนี้ตามเช็ค มิใช่ตามสัญญากู้ เมื่อเจ้าหนี้นำเช็คมายื่นขอรับชำระหนี้เกิน 1 ปีจึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลายไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา ไม่ทำให้อายุความฟ้องคดีแพ่งเปลี่ยนแปลงไปตามมาตรา 51แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล, อายุความฟ้องแพ่งใช้อายุความอาญาเมื่อไม่มีการฟ้องคดีอาญา
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาแทนเด็กจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)(เดิม) เมื่อบิดาโจทก์ทำสัญญาแทนโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรก บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องคดีอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา จึงต้องนำอายุความฟ้องคดีอาญามาใช้บังคับ หากการกระทำของจำเลยเป็นความผิดก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรก บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องคดีอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา จึงต้องนำอายุความฟ้องคดีอาญามาใช้บังคับ หากการกระทำของจำเลยเป็นความผิดก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: อายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการถือตามข้อเท็จจริงที่พิพากษาในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เบิกความเท็จ นำสืบและแสดงหลักฐานเท็จในคดีแพ่งซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องแล้วโจทก์ได้อาศัยมูลคดีอาญาดังกล่าวฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิดฟ้องโจทก์คดีหลังนี้จึงเป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาข้อเท็จจริงในคดีแพ่งที่ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่พิพากษาไว้ในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และอายุความฟ้องร้องต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ซึ่งให้ถือตามอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งหลังคดีอาญา: นับใหม่เมื่อศาลอาญาพิพากษายกฟ้องและมีมูลละเมิด
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเด็ดขาด ไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 8 รวมทั้งกรณีที่ได้มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย
ก่อนฟ้องคดีแพ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกทรัพย์ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 41 วรรค 4 ถือสิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องคดีแพ่งสำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในคดีอาญาศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมยักยอกทรัพย์ของโจทก์ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจึงต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะถึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
ก่อนฟ้องคดีแพ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกทรัพย์ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 41 วรรค 4 ถือสิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องคดีแพ่งสำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในคดีอาญาศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมยักยอกทรัพย์ของโจทก์ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจึงต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะถึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งหลังคดีอาญา: การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามและสี่รวมทั้งกรณีที่ได้มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย
ก่อนฟ้องคดีแพ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกทรัพย์ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ศาลพิพากษายกฟ้องคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสี่ คือสิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องคดีแพ่งสำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในคดีอาญาศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมยักยอกทรัพย์ของโจทก์ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจึงต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกซึ่งบัญญัติให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
ก่อนฟ้องคดีแพ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกทรัพย์ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ศาลพิพากษายกฟ้องคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสี่ คือสิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องคดีแพ่งสำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในคดีอาญาศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมยักยอกทรัพย์ของโจทก์ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจึงต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกซึ่งบัญญัติให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดใช้จากการเสียชีวิตโดยประมาท แม้ผู้ตายไม่มีรายได้ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะและค่าใช้จ่ายศพ
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย อันทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์แม้ในขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายจะไม่มีรายได้อย่างใด และโจทก์ประกอบอาชีพมีรายได้อยู่ก็ตามและแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบว่าค่าสินไหมทดแทนสำหรับรายการนี้และสำหรับการฌาปนกิจศพผู้ตายมีจำนวนเท่าใดศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ตามที่เห็นสมควร
จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาในเรื่องเดียวกันนี้ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดไปแล้ว คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา168
จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาในเรื่องเดียวกันนี้ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดไปแล้ว คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง, อายุความสะดุดหยุด, ความรับผิดทางละเมิดและยักยอกทรัพย์
อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ศาลพิพากษาว่าจำเลยยักยอกเงินค่าจ้างแรงงานแต่มิได้ยักยอกน้ำมันและยางรถยนต์ คำพิพากษานี้ผูกพันคดีแพ่งที่ผู้เสียหายฟ้องจำเลยฐานละเมิด ศาลฟังว่าจำเลยยักยอกต้องใช้เงินค่าจ้างแรงงานแก่ผู้เสียหายเท่านั้น อายุความในคดีแพ่งสะดุดหยุดอยู่ระหว่างพิจารณาคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรค 2 คดีแพ่งไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757-1760/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแย่งการครอบครองที่ดิน: ฟ้องเกิน 1 ปี สิทธิขาด
โจทก์ฟ้องความอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุกทำให้เสียทรัพย์ เมื่อเรื่องที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่ฟ้อง เพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ซึ่งไม่ใช่เรื่องอายุความฟ้องร้อง กรณีจึงจะนำมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับหาได้ไม่ โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนด 1 ปีแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม, อายุความคดีแพ่ง, การฟ้องเรียกทรัพย์คืนหลังมีคำพิพากษาอาญา
กรุงเทพมหานครโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 และมีสิทธิทำกิจการเทศพาณิชย์ได้ตามมาตรา 57 ประกอบด้วยมาตรา 55(12) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2511 การที่โจทก์จัดทำกิจการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ซึ่งเป็นการค้าขายอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ย่อมถือได้ว่าเป็นการจัดทำกิจการเทศพาณิชย์อย่างหนึ่ง เพราะคำว่า "เทศพาณิชย" หมายความถึงการค้าขายของประเทศของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าการค้ำประกันเริ่มตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน พ. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง และตามเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นสำเนาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน พ. ต่อโจทก์ตรงกับที่บรรยายฟ้อง ดังนี้ แม้สำเนาค้ำประกันท้ายสำเนาฟ้องที่ส่งให้จำเลยจะเป็นสำเนาค้ำประกันบุคคลอื่นไม่ใช่สำเนาค้ำประกัน พ. ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะจำเลยอาจขอดูสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องหรือขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาค้ำประกันที่ถูกต้องให้จำเลยได้
พ.กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องเรียกคืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาได้อันเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และปรากฏว่าการที่ พ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวศาลอาญาพิพากษาจำคุก พ. คดีถึงที่สุดแล้วก่อนโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้ สิทธิของโจทก์ซึ่งจะเรียกร้องให้ พ. รับผิดในทางแพ่งย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม มิใช่มีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ซึ่งจำเลยยกข้อต่อสู้ของ พ.ผู้เป็นลูกหนี้ที่มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 694
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าการค้ำประกันเริ่มตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน พ. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง และตามเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นสำเนาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน พ. ต่อโจทก์ตรงกับที่บรรยายฟ้อง ดังนี้ แม้สำเนาค้ำประกันท้ายสำเนาฟ้องที่ส่งให้จำเลยจะเป็นสำเนาค้ำประกันบุคคลอื่นไม่ใช่สำเนาค้ำประกัน พ. ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะจำเลยอาจขอดูสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องหรือขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาค้ำประกันที่ถูกต้องให้จำเลยได้
พ.กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องเรียกคืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาได้อันเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และปรากฏว่าการที่ พ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวศาลอาญาพิพากษาจำคุก พ. คดีถึงที่สุดแล้วก่อนโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้ สิทธิของโจทก์ซึ่งจะเรียกร้องให้ พ. รับผิดในทางแพ่งย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม มิใช่มีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ซึ่งจำเลยยกข้อต่อสู้ของ พ.ผู้เป็นลูกหนี้ที่มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 694
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาฟ้องเคลือบคลุม, อายุความคดีแพ่ง, และการฟ้องเรียกทรัพย์คืนหลังมีคำพิพากษาอาญา
กรุงเทพมหานครโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และมีสิทธิทำกิจการเทศพาณิชย์ได้ตามมาตรา 57 ประกอบด้วยมาตรา 54 (12) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2511 การที่โจทก์จัดทำกิจการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ซึ่งเป็นการค้าขายอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ย่อมถือได้ว่าเป็นการจัดทำกิจการเทศพาณิชย์อย่างหนึ่ง เพราะคำว่า "เทศพาณิชย" หมายความถึงการค้าขายของประเทศ ของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าการค้ำประกันเริ่มตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน พ. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง และตามเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นสำเนาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน พ.ต่อโจทก์ตรงกับที่บรรยายฟ้อง ดังนี้ แม้สำเนาค้ำประกันท้ายสำเนาฟ้องที่ส่งให้จำเลยจะเป็นสำเนาค้ำประกันบุคคลอื่นไม่ใช่สำเนาค้ำประกัน พ.ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะจำเลยอาจขอดูสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องหรือขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาค้ำประกันที่ถูกต้องให้จำเลยได้
พ.กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องเรียกคืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาได้ อันเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และปรากฏว่าการที่ พ.ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวศาลอาญาพิพากษาจำคุก พ.คดีถึงที่สุดแล้วก่อนโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้ สิทธิของโจทก์ซึ่งจะเรียกร้องให้ พ.รับผิดในทางแพ่งย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม มิใช่มีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ซึ่งจำเลยยกข้อต่อสู้ของ พ.ผู้เป็นลูกหนี้ที่มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 694
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าการค้ำประกันเริ่มตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน พ. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง และตามเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นสำเนาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน พ.ต่อโจทก์ตรงกับที่บรรยายฟ้อง ดังนี้ แม้สำเนาค้ำประกันท้ายสำเนาฟ้องที่ส่งให้จำเลยจะเป็นสำเนาค้ำประกันบุคคลอื่นไม่ใช่สำเนาค้ำประกัน พ.ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะจำเลยอาจขอดูสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องหรือขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาค้ำประกันที่ถูกต้องให้จำเลยได้
พ.กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องเรียกคืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาได้ อันเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และปรากฏว่าการที่ พ.ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวศาลอาญาพิพากษาจำคุก พ.คดีถึงที่สุดแล้วก่อนโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้ สิทธิของโจทก์ซึ่งจะเรียกร้องให้ พ.รับผิดในทางแพ่งย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม มิใช่มีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ซึ่งจำเลยยกข้อต่อสู้ของ พ.ผู้เป็นลูกหนี้ที่มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 694