คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 51

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากความผิดอาญา: ผู้แทนจำหน่ายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์เป็นเพียงผู้แทนให้จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า บี.เอ็ม.ดับบลิว ของบริษัท ม. โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากความผิดทางอาญาดังนั้นโจทก์จะอาศัยสิทธิตามกำหนดอายุความตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (คืออายุความ 10 ปี) มาเป็นกำหนดอายุความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแพ่งของผู้แทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า การพิสูจน์ผู้เสียหายที่แท้จริง และอายุความ
โจทก์เป็นเพียงผู้แทนให้จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า บี.เอ็ม.ดับบลิว ของบริษัท ม. โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากความผิดทางอาญา ดังนั้นโจทก์จะอาศัยสิทธิตามกำหนดอายุความตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (คืออายุความ 10 ปี) มาเป็นกำหนดาอายุความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดทางราชการ: การที่หน่วยงานทราบการละเมิดแต่ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี ทำให้ขาดอายุความ
ศาลยกฟ้องคดีอาญาโดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีและจำหน่ายอากรแสตมป์ปลอม ข้อนี้ศาลในคดีแพ่งต้องถือตาม ว่าจำเลยไม่ได้ทำละเมิดโดยนำแสตมป์ปลอมมาขายในหน้าที่ราชการของโจทก์ด้วย
อธิบดีกรมสรรพากรให้เจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หาว่าจำเลยมีอากรแสตมป์ปลอม ถือว่าได้ทราบการละเมิดของจำเลยเมื่อไม่ได้ฟ้องใน 1 ปี ก็ขาดอายุความ
ผู้ที่ประมาทเลินเล่อทำให้ทางราชการเสียหายเพราะมีผู้ขายอากรแสตมป์ปลอม ไม่ได้กระทำผิดทางอาญา จึงไม่นำอายุความทางอาญามาใช้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกรมสหกรณ์พาณิชย์คดีเบียดบังยักยอก และอายุความฟ้องคดีอาญา
กรมสหกรณ์พาณิชย์โจทก์ โดยได้รับอนุมัติจากกระทรวงสหกรณ์จัดตั้งหน่วยราชการขึ้นเรียกว่า "ขายพืชผลและผลิตผลกลาง" โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการรับซื้อพืชผลและผลิตผลจากสหกรณ์ขายพืชผลในต่างจังหวัด และจัดการขาย ณ ตลาดภายในหรือภายนอกประเทศเพื่อให้ได้ราคาดี ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมการสหกรณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของกรมสหกรณ์พาณิชย์ และการดำเนินการดังกล่าวนี้ก็มิได้หวังผลกำไรในทางการค้า เมื่อขายพืชผลหรือผลิตผลได้เงินมาก็หักไว้เป็นค่าบริการสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยราชการ "ขายพืชผลและผลิตผลกลาง" แต่เพียงเล็กน้อยเงินที่ขายได้นอกนั้นส่งคืนให้สหกรณ์ที่ส่งพืชผลและผลิตผลมา ดังนี้ ไม่อาจถือได้ว่ากรมสหกรณ์พาณิชย์ทำการค้าหรือเป็นตัวแทนในการค้า อันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกรมนี้
เมื่อปรากฏว่าเงินของหน่วยราชการที่จำเลยเป็นผู้จัดการอยู่ขาดบัญชีไปกรมซึ่งเป็นโจทก์ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตโจทก์ได้แจ้งความให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย และกรมโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งขอให้จำเลยชดใช้เงินโดยบรรยายฟ้องยืนยันด้วยว่าจำเลยเป็นพนักงานทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินของโจทก์ไป ดังนี้ แม้จำเลยจะยังมิได้ถูกฟ้องคดีอาญา แต่ฟ้องของโจทก์ก็เนื่องจากความผิดทางอาญา ต้องนำอายุความฟ้องคดีอาญามาใช้บังคับมิใช่ถือเอาอายุความ 1 ปี ฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าพนักงาน และอายุความที่ต้องใช้บังคับ
กรมสหกรณ์พาณิชย์โจทก์ โดยได้รับอนุมัติจากกระทรวงสหกรณ์จัดตั้งหน่วยราชการขึ้นเรียกว่า 'ขายพืชผลและผลิตผลกลาง' โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการรับซื้อพืชผลและผลิตผลจากสหกรณ์ขายพืชผลในต่างจังหวัด และจัดการขาย ณ ตลาดภายในหรือภายนอกประเทศเพื่อให้ได้ราคาดี ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมการสหกรณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของกรมสหกรณ์พาณิชย์ และการดำเนินการดังกล่าวนี้ก็มิได้หวังผลกำไรในทางการค้า เมื่อขายพืชผลหรือผลิตผลได้เงินมาก็หักไว้เป็นค่าบริการสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยราชการ 'ขายพืชผลและผลิตผลกลาง' แต่เพียงเล็กน้อยเงินที่ขายได้นอกนั้นส่งคืนให้สหกรณ์ที่ส่งพืชผลและผลิตผลมา ดังนี้ ไม่อาจถือได้ว่ากรมสหกรณ์พาณิชย์ทำการค้าหรือเป็นตัวแทนในการค้า อันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกรมนี้
เมื่อปรากฏว่าเงินของหน่วยราชการที่จำเลยเป็นผู้จัดการอยู่ขาดบัญชีไปกรมซึ่งเป็นโจทก์ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตโจทก์ได้แจ้งความให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย และกรมโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งขอให้จำเลยชดใช้เงิน โดยบรรยายฟ้องยืนยันด้วยว่าจำเลยเป็นพนักงานทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินของโจทก์ไป ดังนี้ แม้จำเลยจะยังมิได้ถูกฟ้องคดีอาญา แต่ฟ้องของโจทก์ก็เนื่องจากความผิดทางอาญา ต้องนำอายุความฟ้องคดีอาญามาใช้บังคับมิใช่ถือเอาอายุความ 1 ปี ฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน และผลของการฟ้องขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ ในการทำแผนที่พิพาทเมื่อโจทก์นำชี้เขตที่ดินที่อ้างว่าเป็นของโจทก์นั้น ย. โต้แย้งว่าโจทก์ชี้รุกล้ำเข้าไปในที่ของ ย. ซึ่งที่ดินส่วนนั้นจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเลย ดังนี้โจทก์จะขอให้เรียก ย. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้หาได้ไม่
โจทก์หาว่าจำเลยบุกรุกที่ดินมือเปล่าของโจทก์ แล้วโจทก์ไม่กล้าเข้าทำประโยชน์ในที่ส่วนนั้นอีก เพียงแต่ไปร้องเรียนต่อพนักงานสอบสวนและตำรวจเท่านั้น ดังนี้เมื่อเป็นเวลาเกิน 1 ปีแล้วนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งแสดงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย คำฟ้องแย้งเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า โจทก์บุกรุกที่ของจำเลยเมื่อใด ตรงไหนโจทก์ก็เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว และคำฟ้องแย้งของจำเลยเช่นนี้ไม่ใช่การฟ้องเรียกคืนการครอบครอง จึงไม่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
คู่ความได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นแต่เพียงว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์เกิน 1 ปี อันเป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิเรียกคืนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375แล้วหรือไม่เท่านั้น ถ้าโจทก์เพิ่งกล่าวอ้างในชั้นฎีกาว่า ต้องใช้อายุความทางอาญาแทนอายุความทางแพ่ง ดังนี้ ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้งครอบครองปรปักษ์และการขาดอายุความฟ้องฐานบุกรุก กรณีผู้ถูกฟ้องแย้งครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ ในการทำแผนที่พิพาทเมื่อโจทก์นำชี้เขตที่ดินที่อ้างว่าเป็นของโจทก์นั้น ย. โต้แย้งว่าโจทก์ชี้รุกล้ำเข้าไปในที่ของ ย. ซึ่งที่ดินส่วนนั้นจำเลย.ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเลย ดังนี้โจทก์จะขอให้เรียก ย. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้หาได้ไม่
โจทก์หาว่าจำเลยบุกรุกที่ดินมือเปล่าของโจทก์ แล้วโจทก์ไม่กล้าเข้าทำประโยชน์ในที่ส่วนนั้นอีก เพียงแต่ไปร้องเรียนต่อพนักงานสอบสวนและตำรวจเท่านั้น ดังนี้เมื่อเป็นเวลาเกิน 1 ปีแล้วนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งแสดงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย คำฟ้องแย้งเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า โจทก์บุกรุกที่ของจำเลยเมื่อใด ตรงไหน โจทก์ก็เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว และคำฟ้องแย้งของจำเลยเช่นนี้ ไม่ใช่การฟ้องเรียกคืนการครอบครอง จึงไม่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
คู่ความได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นแต่เพียงว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์เกิน 1 ปี อันเป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิเรียกคืนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้วหรือไม่เท่านั้น ถ้าโจทก์เพิ่งกล่าวอ้างในชั้นฎีกาว่า ต้องใช้อายุความทางอาญาแทนอายุความทางแพ่ง ดังนี้ ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากการทุจริต, ความรับผิดของหัวหน้าส่วนราชการต่อการทุจริตของลูกน้อง, การพิสูจน์ความรับผิดทางแพ่งจากคดีอาญา
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไป อายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์ ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้วต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้น. และต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น. ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก แต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิด อธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อน อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก แม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์ เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตาม และหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวัน หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด และถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากร จำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้ ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากการทุจริต-ยักยอกทรัพย์ การรับผิดของหัวหน้าหน่วยงาน และการพิสูจน์ความรับผิด
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไปอายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้วต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้นและต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีกแต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิดอธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อนอธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่งคณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกแม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามและหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวันหากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิดและถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากรจำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้ ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งกรณีทุจริตเงินภาษี และความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของผู้อื่น
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไป.อายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน.
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์. ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้ว. ต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้น. และต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น. ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด.
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก. แต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิด. อธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา. รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อน. อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน. อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง. คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี. สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง.
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก. แม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว. ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง. ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน.
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์. เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง. ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง.ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตาม. และหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์. จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์.
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท. มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวัน.หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด. และถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากร. จำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้. ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์.
of 9