พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเช็ค: คดีแพ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา อายุความไม่สะดุด
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากความผิดในคดีอาญา หมายถึง การกระทำผิดอาญานั้นก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องทางแพ่งติดตามมาด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 40 จึงบัญญัติว่า จะฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญา หรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินตามเช็คไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เพราะคดีอาญาเป็นเรื่องที่จำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่คดีแพ่ง เมื่อจำเลยออกเช็คให้จำเลยก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้นทันที สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งมีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาแต่อย่างใด การฟ้องคดีอาญา จึงไม่ทำให้อายุความแพ่งสะดุดหยุดลง
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินตามเช็คไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เพราะคดีอาญาเป็นเรื่องที่จำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่คดีแพ่ง เมื่อจำเลยออกเช็คให้จำเลยก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้นทันที สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งมีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาแต่อย่างใด การฟ้องคดีอาญา จึงไม่ทำให้อายุความแพ่งสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2511 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็คในคดีล้มละลาย: การฟ้องคดีอาญาไม่สะดุดอายุความแพ่ง
การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลาย (หรือการฟ้องเรียกเงินตามเช็คเป็นคดีแพ่ง) ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดอาญาฐานออกเช็คนั้นโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ฉะนั้นการฟ้องคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ทำให้อายุความของคดีแพ่งนั้นสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ดังนั้น เมื่อเช็คที่นำมาขอรับชำระหนี้มีอายุเกิน 1 ปี นับจากวันสั่งจ่ายจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7 - 8 /2511)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7 - 8 /2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็คในคดีล้มละลาย: การฟ้องคดีอาญาไม่สะดุดอายุความแพ่ง
การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ตามเช็คในคดีล้มละลาย (หรือการฟ้องเรียกเงินตามเช็คเป็นคดีแพ่ง) ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดอาญาฐานออกเช็คนั้นโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ฉะนั้น การฟ้องคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ทำให้อายุความของคดีแพ่งนั้นสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ดังนั้น เมื่อเช็คที่นำมาขอรับชำระหนี้มีอายุเกิน 1 ปี นับจากวันสั่งจ่ายจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดและเรียกคืนทรัพย์สิน ยักยอกเงินไม่ใช่การปลอมเอกสาร
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอมเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไป จะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงิน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไป ปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้ว คดียังไม่ถึงที่สุด ต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากาายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแลปงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์ จึงมีความผิดฐานปลอมแลงเอกสารราชการเท่านั้น ดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยักยอกเงิน จะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย คดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพาษกยกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป แล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรค 4
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานะละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงิน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไป ปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้ว คดียังไม่ถึงที่สุด ต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากาายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแลปงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์ จึงมีความผิดฐานปลอมแลงเอกสารราชการเท่านั้น ดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยักยอกเงิน จะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย คดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพาษกยกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป แล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรค 4
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานะละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งจากการยักยอกทรัพย์: การสะดุดหยุด และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปจะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแพ่งหลังคดีอาญา: ผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้แม้เกิน 1 ปี
ขับรถยนต์ชนรถยนต์เขาโดยประมาทจนถูกผู้ว่าคดีฟ้องคดีอาญาศาลพิพากษาลงโทษแล้ว เจ้าของรถที่ถูกชนย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตร 51 วรรค 2 มีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายแม้เกิน 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, อายุความหนี้, การชำระหนี้, การพ้นวิสัย, สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
อันอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามที่กฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังออกประกาศหรือกฎกระทรวงในการที่ทางราชการรับซื้อหรือออกขายนั้น เป็นเรื่องอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกระทรวงการคลังจะถือปฏิบัติอย่างไรเท่านั้น หาใช่กฎหมายที่จะบังคับใช้แก่ประชาชนไม่ ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องถือตามวันเวลาที่ทำการแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องถือตามวันเวลาที่ทำการแลกเปลี่ยนหรือควรจะได้ทำการแลกเปลี่ยนและความเสียหายที่โจทก์จะได้รับก็คือ ความเสียหายในเวลาที่มีการผิดนัดชำระหนี้ และต้องคิดคำนวณลงเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย คือ เป็นเงินไทยในขณะนั้น จะถือว่าเสียหายเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงตลอดไปไม่ได้
แม้จะมีกฎหมายว่า ไม่นำเงินตราต่างประเทศมาขายเป็นผิดอาญาก็ตาม แต่เป็นการบังคับให้ขายเงินตราต่างประเทศอีกส่วนหนึ่งในภายหลังต่างหาก ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะขอให้จำเลยต้องผูกพันอยู่เดิม อายุความจึง 10 ปี หาใช่ 5 ปี โดยถืออัตราโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นหลักตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรกไม่
การที่ต่างประเทศมีกฎหมายห้ามนำเงินตราออกนั้น ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวว่าเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้พ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้
แม้จะมีกฎหมายว่า ไม่นำเงินตราต่างประเทศมาขายเป็นผิดอาญาก็ตาม แต่เป็นการบังคับให้ขายเงินตราต่างประเทศอีกส่วนหนึ่งในภายหลังต่างหาก ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะขอให้จำเลยต้องผูกพันอยู่เดิม อายุความจึง 10 ปี หาใช่ 5 ปี โดยถืออัตราโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นหลักตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรกไม่
การที่ต่างประเทศมีกฎหมายห้ามนำเงินตราออกนั้น ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวว่าเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้พ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586-589/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติม และอายุความตาม ป.พ.พ. เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารไม่มีกำหนดอายุความ
ต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจนถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้ว คณะเทศมนตรีเทศบาลโดยนายกเทศมนตรีมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 11 วรรค 2 การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้น พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย จึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586-589/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเทศบาลฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติมผิดกฎหมาย ไม่ติดอายุความอาญา
ต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจนถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้ว คณะเทศมนตรีเทศบาลโดยนายกเทศมนตรีมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 วรรค 2
การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ทำโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ แม้ผู้ซื้อสุจริต ก็มีสิทธิ์เรียกร้องคืนได้
มีผู้อื่นเอาที่ดินไปขายฝากโดยปลอมลายมือชื่อของเจ้าของที่ดินลงในใบมอบอำนาจว่าเจ้าของที่ดินมอบอำนาจให้เอาที่ดินไปขายฝากได้ แม้ผู้รับซื้อฝากจะซื้อไว้โดยสุจริต เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เพราะเจ้าของที่ดินมิได้มอบอำนาจให้ขาย นิติกรรมการขายฝากระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ซื้อจึงไม่มีต่อกัน (อ้างฎีกาที่ 2049/92,1866/94) และกรณีเช่นนี้ไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 821,223,1329,1332 ทั้งไม่ใช่เรื่องบอกล้างโมฆียะกรรมตาม ม. 143 ด้วย
อายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่มีผู้เอาไปโอนโดยไม่มีอำนาจ จะใช้อายุความตามป.วิ.อาญา มาตรา 51 ไม่ได้
อายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่มีผู้เอาไปโอนโดยไม่มีอำนาจ จะใช้อายุความตามป.วิ.อาญา มาตรา 51 ไม่ได้