พบผลลัพธ์ทั้งหมด 335 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยให้การคลุมเครือ และการรับว่าเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คผูกพันตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิเคราะห์จากคำฟ้องและคำให้การแล้วยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดี ไม่ใช่มีการสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24,227 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยออกเช็คเป็นประกันหนี้ของบุตรเขยเท่านั้นดังนี้ เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คและเช็คมีมูลหนี้จากการที่จำเลยสั่งจ่ายประกันหนี้ของบุคคลอื่นแก่โจทก์จำเลยก็ย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ โดยไม่จำต้องมีการสืบพยานรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานแต่อย่างใดอีก จำเลยให้การว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกต้องตามกฎหมายและมี ก. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจริงหรือไม่จำเลยไม่ขอรับรอง ไม่ได้กล่าวให้ชัดว่าโจทก์ไม่ใช่นิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยเหตุอะไร ก. ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการด้วยเหตุอะไร จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ก. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ การใช้กฎหมายก่อนและหลัง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฎิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ ป.พ.พ.มาตรา 168 (เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้องของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา24 ซึ่งมาตรา 227 มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้องของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา24 ซึ่งมาตรา 227 มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: บทเฉพาะกาล พ.ร.บ.อนุญาโตฯ 2530 ไม่กระทบสิทธิเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 168(เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้อง ของ จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ซึ่งมาตรา 227 มิใช่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญ - การพิสูจน์ข้อเท็จจริง - กระบวนพิจารณา - ศาลต้องฟังพยานหลักฐานก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยได้นำเงินมาลงหุ้นเพื่อซื้อที่ดินพิพาทมาขายแบ่งกำไรกันและจำเลยได้ยึดถือที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยในโฉนดที่ดินแทนส่วนของโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนองให้เช่าและกล่าวอ้างว่าที่ดินเป็นของจำเลยโดยโจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของด้วย ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินให้โจทก์ตามส่วน จำเลยให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์และจำเลยเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ และตามคำขอของโจทก์โจทก์ต้องการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056ที่ต้องบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องไปนั้น จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เพราะในข้อนี้จำเลยยังให้การปฏิเสธอยู่ ทั้งยังปฏิเสธเรื่องการเป็นเจ้าของรวมอีกด้วย ศาลจำต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญ, การบอกเลิกห้างหุ้นส่วน, สิทธิในทรัพย์สิน, การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองได้นำเงินมาลงหุ้นซื้อที่ดินมาขายแบ่งกำไรกัน จำเลยทั้งสองได้ยึดถือที่ดินและมีชื่อในโฉนดแทนส่วนของโจทก์ทั้งหกต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนอง ให้เช่า และกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสองโดยโจทก์ทั้งหกไม่มีส่วนเป็นเจ้าของ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อ-กฎหมายว่า โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ทั้งหกยังมิได้บอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ศาลชั้นต้นจึงต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะด่วนวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในคดีหุ้นส่วนและกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองได้นำเงินมาลงหุ้นซื้อที่ดินมาขายแบ่งกำไรกัน จำเลยทั้งสองได้ยึดถือที่ดินและมีชื่อในโฉนดแทนส่วนของโจทก์ทั้งหกต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนอง ให้เช่า และกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสองโดยโจทก์ทั้งหกไม่มีส่วนเป็นเจ้าของ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ทั้งหกยังมิได้บอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ศาลชั้นต้นจึงต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะด่วนวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัดโควต้าอ้อย, การแจ้งคำสั่ง, และการไม่สืบพยานส่งผลต่อคำพิพากษา
แม้เอกสารท้ายฟ้องจะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่ข้อความเอกสารท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ร.เป็นเพียงอุทธรณ์เพิ่มเติมขอรับความเป็นธรรมกรณีโจทก์ถูกตัดโควตา ก.เท่านั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าองค์ประชุมไม่ครบเพราะ ส.ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาสำหรับ ร.ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง" แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย หาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้เลือกจำเลยที่ 4 เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยมีจำเลยที่ 4ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้ว มิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทรายในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 42 ()2) บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือ มีอำนาจสั่งตัดโควตาก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจ โจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก. ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควตา ก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง" แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย หาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้เลือกจำเลยที่ 4 เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยมีจำเลยที่ 4ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้ว มิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทรายในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 42 ()2) บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือ มีอำนาจสั่งตัดโควตาก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจ โจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก. ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควตา ก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัดโควต้า ก. คณะกรรมการน้ำตาลทราย และการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเมื่อไม่สืบพยาน
แม้เอกสารท้ายฟ้องจะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ข้อความเอกสารท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ร. เป็นเพียงอุทธรณ์เพิ่มเติมขอรับความเป็นธรรมกรณีโจทก์ถูกตัดโควตา ก.เท่านั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าองค์ประชุมไม่ครบเพราะ ส. ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาสำหรับ ร. ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527มาตรา 58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง"แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่าคณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายหาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย เพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราบ เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527 ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราบได้เลือกจำเลยที่ 4เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราบให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทรายโดยมีจำเลยที่ 4 ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้วมิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทราบได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทราบในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527 มาตรา 42(2)บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทราบมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือมีอำนาจสั่งตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทราบซึ่งมีจำเลยที่ 5เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟัง ไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทราบมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก.ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควต้าก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข & สิทธิในการขอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายซ้ำได้ หากศาลยังไม่ได้วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 นั้น แม้คู่ความฝ่ายใดจะเคยยื่นคำขอมาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามที่ขอ คู่ความย่อมมีสิทธิยื่นคำขอเช่นว่านั้นได้อีก เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามยื่นคำขออีก ทั้งเป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และเมื่อศาลเห็นสมควรก็ย่อมมีคำสั่งใหม่ให้วินิจฉัยตามคำขอได้ โดยไม่จำเป็นต้องเพิกถอนคำสั่งเดิมเสียก่อนเพราะมิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ระบุเกี่ยวกับการชำระราคาในข้อ 2 ว่าจำเลยทั้งสองผู้ซื้อต้องไปรับชำระหนี้ตามยอดหนี้ตามสัญญาจำนองจากธนาคารทหารไทย จำกัด สำนักงานใหญ่จำนวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือให้ผู้ซื้อนำไปจ่ายหนี้ของผู้ขายแทนตัวผู้ขายในวงเงินประมาณครึ่งหนึ่งของยอดหนี้ดังกล่าว เมื่อมีเงินเหลือจึงนำมามอบให้แก่ผู้ขายภายในกำหนด 16 เดือน จึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติและขณะทำสัญญา คู่สัญญาไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวจะสำเร็จลงวันใดจึงย่อมไม่อาจกำหนดเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนไว้ล่วงหน้าได้ สัญญาข้อ 7 กำหนดให้ผู้ขายต้องโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่ผู้ซื้อให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 1 เดือน เห็นว่าแม้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมอันเป็นเรื่องสำคัญน้อยกว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คู่สัญญายังมีเจตนาให้โอนกันถูกต้องนอกจากนั้น ตามสัญญาข้อ 4 ที่ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อเข้าไปในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้ซื้อได้ทันที และตามสัญญาข้อ 6 ผู้ขายไม่มีสิทธิไปทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาอีกต่อไป ย่อมแสดงว่าสัญญาดังกล่าวยังมีเงื่อนไขอยู่ หากเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสิทธิตามสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นของผู้ซื้อทันทีและผู้ขายก็ไม่มีสิทธิตามสัญญาข้อ 6 ทันทีเช่นกัน หาจำต้องกำหนดไว้เป็นข้อสัญญาไม่ เมื่อพิเคราะห์ข้อความทั้งหมดแห่งสัญญาแล้ว เห็นว่าสัญญารายพิพาทเป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติ ซึ่งสัญญาที่มีเงื่อนไขไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปจนกว่าจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข เมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้ว คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ชอบที่จะกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันได้ หาใช่เพราะคู่สัญญามีเจตนาให้เป็นการซื้อขายกันเสร็จเด็ดขาดโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมิได้กำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน ไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คู่ความยื่นคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ศาลมีคำสั่งโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามที่ขอ คู่ความย่อมมีสิทธิยื่นคำขอเช่นว่านั้นได้อีก เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามทั้งศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เมื่อศาลเห็นสมควรย่อมมีคำสั่งใหม่ให้วินิจฉัยตามคำขอได้โดยไม่ต้องเพิกถอนคำสั่งเดิมก่อน เพราะมิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมิได้กำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่พฤติการณ์แสดงว่า เป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้เมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้วคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชอบที่จะกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันได้หาใช่คู่สัญญามีเจตนาให้เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ตกเป็นโมฆะ