คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 335 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องสืบพยานประเด็นเพิ่มเติม หากมีข้อพิพาทนอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ยุติในคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล.ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมูลละเมิด: เริ่มนับจากวันที่รู้ถึงการละเมิด หรือวันที่ทำละเมิด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12)ที่กำหนดให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการเริ่มนับอายุความสำหรับการบังคับสิทธิเรียกร้องทั่ว ๆ ไป แต่การเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด มาตรา 448 วรรคแรก บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นเป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ขาดรายได้ เหตุเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2523 ดังนั้นมูลละเมิดคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างช้าที่สุดวันที่ 30 เมษายน 2523 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่15 เมษายน 2534 ซึ่งล่วงพ้นสิบปี นับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนี้ได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24โดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับจากวันที่รู้การละเมิดหรือวันที่ทำละเมิด
การเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ป.พ.พ. มาตรา 448วรรคแรก กำหนดวิธีการกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงไม่ใช่วิธีนับอายุความทั่วไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12) โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ตั้งแต่วันที่ 1มิถุนายน 2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2523 มูลละเมิดย่อมเกิดอย่างช้าที่สุดในวันที่ 30 เมษายน 2523 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 15เมษายน 2534 ซึ่งล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้วคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอายุความซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ได้ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์ว่าขาดอายุความ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสี่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่เคลือบคลุม ศาลฎีกายกคำร้องเนื่องจากไม่แสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 56/2536) คำร้องของ ผู้ร้องที่ว่าเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสมุทรสาคร มีเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอบ้านแพ้ว และอำเภอกระทุ่มแบนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละอำเภอ มีกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนซึ่งเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะเขตพื้นที่อำเภอกระทุ่มแบนมี ช.นายอำเภอกระทุ่มแบน เป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จำนวน 43 หน่วยเลือกตั้ง ในเขตพื้นที่ อำเภอบ้านแพ้ว จำนวน 31 หน่วยเลือกตั้ง ได้นับคะแนนไม่ตรงกับความจริงในบัตรเลือกตั้ง อ่านบัตรเลือกตั้งของผู้ร้องหมายเลข 7 เป็นของผู้สมัครหมายเลข 1 บ้าง เป็นของผู้สมัครหมายเลข 5 บ้าง หรือเป็นของผู้สมัครอื่นบ้างอ่านบัตรดีของผู้ว่าเป็นบัตรเสียบ้าง อ่านบัตรเสียของผู้สมัครหมายเลข 5 เป็นบัตรดีบ้าง และอ่านบัตรที่ลงคะแนนให้ผู้ร้องเป็นบัตรที่ไม่ลงคะแนนบ้าง ทั้งกระทำหรือละเว้นกระทำด้วยประการใด ๆ ทำให้คะแนนของผู้ร้องเปลี่ยนแปลงลดลง และมีผลให้คะแนนของ อ. ผู้สมัคร รับเลือกตั้งหมายเลข 5 มีคะแนนเพิ่มขึ้น ทำให้คะแนนรวมทั้งหมดของ อ.มากกว่าคะแนนของผู้ร้อง 344 คะแนน และได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร การบรรยายคำร้องใน ลักษณะนี้มิใช่การแสดงถึงสภาพแห่งข้ออ้างและข้อหาของผู้ร้อง โดยแจ้งชัด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง หากแต่เป็นคำร้องที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงคลุม ๆ และรวมกันมา คำร้องของผู้ร้องจึงทำให้ผู้มีส่วน ได้เสียจากเหตุตามคำร้องเสียเปรียบ ไม่อาจเข้าใจและยื่นคำ คัดค้านได้ตรงกับรูปเรื่อง จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม แม้ศาลชั้นต้นจะส่งความเห็นไปยังศาลฎีกา โดยไม่ดำเนิน กระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้อง หรือในกรณีที่เห็นว่าอาจทำให้ ความเห็นได้ไม่ต้องให้คู่ความสืบพยานและสั่งงดการไต่สวน แต่ไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกาก็มี อำนาจมีคำสั่งในเรื่องนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โต้แย้งไม่ทันไม่มีสิทธิอุทธรณ์
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531ไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์จำเลย โดยนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 ธันวาคม 2531 แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นสั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม มาตรา 24 และมาตรา 227 เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น โจทก์ต้องโต้แย้งก่อนอุทธรณ์
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์จำเลย เป็นคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 และมาตรา 227เพราะที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ฟังได้ตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องแพ้คดีนั้นเป็นการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ตามฟ้อง มิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายที่พิพาทกันในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ต้องโต้แย้งทันทีจึงมีสิทธิอุทธรณ์
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์จำเลย และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 และมาตรา 227 เพราะที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ภาระการ พิสูจน์ตกโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ฟังได้ตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องแพ้คดีนั้นเป็นการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ ตามฟ้อง มิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายที่พิพาทกันในคดีแต่ อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 เวลา 9.45 นาฬิกาซึ่งทนายโจทก์ก็มาศาลใน วันดังกล่าว และศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาในวันที่ 2 ธันวาคม 2531 เวลา 10 นาฬิกาโจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่มิได้โต้แย้ง จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นบังคับได้เพียง 3 ปี
จำเลยเช่าที่ดินของ ห. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ที่จำเลยให้การว่ากำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีเป็นคำมั่นซึ่งมีผลบังคับ ห.ได้จึงมีผลบังคับพ. ผู้รับโอนที่ดินจาก ห. ด้วยนั้น ไม่มีบทกฎหมายรับรองสิทธิให้บังคับตามที่จำเลยให้การ ศาลชอบที่จะพิพากษาคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและการห้ามฎีกา: ผลของการวินิจฉัยฟ้องซ้ำในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
แม้ในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำของศาลชั้นต้นจะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายก่อนมีคำพิพากษา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267ก็ตาม แต่ผลจากคำวินิจฉัยในเรื่องฟ้องซ้ำนั้นย่อมทำให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าจำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้องก็ตาม ก็มีผลเท่ากับเป็นการยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน แม้ผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ก็มีผลใช้บังคับได้ และศาลฎีกาสามารถเพิ่มประเด็นข้อพิพาทได้
จำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่า จำเลยมีอำนาจทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์หรือไม่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกกล่าวก่อนหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยได้คัดค้านไว้แล้วเมื่อจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มขึ้นอีก 2 ข้อ ตามที่จำเลยฎีกาและวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่เพิ่มขึ้นไปเสียทีเดียว โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยกับโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกันภายหน้า แม้ขณะทำสัญญาผู้จะขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ สัญญาก็มีผลใช้บังคับได้ เพราะเมื่อสัญญาถึงกำหนด หากผู้จะขายผิดสัญญาโอนทรัพย์สินให้ผู้จะซื้อไม่ได้ผู้จะซื้อก็สามารถให้ผู้จะขายชดใช้ค่าเสียหายแทนการโอนทรัพย์สินที่จะขายได้ สัญญาจะซื้อขายกำหนดวันไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนไว้แน่นอนแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การที่ พ.และด. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทมีชื่ออยู่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้ครอบครองแทนทายาท จำเลยเป็นทายาทของเจ้ามรดกที่ดินพิพาทย่อมตกได้แก่จำเลยเมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้.
of 34