คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 335 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก: ผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์และการฟ้องขับไล่
จำเลยให้การว่าซื้อที่ดินและตึกแถวรายพิพาทจริง โดยทำนิติกรรมขายฝาก แต่โจทก์ให้จดทะเบียนเป็นสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก หากเป็นจริงดังจำเลยอ้างสัญญาซื้อขายย่อมตกเป็นโมฆะ บังคับไม่ได้ โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยตามสัญญาขายฝากหรือไม่ เป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาในภายหลัง คดีจำเป็นต้องฟังพยานต่อไป(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าเดิมเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ และการงดสืบพยานหลักฐาน
คำฟ้องแย้งของจำเลยเพียงแต่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าตึก พิพาทกับจำเลยอีก 13 ปี นับแต่วันครบกำหนดสัญญาเช่าเดิม ตามที่จำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงกันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนด 12 ปี จำเลยจะนำสืบว่ามีข้อตกลงกับผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อนี้ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึก พิพาทเช่นนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ทำให้คดีเสร็จไปเฉพาะ แต่ประเด็นบางข้อ เป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา228(3) หาใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และต่อสู้ว่าการเช่า ตึก พิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างโดยผู้ให้เช่าจะให้จำเลยเช่า ตึก พิพาทมีกำหนดไม่น้อยกว่า25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยชอบที่จะนำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่า ต่ออีกเพราะได้ออกเงินค่าก่อสร้างเป็นการตอบ แทนเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างสัญญานั้นว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการเลือกตั้งส.ส.: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาความเคลือบคลุมของคำร้องได้โดยไม่ต้องรอความเห็นศาลชั้นต้น
กระบวนพิจารณาคดีการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 78 และ 79 ว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กฎหมายมอบหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งกระทำการแทนศาลฎีกา ส่วนความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวที่ได้ส่งมายังศาลฎีกาพร้อมกับสำนวนนั้นก็เป็นเพียงข้อเสนอแนะต่อศาลฎีกาโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียจะโต้แย้งคัดค้านได้ และในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีศาลฎีกาก็มิได้ถูกผูกมัดโดยความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวนั้นด้วย ในกรณีที่เห็นสมควร ศาลฎีกาอาจจะมีคำวินิจฉัยคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปได้โดยไม่จำต้องรอฟังความเห็นของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่ง
ในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นศาลแพ่งมีคำสั่งว่า จะพิจารณารวมสั่งเมื่อมีคำสั่ง ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเสียเองได้
คำร้องบรรยายว่า เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่คะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งในเขต 8 กรุงเทพมหานคร ทุกหน่วยจงใจนับบัตรเลือกตั้งหรือคะแนนของผู้ร้องและของผู้คัดค้านที่ 2 ให้ผิดไปจากความจริงหรือรวมคะแนนให้ผิดไปจากความเป็นจริง โดยกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยได้จงใจนับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบัตรเสียให้เป็นบัตรดีจำนวน 50 คะแนน ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับคะแนนเพิ่มไปจากความเป็นจริง 50 คะแนน ดังรายละเอียดปรากฏตามบัตรเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้งบัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 1 และกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยได้จงใจนับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบัตรดีให้เป็นบัตรเสียจำนวน 690 คะแนน ดังรายละเอียดปรากฏตามบัตรเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้ง บัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 2 ทำให้ผู้ร้องได้คะแนนน้อยไปจากความเป็นจริง 690 คะแนน เช่นนี้จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งดังกล่าวได้ตามมาตรา 78 และบัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องก็มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นับได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น กรณีต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 โดยชอบแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาในคดีคัดค้านการเลือกตั้ง และการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของคำร้อง
กระบวนพิจารณาคดีการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 78 และ 79 ว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กฎหมายมอบหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งกระทำการแทนศาลฎีกา ส่วนความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวที่ได้ส่งมายังศาลฎีกาพร้อมกับสำนวนนั้นก็เป็นเพียงข้อเสนอแนะต่อศาลฎีกาโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียจะโต้แย้งคัดค้านได้ และในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีศาลฎีกาก็มิได้ถูกผูกมัดโดยความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวนั้นด้วย ในกรณีที่เห็นสมควร ศาลฎีกาอาจจะมีคำวินิจฉัยคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปได้โดยไม่จำต้องรอฟังความเห็นของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่ง.
ในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นศาลแพ่งมีคำสั่งว่า จะพิจารณารวมสั่งเมื่อมีคำสั่ง ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเสียเองได้
คำร้องบรรยายว่า เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่คะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งในเขต 8 กรุงเทพมหานครทุกหน่วยจงใจนับบัตรเลือกตั้งหรือคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 ให้ผิดไปจากความจริงหรือรวมคะแนนให้ผิดไปจากความเป็นจริงโดยกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยได้จงใจนับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบัตรเสียให้เป็นบัตรดีจำนวน 50 คะแนน ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2ได้รับคะแนนเพิ่มไปจากความเป็นจริง 50 คะแนน ดังรายละเอียดปรากฏตามบัตรเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้งบัญชีท้ายคำร้องหมายเลข1 และกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยได้จงใจนับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบัตรดีให้เป็นบัตรเสียจำนวน 690 คะแนน ดังรายละเอียดปรากฏตามบัตรเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้ง บัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 2 ทำให้ผู้ร้องได้คะแนนน้อยไปจากความเป็นจริง 690 คะแนน เช่นนี้จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งดังกล่าวได้ตามมาตรา 78 และบัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องก็มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นับได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น กรณีต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 โดยชอบแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต จงใจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อาจเป็นการละเมิดได้ ศาลต้องสืบพยานก่อนวินิจฉัย
การใช้สิทธิทางศาล หากกระทำโดยไม่สุจริต จงใจแต่จะให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง ก็เป็นการกระทำละเมิดได้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่มีสิทธิในทางภาระจำยอมอีกแล้ว กลับมายื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคำร้องโดยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายหากได้ความเป็นความจริงตามฟ้องก็จะถือว่าจำเลยใช้สิทธิในทางศาลโดยสุจริตมิได้การกระทำของจำเลยอาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ห้ามโจทก์ โอนขาย จำหน่ายที่ดิน หากมีคำสั่งไปเพราะหลงเชื่อตามพยานหลักฐานเท็จหรือปกปิดความจริงที่จำเลยนำสืบ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ได้เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อนการสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียจึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าคำสั่งศาลมิใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยยื่นคำร้องการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้อง เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 227 แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต จงใจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อาจเป็นการละเมิดได้
การใช้สิทธิทางศาล หากกระทำโดยไม่สุจริต จงใจแต่จะให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง ก็เป็นการกระทำละเมิดได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่มีสิทธิในทางภาระจำยอมอีกแล้ว กลับมายื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคำร้องโดยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายหากได้ความเป็นความจริงตามฟ้องก็จะถือว่าจำเลยใช้สิทธิในทางศาลโดยสุจริตมิได้การกระทำของจำเลยอาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ห้ามโจทก์ โอนขาย จำหน่ายที่ดิน หากมีคำสั่งไปเพราะหลงเชื่อตามพยานหลักฐานเท็จหรือปกปิดความจริงที่จำเลยนำสืบ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ได้เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อน การสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียจึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าคำสั่งศาลมิใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยยื่นคำร้องการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้อง เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 227 แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีแพ่ง: รายละเอียดที่ไม่จำเป็นในฟ้อง ไม่ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม หากมีรายละเอียดที่ต้องสืบภายหลัง
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 กำหนดแต่เพียงว่าฟ้องจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น หาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง แม้โจทก์ไม่แนบบัญชีกระแสรายวันมาท้ายฟ้อง และมิได้บรรยายโดยละเอียดตั้งแต่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หรือบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน และทำใบนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันในแต่ละเดือนเท่าใดอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องคำให้การสั่งงดชี้สองสถาน แล้วพิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษา ใหม่ จำเลยฎีกาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมดังนี้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามตาราง1(2)(ข) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1440/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบรรยายฟ้องคดีแพ่ง: ไม่ต้องละเอียดเท่าคดีอาญา เน้นสภาพแห่งข้อหาและคำขอ
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 กำหนดแต่เพียงว่าฟ้องจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้นหาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง แม้โจทก์ไม่แนบบัญชีกระแสรายวันมาท้ายฟ้องและมิได้บรรยายโดยละเอียดตั้งแต่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หรือบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน และทำใบนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันในแต่ละเดือนเท่าใดอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องคำให้การสั่งงดชี้สองสถานแล้ว พิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยฎีกาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมดังนี้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามตาราง1(2)(ข) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1440/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน สัญญาจะซื้อขาย และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องขับไล่
แม้บ้านพิพาทซึ่งจำเลยซื้อมาจากการขายทอดตลาดของศาลจะปลูกอยู่ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทนั้นโจทก์ได้ทำสัญญาแบ่งขายให้ ล. และยินยอมให้ ล. เข้าไปปลูกบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมรับชำระราคาที่ดินจากล. ล.จึงฟ้องให้โจทก์รับชำระราคาและโอนที่ดินให้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา ก่อนที่จำเลยจะซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาด ล. ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินที่ซื้อมาจากโจทก์ให้จำเลยและล. จะไปทำการโอนให้แก่ จำเลยเมื่อได้รับโอนจากโจทก์แล้ว ซึ่งโจทก์ก็ทราบและ เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดบ้านพิพาทด้วย เมื่อโจทก์ซื้อบ้านพิพาทไม่ได้จึงกลั่นแกล้งนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ หากเป็นความจริงดังที่จำเลยต่อสู้ การที่ ล. กับ ส. จำเลยใน คดีที่ถูกยึดทรัพย์ปลูกบ้านพิพาทลงในที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกบ้านโดยมีสิทธิ หากในที่สุดโจทก์แพ้คดี ล. โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินดังกล่าว และจำเลยย่อมมีสิทธิอยู่ในที่ดินดังกล่าวได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับ ล. ถ้าโจทก์รู้ความเช่นนี้แต่ ยังมาชิงฟ้องขับไล่จำเลยเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้รับความเสียหาย ก็อาจ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้จึงสมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดบนที่ดินพิพาทที่มีสัญญาซื้อขายก่อนหน้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้บ้านพิพาทซึ่งจำเลยซื้อมาจากการขายทอดตลาดของศาลจะปลูกอยู่ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทนั้นโจทก์ได้ทำสัญญาแบ่งขายให้ ล. และยินยอมให้ ล. เข้าไปปลูกบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมรับชำระราคาที่ดินจากล. ล.จึงฟ้องให้โจทก์รับชำระราคาและโอนที่ดินให้ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา ก่อนที่จำเลยจะซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาด ล. ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินที่ซื้อมาจากโจทก์ให้จำเลยและล. จะไปทำการโอนให้แก่ จำเลยเมื่อได้รับโอนจากโจทก์แล้ว ซึ่งโจทก์ก็ทราบและเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดบ้านพิพาทด้วย เมื่อโจทก์ซื้อบ้านพิพาทไม่ได้จึงกลั่นแกล้งนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนี้ หากเป็นความจริงดังที่จำเลยต่อสู้ การที่ ล. กับ ส. จำเลยในคดีที่ถูกยึดทรัพย์ปลูกบ้านพิพาทลงในที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกบ้านโดยมีสิทธิ หากในที่สุดโจทก์แพ้คดี ล. โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินดังกล่าว และจำเลยย่อมมีสิทธิอยู่ในที่ดินดังกล่าวได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับ ล. ถ้าโจทก์รู้ความเช่นนี้แต่ยังมาชิงฟ้องขับไล่จำเลยเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้รับความเสียหาย ก็อาจเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้ จึงสมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป
of 34