คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 335 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ, สัญญาโมฆะ, และการเรียกคืนเงินมัดจำตามหลักลาภมิควรได้
วันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยว่าคดีนี้มูลคดีเดียวกันกับคดีก่อน จึงเป็น การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มีคำสั่งให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้รับฟ้องประเด็นเรื่องค่าเสียหาย การที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ขอให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ขอให้จำเลยชนะคดีในปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ข) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่มเติมอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงเป็น คำสั่งที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม จึงไม่เป็นการทิ้งฎีกา
ประเด็นเรื่องค่าเสียหายเพิ่มเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาสืบต่อเนื่องจากประเด็นเรื่องผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อคดีก่อนฟังได้ว่าสัญญาเป็นโมฆะ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องค่าเสียหายต่อไป และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นที่เกี่ยวกับคดีนี้แล้ว จึงต้องห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
โจทก์ชำระมัดจำหรือเงินราคาค่าซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายที่ดินที่ห้ามโอนซึ่งเป็นโมฆะ จึงเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาชี้ว่าคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีเดิม ยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน คำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าวมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสอง แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานเกี่ยวกับฟ้องซ้อน: คำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฏหมายว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน คำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าวมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 วรรคสองแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการ รวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมการให้สินสมรสหลังพ.ร.บ.ใช้บังคับ และอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการรวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ. มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การซื้อขายตกเป็นโมฆะ แต่เจตนาสละการครอบครองทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ที่ให้ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้น กฎหมายมีความประสงค์จะให้ใช้ในศาลชั้นต้นเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าวรรคสุดท้ายของมาตรา 24 ดังกล่าวได้บัญญัติไว้ว่าคำสั่งใด ๆ ของศาลที่ได้ออกตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 , 228 และ 247 ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง จ. และ ช. กับผู้ร้องไม่ได้ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อขายที่ดินดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ แต่ผู้ร้องได้ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่ จ. และ ช. ครบถ้วนแล้ว จ. และ ช. ก็ได้มอบโฉนดที่ดินพร้อมกับทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว นอกจากนี้ในการซื้อขายที่ดินดังกล่าวนี้ จ. และ ช. และผู้ร้องได้ร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ว่า จ. และ ช. ได้ลงชื่อและพิมพ์มือในใบมอบอำนาจพร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ร้องเพื่อนำไปโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดได้นับแต่วันทำบันทึกเป็นต้นไปโดยไม่จำกัดเวลา แสดงให้เห็นเจตนาของ จ. และ ช. ว่าต้องการมอบอำนาจเด็ดขาดให้ผู้ร้องไปจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อขายให้แก่ผู้ใดและเวลาใดก็ได้สุดแล้วแต่ผู้ร้อง ทั้งไม่มีข้อจำกัดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินที่ผู้ร้องได้รับมอบอำนาจดังกล่าวนี้ ผู้ร้องจะต้องขายที่ดินดังกล่าวในราคาเท่าใด ก็สุดแล้วแต่ความพอใจของผู้ร้อง หลังจากที่ จ. และ ช. มอบโฉนดที่ดินและมอบอำนาจให้ผู้ร้องแล้วก็ไม่ปรากฏว่า จ. และ ช. ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินอีกเลย จนกระทั่ง จ. ถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ของ จ. และ ช. ดังกล่าวถือได้ว่ามีเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาท ต่อมาฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินดังกล่าวแทน จ. และ ช. เมื่อผู้ร้องได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ไม่เคยมีผู้ใดโต้แย้งหรือคัดค้านผู้ร้อง การที่ผู้ร้องครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งให้โอนทรัพย์สินจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ถือเป็นคำสั่งที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม
การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องโอนที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นการกระทำในขั้นตอนของการจัดกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 24 แต่ตามหนังสือของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงแจ้งข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายให้ผู้ร้องทราบ แม้ในตอนท้ายจะมี ข้อความขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 หาก ไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านจะดำเนินการตามกฎหมายก็ตาม ก็มีลักษณะเป็นเพียงคำชี้แนะของผู้คัดค้าน มิใช่เป็นคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้ร้องเห็นว่า คำชี้แนะไม่ถูกต้อง ผู้ร้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ฉะนั้น ลำพัง หนังสือของผู้คัดค้านที่แจ้งไปยังผู้ร้องดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการ กระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มี อำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งกลับหรือแก้ไขได้ ฎีกาผู้ร้องที่ว่า ภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด ผู้คัดค้านมิได้ตรวจสอบอายัดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1โดยเร็ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับซื้อที่ดินในภายหลังได้ รับความเสียหาย และผู้คัดค้านไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอน การโอนที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นโมฆะเพราะคดีขาดอายุความ เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้เป็นประเด็นประกอบ กับคดีนี้ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องโดยเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ แล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยข้อกฎหมาย จึงเป็นการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องขอของ ผู้คัดค้านซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 คดีจึงเสร็จไปทั้งเรื่องตามปัญหาข้อกฎหมายดังที่วินิจฉัยแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาผู้ร้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน: สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 226(2) และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาล
ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลย ศาลได้สอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วและนัดฟังคำพิพากษาเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24เพราะที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความคดีนี้ที่โจทก์จำเลยทำขึ้นเพื่อระงับหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับกันได้ตามกฎหมาย จึงไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่จะให้จำเลย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทตามเช็ค โจทก์จะอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้อง เรียกร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้น พิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการ สอบถามโจทก์จำเลย มิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมาย ที่พิพาทกันในคดี ดังนั้นเมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็น เวลา 1 เดือนเศษ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่ง นั้นได้ แต่มิได้โต้แย้ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานก่อนมีคำพิพากษาไม่ใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น โจทก์ต้องโต้แย้งทันทีจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลสอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถาน งดสืบพยานโจทก์จำเลยและให้นัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการสอบถามโจทก์จำเลยเมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลา 1 เดือนเศษ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานก่อนมีคำพิพากษา ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ต้องโต้แย้งทันที จึงมีสิทธิอุทธรณ์
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลสอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถาน งดสืบพยานโจทก์จำเลย และให้นัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการสอบถามโจทก์จำเลย เมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลา 1 เดือนเศษ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)
of 34