คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 335 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงไม่ถูกต้อง และการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75,76(1)(4)แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้ เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21(มาตรา 22 เดิม) เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้ เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา 40,41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ. 2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยานศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 14ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75, 76 (1) (4) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้
เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 (มาตรา 22 เดิม)เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา40, 41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ.2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 17 ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4969/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น: การอุทธรณ์คำสั่งศาลไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งบสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้สืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลอุทธรณ์จดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์ตามทุนทรัพย์โดยไม่ชอบและเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จึงยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องลง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์จะยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นอุทธรณ์มิได้ ให้ยกคำร้องนั้นจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกันปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4969/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คำสั่ง & การลดทุนทรัพย์: ศาลอุทธรณ์สั่งเก็บค่าขึ้นศาลเกินสิทธิ โจทก์ขอแก้ไขทุนทรัพย์มิได้
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้สืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
ศาลอุทธรณ์จดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์ตามทุนทรัพย์โดยไม่ชอบและเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จึงยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องลง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า โจทก์จะยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นอุทธรณ์มิได้ ให้ยกคำร้องนั้นจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเติมน้ำมันอากาศยาน: ผู้ค้าน้ำมันไม่ใช่ผู้รับผิดตามกฎหมายศุลกากร
กรมศุลกากรโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเนื่องจากจำเลยเป็นผู้จำหน่ายด้วยการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นให้แก่อากาศยาน การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งแก่อากาศยานซึ่งผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมอากาศยานหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้มีหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 110จำเลยเป็นเพียงบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันให้แก่บริษัทสายการบิน มีหน้าที่บริการเติมน้ำมันให้แก่อากาศยานซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยเท่านั้น มิใช่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมอากาศยานจึงมิใช่นายเรือ และไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นตัวแทนนายเรือตามบทบัญญัติมาตรา 110 ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาในการเติมน้ำมันแก่อากาศยานให้แก่โจทก์
เมื่อตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา110 ซึ่งเป็นที่มาของกฎกระทรวง ฉบับที่ 73 (พ.ศ.2521) อันเป็นกฎกระทรวงที่ให้ใช้ใบแนบ ศ.3 ซึ่งเป็นบัญชีเดียวกับอัตราค่าธรรมเนียมล่วงเวลา บัญญัติให้เฉพาะนายเรือหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเท่านั้นที่มีหน้าที่รับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าว การที่หัวเรื่องของใบแนบ ศ.3 ใช้คำว่า "ผู้ค้า"จึงไม่เป็นเหตุทำให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากนายเรือหรือตัวแทนมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไปด้วย ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจนำคำว่า "ผู้ค้า"ดังกล่าวมาใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าวจากจำเลย
ในการวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีของศาลนั้น เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นข้อพิพาทข้อใดข้อหนึ่งขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นข้อใดแล้วทำให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาศุลกากร: ผู้มีหน้าที่ชำระคือผู้บังคับบัญชา/ควบคุมอากาศยาน หรือตัวแทน ไม่ใช่ผู้ให้บริการเติมน้ำมัน
กรมศุลกากรโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเนื่องจากจำเลยเป็นผู้จำหน่ายด้วยการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นให้แก่อากาศยาน การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งแก่อากาศยานซึ่งผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมอากาศยานหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้มีหน้าที่ ที่รับผิดชอบในเรื่องค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 110 จำเลยเป็นเพียงบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันให้แก่บริษัทสายการบินมีหน้าที่บริการเติมน้ำมันให้แก่อากาศยานซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยเท่านั้น มิใช่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมอากาศยานจึงมิใช่นายเรือและไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นตัวแทนนายเรือตามบทบัญญัติมาตรา 110 ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาในการเติมน้ำมันแก่อากาศยานให้แก่โจทก์ เมื่อตามบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 110ซึ่งเป็นที่มาของกฎกระทรวง ฉบับที่ 73(พ.ศ.2521) อันเป็นกฎกระทรวงที่ให้ใช้ใบแบบ ศ.3 ซึ่งเป็นบัญชีเดียวกับอัตราค่าธรรมเนียมล่วงเวลา บัญญัติให้เฉพาะนายเรือหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเท่านั้นที่มีหน้าที่รับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าวการที่หัวเรื่องของใบแนบ ศ.3 ใช้คำว่า "ผู้ค้า"จึงไม่เป็นเหตุทำให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากนายเรือหรือตัวแทนมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไปด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจนำคำว่า "ผู้ค้า" ดังกล่าวมาใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าวจากจำเลย ในการวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีของศาลนั้น เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นข้อพิพาทข้อใดข้อหนึ่งขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นข้อใดแล้วทำให้ คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินโดยสุจริต & การครอบครองปรปักษ์: สิทธิของบุคคลภายนอกที่จดทะเบียน
ตามคำฟ้องคำให้การคดีฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส.เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมากกว่า 10 ปี แล้ว มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินที่พิพาทโดยไม่สุจริต ดังนี้โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่จำเลยให้การว่าจำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนขึ้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคสอง และแม้จำเลยจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาการครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของจำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ คดีจึงไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงจากคำฟ้องโจทก์ โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่า โจทก์กระทำการซื้อขายโดยสุจริตกล่าวคือ ได้มีการเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและมีการจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วเมื่อจำเลยมิได้กล่าวแก้มาในคำให้การว่า โจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ การที่จำเลยหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี: การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่างเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 เพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปีนับแต่วันที่จำเลยรับมอบของคดีโจทก์จึงขาดอายุความ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลย โดยเห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา624 ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 การที่จำเลยฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 ไม่ตรงกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอายุความ เพราะจำเลยอ้างบทกฎหมายไม่ตรงกับที่ยื่นศาลชั้นต้น
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624เพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันที่จำเลยรับมอบของคดีโจทก์จึงขาดอายุความและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลยโดยเห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624การที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34ไม่ตรงกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการวินิจฉัยอายุความของจำเลยร่วม และการใช้ข้อกฎหมายแทนกันในคดีแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดร่วมกันละเมิดต่อโจทก์ขอให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่4ที่8และที่9จะไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้และจำเลยอื่นมิได้ยื่นคำร้องให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวก็ได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้และคำร้องขอชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยที่3และที่7ด้วยโดยถือการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความร่วมคนหนึ่งเมื่อกระทำไปแล้วย่อมถือว่าได้กระทำแทนคู่ความอื่นร่วมด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)
of 34