พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4405/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จอดรถรอเลี้ยวไม่ถือเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 78 แม้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ประมาท
จำเลยจอดหยุดรถอยู่ในช่องทางเดินรถด้านขวาซึ่งอยู่ติดกับช่องว่างของเกาะกลางถนนเพื่อรอเลี้ยวกลับรถ แล้ว ก. ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทมาชนท้ายรถที่จำเลยขับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย อันจำเลยจะต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะจำเลยมิได้เป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย และหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ต้องรับโทษทั้งความผิดต่อชีวิตและจราจร
การที่จำเลยขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส และรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายนั้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4) ประกอบด้วยมาตรา 147 และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัสอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อันเป็นบทหนัก
เมื่อเกิดเหตุชนแล้ว จำเลยได้หลบหนีและไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากผู้เสียหายได้ขับรถจักรยานยนต์ชนรถยนต์คันที่จำเลยเป็นผู้ขับขี่ตัดหน้าซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนาของจำเลยแยกต่างหากจากการกระทำครั้งแรกอันเป็นเรื่องต่างกรรม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78, 160 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง
เมื่อเกิดเหตุชนแล้ว จำเลยได้หลบหนีและไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากผู้เสียหายได้ขับรถจักรยานยนต์ชนรถยนต์คันที่จำเลยเป็นผู้ขับขี่ตัดหน้าซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนาของจำเลยแยกต่างหากจากการกระทำครั้งแรกอันเป็นเรื่องต่างกรรม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78, 160 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายและหลบหนี ถือเป็นคนละกรรม
การที่จำเลยขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส และรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายนั้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) ประกอบด้วยมาตรา 157 และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัสอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อันเป็นบทหนัก เมื่อเกิดเหตุชนแล้ว จำเลยได้หลบหนีและไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากผู้เสียหายได้ขับรถจักรยานยนต์ชนรถยนต์คันที่จำเลยเป็นผู้ขับขี่ตัดหน้าซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนาของจำเลยแยกต่างหากจากการกระทำครั้งแรกอันเป็นเรื่องต่างกรรม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78,160 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดต่อรัฐ: เจ้าของทรัพย์สินเสียหายไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
เจ้าของรถที่เสียหายเพราะถูกรถที่จำเลยขับชนมิใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกที่โจทก์ฟ้องอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดต่อรัฐ: เจ้าของทรัพย์สินเสียหายไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
เจ้าของรถที่เสียหายเพราะถูกรถที่จำเลยขับชนมิใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกที่โจทก์ฟ้องอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดต่อรัฐ: เจ้าของรถที่เสียหายไม่มีสิทธิ
เจ้าของรถที่เสียหายเพราะถูกรถที่จำเลยขับชนมิใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกที่โจทก์ฟ้องอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีขับรถชนแล้วหลบหนี ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง
ความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78,160 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่เชื่อว่าจำเลยเป็นผู้ขับรถชนผู้ตายแล้ว ความผิดในข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับพิจารณาในข้อหานี้โดยลงโทษจำเลยก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยหมดสติหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีความผิดฐานละเลยไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามกฎหมายจราจร
จำเลยขับรถยนต์ชนรถยนต์คันอื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ส่วนจำเลยก็หมดสติไปไม่อยู่ในสภาวะที่จะช่วยตนเองได้ การที่จำเลยงดเว้นไม่ช่วยเหลือผู้อื่นและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิใช่เพราะจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายจึงมิใช่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยหมดสติหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่สามารถช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
จำเลยขับรถยนต์ชนรถยนต์คันอื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ส่วนจำเลยก็หมดสติไปไม่อยู่ในสภาวะที่จะช่วยตนเองได้ การที่จำเลยงดเว้นไม่ช่วยเหลือผู้อื่นและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิใช่เพราะจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายจึงมิใช่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2913-2915/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับเหตุยึดรถ และความผิดฐานแจ้งความเท็จเพื่อสนับสนุนการกล่าวหาเจ้าพนักงาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 จำคุก 3 เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172,174 วรรคสอง และ 83 ให้จำคุก 3 เดือนเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 ให้อำนาจการยึดรถแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ 2 กรณี คือ ผู้ขับขี่หลบหนี หรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่กรณี ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่หาจำต้องติดตามยึดรถในทันทีที่เกิดเหตุไม่ดังนั้นเมื่อมีการหลบหนีหรือหาตัวไม่พบพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจติดตามยึดรถในเวลาต่อมาได้ จำเลยที่ 1 แจ้งความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 มีความเห็นว่าการกระทำของร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกรวม 3 คน เป็นการร่วมกันเอารถยนต์ของตนไปโดยเจตนาทุจริตและใช้กำลังบังคับว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้ดูแลรถอันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์และลักทรัพย์แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าการกระทำของร้อยตำรวจเอกก.กับพวกเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ หาใช่เป็นเพียงความเห็นหรือความเข้าใจไม่การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,174 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 181(1) ซึ่งจะต้องได้รับโทษหนักขึ้นแม้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้การอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าร้อยตำรวจเอกก.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำการยึดรถยนต์ไปโดยไม่มีอำนาจและไม่ทราบสาเหตุทั้งกระทำเกินความจำเป็นเพื่อสนับสนุนคำแจ้งความของจำเลยที่1 ให้กลายเป็นความจริงซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ร้อยตำรวจเอก ก. กับพวกจึงเป็นการแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 492/2509)