พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดินจากการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ซื้อสุจริตก็ไม่ได้รับสิทธิ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ที่บัญญัติถึงสิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายนั้น ใช้บังคับเฉพาะทรัพย์สินที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
โจทก์ซื้อส่วนหนึ่งของที่ดินของนิคมสร้างตนเองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ซึ่งโจทก์นำยึดโดยอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแม้โจทก์จะซื้อมาโดยสุจริต โจทก์ผู้รับโอนมาก็ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น เพราะการโอนมิได้อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 จำเลยครอบครองที่ดินดังกล่าวอยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
โจทก์ซื้อส่วนหนึ่งของที่ดินของนิคมสร้างตนเองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ซึ่งโจทก์นำยึดโดยอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแม้โจทก์จะซื้อมาโดยสุจริต โจทก์ผู้รับโอนมาก็ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น เพราะการโอนมิได้อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 จำเลยครอบครองที่ดินดังกล่าวอยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินเลี้ยงสัตว์เป็นสาธารณสมบัติ ประชาชนใช้ร่วมกัน แบ่งแยกไม่ได้
ที่ดินที่ทางราชการสงวนไว้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันตาม มาตรา 1304(2) โจทก์จำเลยตกลงแบ่งการครอบครองกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สมบูรณ์ ไม่มีอำนาจฟ้องฐานบุกรุก
โจทก์ซื้อที่ดินมี ส.ค. 1 ซึ่งเป็นที่คูเมืองอยู่ในความดูแลของทางราชการและได้ขึ้นทะเบียนเป็นราชพัสดุแล้ว โจทก์เข้าครอบครองโดยกั้นรั้วลวดหนามและเสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา แล้วจำเลยเข้าไปปลูกห้องแถวในที่ดินของโจทก์โดยทำสัญญาเช่ากับราชพัสดุจังหวัดดังนี้ การที่โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่คูเมืองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น การครอบครองของโจทก์ไม่อาจใช้ยันต่อรัฐได้ ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2520)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่มีสิทธิฟ้องร้องบุกรุกได้
โจทก์ซื้อที่ดินมี ส.ค.1 ซึ่งเป็นที่คูเมืองอยู่ในความดูแลของทางราชการและได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว โจทก์เข้าครอบครองโดยกั้นรั้วลวดหนามและเสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา แล้วจำเลยเข้าไปปลูกห้องแถวในที่ดินของโจทก์โดยทำสัญญาเช่ากับราชพัสดุจังหวัดดังนี้การที่โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่คูเมืองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นการครอบครองของโจทก์ไม่อาจใช้ยันต่อรัฐได้ ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุก (ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. ทางภารจำยอม: สิทธิใช้ทางเมื่อเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นสาธารณะ แม้จะอยู่ในโฉนดจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างทางพิพาทเพื่อเป็นทางเข้าออกสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกขายและโจทก์ได้ใช้ทางนี้ตลอดมาเป็นเวลานานกว่า10 ปี จึงกลายสภาพเป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทได้ โดยไม่ให้จำเลยปิดกั้น ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้ว อันเป็นเหตุที่จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลยทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิมเพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลยทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิมเพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. สิทธิภารจำยอม: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะก่อนการซื้อขายย่อมมีผลเหนือสิทธิส่วนบุคคล
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างทางพิพาทเพื่อเป็นทางเข้าออกสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกขาย และโจทก์ได้ใช้ทางนี้ตลอดมาเป็นเวลานานกว่า10 ปี จึงกลายสภาพเป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทได้ โดยไม่ให้จำเลยปิดกั้น ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วอันเป็นเหตุที่จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลย ทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลย ทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้ามเพื่อสหกรณ์เป็นที่สาธารณสมบัติ โจทก์ไม่มีสิทธิเช่าหรือฟ้องขับไล่
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามไว้เพื่อการสหกรณ์ จึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) ซึ่งต้องห้ามมิให้โอนแก่กัน เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305โจทก์ซึ่งรับโอนที่พิพาทมาจึงไม่มีสิทธิเหนือที่พิพาท และไม่มีสิทธิจะนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไปให้ผู้ใดเช่าเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธินำที่พิพาทไปให้จำเลยเช่า โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาท และเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจากจำเลย(อ้างฎีกาที่ 622/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้ามเพื่อสหกรณ์เป็นที่สาธารณสมบัติ โจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าหรือฟ้องไล่
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามไว้เพื่อการสหกรณ์ จึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) ซึ่งต้องห้ามมิให้โอนแก่กัน เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305โจทก์ซึ่งรับโอนที่พิพาทมาจึงไม่มีสิทธิเหนือที่พิพาท และไม่มีสิทธิจะนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไปให้ผู้ใดเช่า เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธินำที่พิพาทไปให้จำเลยเช่า โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาท และเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างฎีกาที่ 622/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าฯ และผลใช้บังคับของประกาศหวงห้ามที่ดิน
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดินโดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการแต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้นอันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้นอันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทน และผลของประกาศหวงห้ามที่ดินก่อนมีกฎหมาย
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการ แต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้น อันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้น อันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่