คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1464

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, อายุความมรดก, และหลักฐานทางบัญชี
การที่ศาลฟังพฤติการณ์ต่างๆ เช่น บิดาให้การศึกษาแก่เด็ก ให้ใช้นามสกุลปฏิบัติต่อกันฉันบิดากับบุตร และฟังว่าเด็กเป็นบุตรของบิดาอันเกิดแต่มารดาซึ่งเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524ซึ่งใช้สำหรับพิสูจน์การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ครอบครองมรดกแทนทายาท ถือว่าทายาทได้ครอบครองมรดกแล้วแม้ทายาทจะฟ้องผู้จัดการมรดกเกิน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดอายุความ
ทรัพย์สินที่มีมาก่อนสมรส เมื่อไม่ใช่สินส่วนตัวแล้วก็เป็นสินเดิมทั้งสิ้น
สำเนาบัญชีฝากเงินธนาคารที่คัดจากบัญชีในธนาคารซึ่งนำมาศาลไม่ได้ เมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ย่อมเป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับพิจารณาได้ว่าข้อเท็จจริงมีอยู่อย่างไร โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ธนาคารมาเบิกความชี้แจงประกอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินซื้อระหว่างสมรสด้วยเงินสินเดิม ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่ภริยาซื้อมาระหว่างสมรส ถือว่าเป็นสินสมรสแม้ว่าภริยาจะเอาเงินสินเดิมของตนมาซื้อก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินซื้อด้วยเงินสินเดิมระหว่างสมรส ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่ภริยาซื้อมาระหว่างสมรส ถือว่าเป็นสินสมรส แม้ว่าภริยาจะเอาเงินสินเดิมของตนมาซื้อก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีขอแบ่งสินทรัพย์
เดิมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากินแล้ว และว่าที่ดิน 2 แปลง ที่ โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมาจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดินสองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกันโดยในคดีแรกนี้มีประเด็นว่าจำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีแบ่งสินบริคณห์เดิม
เติมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัว ของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว และว่า ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมากจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดิน สองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกัน
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การเปลี่ยนทรัพย์สินเดิมเป็นทรัพย์สินใหม่ และการจดทะเบียนเป็นสินส่วนตัว
ขายนาสินเดิมไปแล้วเอาเงินนั้นซื้อนาอีกแปลงหนึ่งในวันเดียวกันนั้นเอง ดังนี้แสดงให้เห็นชัดว่าได้ทรัพย์ใหม่นั้นมาแทนทรัพย์เก่า ทรัพย์ใหม่ที่ได้มาจึงเป็นสินเดิม มาตรา 1464 บัญญัติไว้เป็นหลักกว้าง ๆ รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ว่า การยกให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวให้ทำเป็นหนังสือโดยไม่บัญญัติว่าจะต้องจดทะเบียนหรือไม่ ก็เมื่อการยกอสังหาริมทรัพย์ให้กันโดยธรรมดา กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนจึงจะสมบูรณ์ ดังนั้นการยกอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวก็จะต้องจดทะเบียนด้วยจึงจะสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิมแปลงเป็นสินสมรส-สินส่วนตัว: การซื้อขายทรัพย์สินทดแทนและผลของการไม่ได้จดทะเบียน
ขายนาสินเดิมไปแล้วเอาเงินไปซื้อนาอีกแปลงหนึ่งในวันเดียวกันนั้นเองดังนี้แสดงให้เห็นชัดว่าได้ทรัพย์ใหม่นั้นมาแทนทรัพย์เก่าทรัพย์ใหม่ที่ได้มาจึงเป็นสินเดิม
มาตรา 1464 บัญญัติไว้เป็นหลักกว้างๆ รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ว่าการยกให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวให้ทำเป็นหนังสือโดยไม่บัญญัติว่าจะต้องจดทะเบียนหรือไม่ก็เมื่อการยกอสังหาริมทรัพย์ให้กันโดยธรรมดา กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนจึงจะสมบูรณ์ ดังนั้นการยกอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวก็จะต้องจดทะเบียนด้วยจึงจะสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวของภริยาจากการทำสัญญา และการยึดทรัพย์สินของบุคคลนอกคดี
ก่อนมีการสมรส สามีภริยาได้ทำหนังสือสัญญากันถูกต้องตามกฎหมายไว้ต่อกันว่า ทรัพย์สินต่างๆ อันเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยา ซึ่งมีอยู่ก่อนทำการสมรสรวมทั้งดอกผลที่จะเกิดขึ้นใหม่ภายหลัง สามียอมรับว่าเป็นสินส่วนตัวของภริยาตลอดไป ฉะนั้น ทรัพย์ที่ภริยาซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของภริยา ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271,278,280เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้ แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยซึ่งต้องรับผิดในฐานลูกหนี้ร่วมด้วยก็ตาม
ทรัพย์สินส่วนตัวของภริยาซึ่งเป็นคนนอกคดี แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 282 วรรคท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัดและเอาออกขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวของภริยาคู่สมรสที่ทำสัญญากันก่อนสมรส ยึดไม่ได้แม้เป็นลูกหนี้ร่วม
ก่อนมีการสมรส สามีภริยาได้ทำหนังสือสัญญากันถูกต้องตามกฎหมายไว้ต่อกันว่า ทรัพย์สินต่าง ๆ อันเป็นกรรมสิทธิของภริยา ซึ่งมีอยู่ก่อนทำการสมรสรวมทั้งดอกผลที่จะเกิดขึ้นใหม่ภายหลัง สามียอมรับว่าเป็นสินส่วนตัวของภริยาตลอดไป ฉะนั้น ทรัพย์ที่ภริยาซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของภริยา ดังบัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1464.
ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 271, 278, 280 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้ แม้จะปรากฎว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยซึ่งต้องรับผิดในฐานลูกหนี้ร่วมด้วยก็ตาม
ทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาซึ่งเป็นคนนอกคดี แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่เป็นทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 282 วรรคท้ายของ ป.ม.วิ.แพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัติและเอาออกขายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินร่วมถือเป็นสินสมรส แม้ภรรยาไม่มีสินเดิม
หญิงเป็นภรรยาชายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยไม่มีสินเดิม แม้ชายผู้สามีจะตายเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ภรรยาก็ไม่มีสิทธิได้สินสมรสตามมาตรา 1517
สามีและภรรยามีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกันในระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยากันนั้น ถือว่าเป็นสินสมรส
of 3